นิตยสารสารคดี
Feature Magazine นิตยสารสำหรับครอบครัว |
www.sarakadee.com ISSN 0857-1538 |
|
|
หากใครมีโอกาสได้เข้าไปเยือนมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ในประเทศอังกฤษ มหาวิทยาลัยเกรดหนึ่งของโลกที่มีอายุร่วมพันปีจะพบว่า นักศึกษาปริญญาตรี ยังใช้อาคารเก่าแก่อายุหลายร้อยปี เป็นสถานที่เรียนวิชาฟิสิกส์นิวเคลียร์ บริหารธุรกิจ แพทย์ศาสตร์ไปจนถึงวิชาด้านสังคมศาสตร์ ย่างก้าวแรกของนักศึกษาที่เข้าไปเรียนในคอลเลจต่าง ๆของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ จะรู้สึกได้ว่าที่แห่งนี้เป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ มีรากฐานทางประวัติศาสตร์อันยาวนาน ศิษย์เก่าอ๊อกฟอร์ดจำนวนมากรุ่นแล้วรุ่นเล่า ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ในอดีต ของอังกฤษและของโลก ในมหาวิทยาลัยแห่งนี้จึงมีภาพนักคิด นักการเมือง นักวิทยาศาสตร์คนสำคัญมากมายติดตามผนังตึก เพื่อให้คนรุ่นต่อไปได้ฉุกคิดว่า ที่แห่งนี้มีตำนานอันยิ่งใหญ่ และเป็นความภาคภูมิใจ ของคนที่ได้รับการหล่อหลอมจากสถาบันแห่งนี้ |
||||
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันการ
ย้าย
มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ดออกนอกเมือง
จึงไม่อยู่ในความคิดของผู้บริหารมหาวิทยาลัย
รวมถึงมหาวิทยาลัยเก่าแก่หลายแห่งในยุโรป
ซึ่งตั้งอยู่ในเมือง
อาทิมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
มหาวิทยาลัยลอนดอน
มหาวิทยาลัยปารีส ฯลฯ และที่บ้านเราลองนึกภาพดูว่า จะเกิดอะไรขึ้นหากมีการย้ายนักศึกษาปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยศิลปากร อันประกอบด้วยคณะที่สำคัญคือ คณะจิตรกรรม คณะมัณฑนศิลป์ คณะสถาปัตยกรรม คณะโบราณคดี ออกจากวังท่าพระ ไปอยู่ที่ทับแก้ว จังหวัดนครปฐม วังท่าพระคือสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ ของชาวศิลปากร ที่เห็นภาพอาจารย์ศิลป์ พีระศรี สั่งสอนเคี่ยวกรำลูกศิษย์ จนสามารถผลิตงานศิลปะได้อย่างมีคุณภาพ และแม้ว่าสถานที่จะคับแคบมากขึ้น มีนักศึกษาเพิ่มมากขึ้นทุกปี ทางผู้บริหารมหาวิทยาลัยศิลปากร ที่ผ่านมา ก็ไม่เคยคิดจะ ย้าย มหาวิทยาลัยออกไปจากวังท่าพระ แต่แก้ปัญหาโดยการ ขยาย มหาวิทยาลัยไปที่วิทยาเขตทับแก้ว และไปเปิดคณะต่าง ๆ เพิ่มขึ้นที่ตรงนั้น เช่นเดียวกับคนที่เคยเข้ามา ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ท่าพระจันทร์ คงจะพอรู้ได้ว่าเหตุการณ์สำคัญ ในประวัติศาสตร์การเมืองไทยหลายครั้งเกิดขึ้นที่นี่ ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ตึกโดมคือกองบัญชาการใหญ่ ของเสรีไทย ลานโพและสนามฟุตบอล คือฉากสำคัญของเหตุการณ์ ๑๔ ตุลา ๑๖ และการฆ่าหมู่นักศึกษาเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ เหตุการณ์เหล่านี้ล้วนทำให้สังคม และการเมืองไทย มีการขับเคลื่อน และก้าวหน้าขึ้นจนถึงทุกวันนี้ โดยมีนักศึกษาธรรมศาสตร์เป็นหัวหอกสำคัญ จิตวิญญาณของธรรมศาสตร์ จึงเป็นจิตวิญญาณแห่งการต่อสู้ เพื่อความเป็นธรรมในสังคม เหมือนกับคำพูดที่ว่า "หากขาดโดมเจ้าพระยาท่าพระจันทร์ เสมือนขาดสัญญลักษณ์พิทักษ์ธรรม" |
|||||
ฉบับหน้า ชีวิตจริงนักสำรวจถ้ำ |
และหากมาดูเจตจำนงค์
ในการก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นายปรีด พนมยงค์
ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยฯ
ได้เคยกล่าวไว้ว่า "...ยิ่งสมัยที่ประเทศของเราดำเนินการปกครอง
ตามระบอบรัฐธรรมนูญเช่นนี้แล้ว
เป็นการจำเป็นอย่างยิ่ง
ที่จะต้องมีมหาวิทยาลัย
สำหรับประศาสน์ความรู้ในวิชาธรรมศาสตร์
และการเมือง
แก่พลเมืองให้มากที่สุดที่จะเป็นไปได้
เปิดโอกาสให้แก่พลเมือง
ที่จะใช้เสรีภาพในการศึกษากว้างขวางยิ่งขึ้น
เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติสืบไป" การก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และการเมืองที่มีจุดมุ่งหมาย เพื่อรับใช้การศึกษาของราษฎรไทยทุกระดับชั้น และจิตวิญญาณ ในการพิทักษ์ความถูกต้องของสังคม จึงเป็นหลักการสำคัญในการดำรงอยู่ ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ควบคู่กับความเป็นเลิศทางวิชาการ การให้นักศึกษาปริญญาตรี ได้ใช้ชีวิตการศึกษาอยู่ที่ท่าพระจันทร์ จึงเป็นความสำคัญ ในการหล่อหลอมจิตวิญญาณของชาวธรรมศาสตร์ หากจำเป็นต้องแก้ปัญหาความแออัดของท่าพระจันทร์ ก็น่าจะใช้วิธีการ ขยาย คณะต่าง ๆ ไปที่รังสิต เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ขยายคณะต่าง ๆ รวมถึง สำนักงานอธิการบดี และหลักสูตรการเรียนระดับปริญญาโท และเอกทั้งหมด ไปอยู่ที่ศาลายา โดยคงคณะที่เป็นหัวใจสำคัญ ของมหาวิทยาลัยมหิดลเอาไว้ คือคณะแพทย์ศาสตร์รามาฯ และศิริราช หรือข้ามฝั่งไปที่บางเขน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แก้ปัญหาความแออัดของสถานที่ โดยการ ขยาย ไปที่วิทยาเขตกำแพงแสน แต่คงคณะที่เป็นรากฐานสำคัญของมหาวิทยาลัย ไว้ที่บางเขนทั้งหมด อย่าลืมว่าองค์ประกอบของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไม่ได้ขึ้นอยู่ที่อาคารเรียน เครื่องไม้เครื่องมืออันทันสมัย หรือสถานที่อันกว้างขวางเท่านั้น แต่รวมถึงจิตวิญญาณของความเป็นธรรมศาสตร์ด้วย สิบกว่าปีที่ผ่านมา ธรรมศาสตร์ลงทุนมากมายเหลือเกิน ในเรื่องของอาคาร และเครื่องมือต่าง ๆ แต่อ่อนล้าเหลือเกินในเรื่องของการสร้างจิตวิญญาณ อย่าให้คำพูดที่ว่า "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการค้า" เป็นเรื่องจริงเลยครับ |
||||
|