Click here to visit the Website

หมาหริ่ง
เรื่อง : ดร. ชวลิต วิทยานนท์ | ภาพ : ฝ่ายภาพ สารคดี
Burmese ferret-badger
ชื่อวิทยาศาสตร์
  • Melogale personata Geoffroy, 1831

ชื่อไทย

  • หมาหริ่ง

ชื่อสามัญ

  • Burmese ferret-badger

ถิ่นอาศัย

  • ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าเต็งรัง และเบญจพรรณ

สถานภาพ

  • หายาก เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พ.ร.บ. สงวน และคุ้มครอง สัตว์ป่า ๒๕๓๕ จัดอยู่ในกลุ่ม สัตว์ที่กำลังถูก คุกคาม แต่ยังไม่ทราบ สถานภาพแน่ชัด (K : Insufficially known) ตาม IUCN Red List of Threatened Animal 1996
..... หมาหริ่ง อยู่ในวงศ์เดียวกับ เพียงพอน หมาไม้ นาก และหมูหริ่ง (Mustelidae) ซึ่งไม่ได้มีสายพันธุ์ เกี่ยวข้องกับ สุนัข แต่อย่างใด แต่เนื่องจาก มีส่วนหน้า และหาง ที่ดูคล้าย จึงถูกตั้งชื่อไว้เช่นนั้น สัตว์ในสกุลนี้มีสามชนิด คือ หมาหริ่ง (Melogale personata) หมาหริ่งจีน (M. moschata) และหมาหริ่งคินาบาลู (M. everetti) พบเฉพาะ ที่ เกาะบอร์เนียว
..... หมาหริ่งเป็นสัตว์ชนิดเดียวในวงศ์ ที่มีต่อมกลิ่น อยู่ที่ก้น และจะปล่อยกลิ่น เหม็นสาบออกมา เมื่อ ถูกรบกวน หรือเพื่อ ประกาศอาณาเขต หมาหริ่ง มีรูปร่าง คล้าย พังพอน มีความยาวลำตัว ประมาณ ๓๓-๓๔ ซม. หน้าแหลม จมูกค่อนข้างโต มีขาสั้น ขาหน้ามีเล็บยาว ส่วนหาง ค่อนข้างใหญ่ ยาวประมาณ ๑๔-๒๐ ซม. มีขนหางเป็นพวง คล้ายหางสุนัข ขนบนตัวและหางหยาบและค่อนข้างยาว ขนที่หน้า และที่คอสั้น หัวและหน้า ตลอดจนถึงต้นคอด้านบน มีสีน้ำตาลคล้ำ มีแต้มสีขาวที่หน้าผาก และข้างแก้ม เป็นสีจาง กลางหัวมีแถบสีขาว พาดไปถึงต้นคอ ลำตัวสีน้ำตาลอ่อน อมเทา ขาสีคล้ำ หางสีเนื้อ สีของหมาหริ่ง ดูคล้ายกับ สีของตัว Ferret ที่พบใน ทวีปอเมริกา
..... มันเป็นสัตว์กินเนื้อ ที่แปลกจากชนิดอื่นๆ ตรงที่ มีฟันกราม เป็นฟันบด (molar) แทนที่จะเป็น ฟันกรามตัด (carnissal) และหัวกระโหลก มีสันที่ด้านข้างกระหม่อม สองสัน เป็นที่ใช้ยึด กล้ามเนื้อที่แข็งแรง ของกรามล่าง
..... ชีววิทยาของสัตว์ชนิดนี้ ยังไม่มีผู้ใด เคยทำการศึกษา มาก่อนเลย เรารู้เพียงว่า หมาหริ่ง ออกหากินในช่วงเย็น และตอนกลางคืน โดยจับสัตว์ ขนาดเล็ก เช่น กบ เขียด สัตว์เลื้อยคลาน รวมถึงแมลงต่างๆ เป็นอาหาร นอกจากนี้ ยังสามารถใช้จมูก ดมกลิ่น หาเหยื่อ เช่น ไส้เดือน ตัวอ่อนแมลง หอยทาก และแมลงปีกแข็ง ต่างๆ ที่ฝังตัว อยู่ใต้ดิน และขุดมากินได้ โดยใช้ฟันกรามขบ และเคี้ยว เปลือกแข็งของเหยื่อ ได้เป็นอย่างดี ผู้คนใน ประเทศอินเดีย ตอนเหนือ และสิกขิม ยังเลี้ยงหมาหริ่ง ไว้ช่วยกำจัด แมลงสาบในบ้านด้วย
..... หมาหริ่ง ตกลูกครั้งละ สองถึงสามตัว ในช่วงต้น ฤดูฝน มันมีถิ่นอาศัย อยู่ในป่าดิบแล้ง ดิบชื้น และ ป่าเต็งรัง แต่พบตัวได้ยาก เคยมีผู้ถ่ายภาพมันไว้ได้ โดยกล้อง ดักถ่ายอัตโนมัติ ที่บริเวณเขานางรำ เขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่า ห้วยขาแข้ง นอกจากนี้ ยังพบได้ในบริเวณ พื้นที่อนุรักษ์ บางแห่ง เช่น เขาใหญ่ ป่ารอยต่อห้าจังหวัด พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ เนปาล อินเดีย พม่า ถึงลาว เวียดนาม กัมพูชา และมาเลเซีย แต่ในประเทศไทย ปัจจุบัน หมาหริ่ง ลดจำนวนลงไปมาก เนื่องจาก พื้นที่ ถิ่นอาศัยของมัน ถูกทำลาย

สารบัญ | เอเชี่ยนเกมส์ | วัดเจดีย์หอย | หมาหริ่ง

Feature@sarakadee.com
สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ | WallPaper ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) นิตยสาร สารคดี (Latest issue) หน้าที่แล้ว (Previous Page) หน้าถัดไป (Next Page)