Click here to visit the Website
อุทัย ตรีสุคนธ์ อุปนายก สมาคมอนุรักษ์นก และธรรมชาติ แห่งประเทศไทย
|
....."ทุกวันนี้
นกปรอดหัวโขนในธรรมชาติ
ลดจำนวนลง อย่างน่าตกใจ
เพราะมีผู้นิยมเลี้ยงกันมากขึ้น
ทั้ง ๆ ที่ นกชนิดนี้
เป็นสัตว์ป่าสงวน
และยังไม่มีหลักฐานว่า
สามารถเพาะพันธุ์
ในกรงเลี้ยงได้
นกที่นำมาเลี้ยงกันอยู่ทุกวันนี้
จึงเป็นนกที่ผิดกฎหมาย
และเป็นนกที่
จับมาจากธรรมชาติทั้งสิ้น "ตามปรกติ เราจะพบนกชนิดนี้ ตามท้องทุ่ง หรือป่าละเมาะทั่วไป อย่างเช่น รอบตัวเมืองเชียงใหม่ แต่เดี๋ยวนี้ กลับหาดูได้ยาก โดยเฉพาะภาคใต้ แทบไม่มี นกปรอดหัวโขน ในธรรมชาติ ให้เห็นอีกแล้ว คงมีแต่เฉพาะที่ เลี้ยงไว้ในกรงตามบ้านเท่านั้น "ปัญหาสำคัญ ที่ทำให้นกปรอดหัวโขน ลดปริมาณลง อย่างรวดเร็ว เนื่องมาจาก การเลี้ยงไว้ดูเล่น และการจัดประกวด แข่งเสียงร้อง ซึ่งเริ่มกระจายความนิยม จากภาคใต้ สู่ภาคอื่น ๆ ทำให้มีความต้องการ นกปรอดหัวโขนมากขึ้น และทำให้ประชาชนทั่วไป เกิดความเข้าใจผิดว่า นกปรอดหัวโขน เหมือนกับนกเขาชวา คือสามารถเพาะพันธุ์ และซื้อมาเลี้ยงได้ อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทั้ง ๆ ที่ความจริง ยังไม่มีใครออกมายืนยันว่า สามารถเพาะพันธุ์ นกชนิดนี้ในกรงเลี้ยงได้จริง การจัดประกวดแข่งขัน จึงเป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ นกปรอดสูญพันธุ์ไปจากธรรมชาติเร็วขึ้น "นอกจากนี้ กระบวนการขนย้ายนก จากป่าสู่เมือง ทำให้อัตราการตายของนก สูงมาก เพราะการขนย้าย มักใส่นกกรงละหลาย ๆ ตัว ทำให้นกอึดอัด เกิดความเครียด จิกหรือตีกันจนตาย ประมาณกันว่า นกกว่าครึ่งหนึ่ง ตายจากการขนย้าย และการจับนก ไปแข่งขัน ยังเป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้ นกเกิดความเครียด ถึงแม้ว่า ตามธรรมชาติ นกจะส่งเสียงร้องอยู่แล้ว แต่ถ้ามีนกอีกตัว มาอยู่ใกล้ ๆ มันจะต้องร้องมากขึ้น เพื่อประกาศอาณาเขต และขับไล่นกที่อยู่ใกล้ ให้หลีกออกไป การจับนกขังกรง และแข่งกันร้อง จะทำให้นกเครียดมาก เพราะร้องขับไล่เท่าไร นกอีกตัว ก็ไม่หนีไปไหน เป็นการทรมานสัตว์ อย่างเห็นได้ชัด "ขณะนี้ ยังไม่มีใครออกมาเปิดเผย หรือแจ้งต่อกรมป่าไม้ว่า สามารถเพาะพันธุ์ นกปรอดในกรงได้สำเร็จ สาเหตุหนึ่งเพราะ คนเลี้ยง ยังไม่รู้จัก ธรรมชาติของมันจริง ๆ จึงไม่รู้ว่า มันต้องการ สภาพแวดล้อมอย่างไร ในการขยายพันธุ์ และเนื่องจาก การนำมาเลี้ยงในกรง ทำให้นก มีสภาพความเป็นอยู่ ผิดธรรมชาติ ทำให้นก เกิดความเครียด หรือไม่สามารถ ดำเนินชีวิตได้ตามปรกติ จากที่เคยบินออกไป หาอาหารด้วยตนเอง เมื่อถึงเวลาผสมพันธุ์ ก็จะหาคู่ตามธรรมชาติ และเตรียมรังเพื่อวางไข่ เมื่อมาอยู่ในกรง มันก็ไม่รู้ว่า จะมีอาหารเพียงพอ สำหรับลูกหรือไม่ ก่อนวางไข่ นกปรอดหัวโขน จะต้องคำนวณ ความเหมาะสม ของสภาพแวดล้อม ถ้าสภาพแวดล้อม ไม่เหมาะสม มันก็จะไม่วางไข่ "ถ้าหากกลุ่มผู้เลี้ยง สามารถเพาะพันธุ์ นกปรอดหัวโขน ได้จำนวนมากจริง ๆ ก็ควรยื่นเรื่องกับ กรมป่าไม้ ขออนุญาตเพาะพันธุ์ อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และต้องช่วยกันป้องกัน ไม่ให้มีการจับนกป่ามาขาย ถ้าใครต้องการเลี้ยง ควรสนับสนุนให้ซื้อนกที่ เพาะพันธุ์ในกรง เวลาจัดแข่งขัน ก็ต้องมีการตรวจสอบให้แน่ชัดว่า นกที่นำมาประกวด ไม่ใช่นกป่า ถ้าทำได้จริง ปัญหาการจับนกจากป่า ก็คงหมดไป และการจัดประกวดแข่งขัน ก็สามารถทำได้ แต่ในขณะนี้ ไม่ควรจัดการประกวดใด ๆ เพราะจะทำให้ นกสูญพันธุ์ไปจากป่าเร็วขึ้น "สิ่งที่ผมเป็นห่วงต่อไปก็คือ ในอนาคต การเพาะพันธุ์ในกรงเลี้ยง ซึ่งนำพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ คู่แรก มาจากธรรมชาติ จะเกิดการ อ่อนแอทางพันธุกรรม (inbreed) เพราะนกที่นำมาเพาะพันธุ์ มีจำนวนจำกัด เมื่อยีนอ่อนแอ ผู้เลี้ยง ก็ต้องจับ พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ จากธรรมชาติ มาผสมพันธุ์อีก เหมือนอย่างกรณี ไก่ฟ้า ซึ่งกำลังอ่อนแอ ผู้เลี้ยง ต้องจับไก่ฟ้าจากธรรมชาติ มาผสมพันธุ์อีก ดังนั้น ถึงแม้จะมีการเพาะพันธุ์ได้ ในอนาคต นกธรรมชาติ ก็ต้องถูกรบกวนอีก อย่างแน่นอน และเมื่อถึงเวลานั้น เราจะมีมาตรการอะไร มาควบคุม ไม่ให้จับนกจากธรรมชาติ มากเกินไป "ทางออกที่ดีที่สุดก็คือ เลิกค่านิยม การจับนกมาขังกรง หากต้องการฟังเสียงนกร้อง หรือต้องการเลี้ยงนกจริง ๆ ควรปลูกต้นไม้ ที่เป็นอาหารของนก แล้วให้นกบินมาเกาะตามธรรมชาติ จะดีกว่า การนำสิ่งมีชีวิตมากักขัง เพื่อให้ตนเองมีความสุข เป็นเรื่องไม่ยุติธรรมต่อ สิ่งมีชีวิตอื่น ผมคิดว่า คนไทย โดยเฉพาะนักการเมือง ควรเลิกเลี้ยงนก และสัตว์ป่าไว้ในบ้านได้แล้ว เพราะถ้าผู้นำบ้านเมืองเลิกก่อน ประชาชน จะได้ปฏิบัติตาม สัตว์ป่า จะได้ไม่สูญพันธุ์ และใช้ชีวิตอยู่ในธรรมชาติ อย่างมีอิสรภาพ" |
|
ไพบูลย์ กนกวัฒนาวรรณ ผู้เลี้ยงนกปรอดหัวโขน อ่าน (ฝ่ายสนับสนุน) คลิกที่นี่ |
แล้วคุณล่ะ สนับสนุน หรือ คัดค้าน !
แ ส ด ง ค ว า ม คิ ด เ ห็ น เ พิ่ ม เ ติ ม
Feature@sarakadee.com
สำนักพิมพ์
สารคดี | สำนักพิมพ์
เมืองโบราณ | วารสาร
เมืองโบราณ | นิตยสาร
สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ
| WallPaper ]