|
|
|
|
|
|
|
|
|
จดหมายถึงเจ้าเมืองมิลานฉบับนั้นมีใจความว่า "เกล้ากระผมมีแผนสำหรับสร้างสะพานที่เบา
และแข็งแรง เคลื่อนย้ายได้ง่าย ...มีแผนสำหรับทำลายป้อมได้ทุกป้อม หรือค่ายคูอื่นใดก็ตามยกเว้นที่สร้างบนหิน
อีกมีแผนสำหรับสร้างปืนใหญ่ที่ใช้ง่าย
และขนส่งได้สะดวก สามารถยิงก้อนหินไปได้เป็นห่าฝน มีวิธีที่จะไปยังจุดใด ๆ ก็ได้โดยทางอุโมงค์หรือทางลับ
ซึ่งเวลาสร้างจะไม่ให้มีเสียงเลย
แม้จำเป็นต้องลอดไปใต้คูหรือแม่น้ำก็ตาม
เกล้ากระผมจะทำรถศึก
ที่ปลอดภัยและข้าศึกโจมตีไม่ได้ สามารถฝ่าเข้าในวงล้อมศัตรูพร้อมด้วยปืนใหญ่ เกล้ากระผมสามารถจัดหาธนูหิน เครื่องทิ้งหิน เครื่องขว้างหิน และจักรกลอื่น ๆ ที่มีประสิทธิภาพอย่างน่าอัศจรรย์ใจได้"
|
|
ภาพเหมือนตัวเอง (Self-Portrait) ชอล์กแดง ค.ศ. ๑๕๑๔
ี
|
|
จดหมายสมัครงานแปลกประหลาดนี้เป็นของชายฉกรรจ์วัย ๓๐ ปี บุรุษรูปงามผมสีน้ำตาลแห่งเมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี
นักเขียนประวัติศิลปิน
บรรยายคุณสมบัติของเขาไว้ว่า "ผู้คนต่างเห็นพรสวรรค์ในตัว เลโอนาร์โด ดา วินชิ
ความมีรูปงามนั้น
มิใช่สิ่งที่กล่าวเกินจริง ท่าทางการเคลื่อนไหวก็สง่า
สติปัญญาก็แสนวิเศษ
จนดูเหมือนว่าเขาสามารถแก้ปัญหายากลำบากใด ๆ ได้ทุกเรื่อง
ทั้งยังแข็งแรงถึงขนาดที่สามารถใช้มือขวาบีบห่วงคล้องประตู
หรือเหล็กเกือกม้าให้งอโค้งได้
ดังทำด้วยตะกั่วฉะนั้น ในส่วนลักษณะนิสัยก็เป็นคนร่าเริงกล้าหาญ ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมอันสูงส่ง แม้จะไม่มีภาพเหมือนในวัยหนุ่มของเขาหลงเหลืออยู่
แต่กล่าวกันว่า
เขาเหมือนชายหนุ่มแคว้นทัสคานีทั่วไป คือร่างสูง ผิวงาม และมีผมสีน้ำตาลปนแดง"
|
|
สเกตช์ต้นแบบของภาพ Virgin, Child, St. Anne and St. John ค.ศ. ๑๕๐๕-๑๕๐๗ ชอล์กดำ ปัจจุบันอยู่ที่ National Gallery กรุงลอนดอน |
|
มิลานเป็นเมืองทางเหนือของอิตาลี ตั้งอยู่กลางที่ราบลุ่มลอมบาร์ดีอันอุดมสมบูรณ์ พืชผลจากที่ราบนี้เลี้ยงประชากรของเมืองจำนวน ๑ แสนคนได้อย่างเกินพอ ผู้ครองนครในสมัยนั้นคือ โลโดวิโค สฟอร์ซา (Lodovico Sforza) ผู้ชอบสงคราม เลโอนาร์โด ดา วินชิ
จึงสมัครงานเข้าไป
ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธ แม้ดูน่าจะเหมาะสม แต่ก็กลับกลายเป็นผิดพลาด
เพราะแท้จริงแล้วสฟอร์ซา
เป็นคนไม่อยู่กับร่องกับรอย เจ้าเล่ห์ ไม่ไว้ใจใครโดยเฉพาะคนต่างถิ่น
แบบอาวุธของเลโอนาร์โด
จึงไม่เคยได้สร้างและทดลองจริง งานประจำที่เขาได้รับกลับกลายเป็นการออกแบบเวที จัดงานเลี้ยง เล่นพิณ
และร้องเพลงขับกล่อมแขกเหรื่อในงานหรูหรา
ที่จัดให้มีขึ้นเป็นประจำ
ราชสำนักมิลานภายใต้อำนาจของสฟอร์ซา
ร่ำรวยมหาศาลจากอาชีพสิ่งทอ
และการผลิตอาวุธ
เขาใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือย
ในเรื่องแก้วแหวนเงินทอง ขบวนแห่อันมโหฬาร คนรับใช้ คนเลี้ยงม้า และคนครัวฝีมือเลิศ แวดล้อมด้วยเหล่าหญิงงาม คนแคระ กวี นักปราชญ์
รวมทั้งนักร้องจากเบลเยียม
และกลุ่มนักดนตรีจากเยอรมนี
กล่าวกันว่าราชสำนักมิลานยุคนั้นรุ่งเรืองหรูหรายิ่งกว่าเมืองใดในอิตาลี
หรือแม้แต่ในยุโรปด้วยซ้ำ แต่ทรัพย์สมบัติที่มีค่ามากที่สุดในราชสำนักของสฟอร์ซา ไม่ว่าเขาจะรู้หรือไม่ก็ตาม คือตัว เลโอนาร์โด ดา วินชิ นั่นเอง
|
|
Virgin, Child, St. Anne and a Lamb ค.ศ. ๑๕๐๘ ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟว์ กรุงปารีส
|
|
เลโอนาร์โดนับเป็นอัจฉริยบุคคลที่น่าพิศวงที่สุด
ของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา (Renaissance) หรือแม้แต่ของทุกยุคสมัย เป็นนักแสวงหาผู้ลึกล้ำสุดหยั่ง กษัตริย์ฟรานซิสที่ ๑
ของฝรั่งเศส
ซึ่งนับถือศรัทธาเลโอนาร์โดมาก เคยตรัสยกย่องเขาไว้ว่า
แทบไม่น่าเชื่อที่จะมีใครเกิดมาแล้ว
รู้อะไรมากมายเทียบเท่าเลโอนาร์โด ทั้งในสาขางานจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ไปจนถึงสาขาปรัชญาทั้งหลาย
วัยเด็กของเลโอนาร์โดเลือนรางเหมือนอยู่ในม่านหมอก เขาเกิดเมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน ค.ศ. ๑๔๕๒ ในกระท่อมอิฐบนเนินเขาที่แคว้นทัสคานี บิดาของเขาคือ เซอร์ปิเอโร (Ser Piero)
เป็นทนายความฝีมือดี
ผู้ซึ่งแต่งงานซ้ำแล้วซ้ำเล่าถึงสี่ครั้ง มีลูกถึง ๑๑ คน ส่วนมารดาชื่อ แคเทอรินา (Caterina)
เป็นหญิงชาวบ้าน
ซึ่งอีกห้าปีต่อมาก็แต่งงานใหม่กับคนเผาปูน เมื่อปู่ของเขาเสียชีวิตในปี ค.ศ. ๑๔๖๘
เลโอนาร์โดก็โยกย้ายจากบ้านชนบท
มาอยู่กับบิดาในเมืองฟลอเรนซ์
และเข้าศึกษางานช่างทั้งหลาย
ในสำนักของศิลปินใหญ่ เวอรอคคิโอ (Andrea Verrocchio) ศิษย์ร่วมสำนักเดียวกันที่มีชื่อเสียงในเวลาต่อมา ได้แก่ Domenico Ghirlandio อาจารย์ของมิเคลันเจโล (Michelangelo Buonarroti) และ บอตติเชลลิ (Sandro Botticelli)
ไม่มีบันทึกใด ๆ
บอกกล่าวไว้เกี่ยวกับการเรียนวิชาสามัญ
และการเรียนทางศิลปะในช่วงวัยเยาว์
ของเลโอนาร์โดเลย นอกจากที่วาสซารี นักเขียนประวัติศิลปิน กล่าวไว้ว่า เมื่อยังเล็ก
เลโอนาร์โดชอบท่องไปในท้องทุ่ง
ของแคว้นทัสคานี วาดรูปดอกไม้ใบหญ้า รูปสัตว์ ปั้นดินเหนียวเป็นรูปเด็กหรือรูปผู้หญิง และชอบทำรูปสัตว์ประหลาด
นอกจากนี้ยังมีพรสวรรค์ในทางดนตรี
และคณิตศาสตร์อีกด้วย
|
|
Lady with an Ermine (Cecillia Gallerani) ค.ศ. ๑๔๘๕ ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ Czartoryski ประเทศโปแลนด์ |
|
มีหลายครั้งที่แววอัจฉริยะของเลโอนาร์โดแสดงให้เห็นชัด
ครั้งหนึ่งคือเมื่อบิดาของเขาถูกไหว้วานจากชาวบ้าน
ให้นำโล่ไม้กลมไปให้ช่างเขียนในเมืองฟลอเรนซ์
เขียนรูปอะไรก็ได้ตกแต่งลงไป
แต่เซอร์ปิเอโรกลับมอบโล่ไม้นั้น
ให้บุตรชายนำไปตกแต่งแทน เลโอนาร์โดจับกิ้งก่า จิ้งจก หนอน งู แมลง ตั๊กแตน ค้างคาว และสัตว์อื่น ๆ
มารวมไว้ในห้องส่วนตัวของเขา
เพื่อศึกษาลักษณะต่าง ๆ ของสัตว์เหล่านี้
ก่อนจะนำมาผสมผสาน
สร้างเป็นภาพสัตว์ประหลาดที่น่ากลัว โผล่ร่างออกมาจากถ้ำมืด
พ่นควันพิษจากปากที่อ้ากว้าง
และรูจมูกทั้งสองข้าง ทั้งยังมีเปลวไฟลุกโชนออกมาจากดวงตา
เขาหมกมุ่นอยู่กับการทำงาน
จนลืมนึกถึงกลิ่นเหม็นเน่าของซากสัตว์
กระทั่งวันหนึ่งเซอร์ปิเอโร
ซึ่งลืมเรื่องนี้ไปแล้ว
โผล่เข้ามาในห้องบุตรชาย หันมาเห็นภาพสัตว์ประหลาดเข้าถึงกับผงะและวิ่งหนีออกไป
เลโอนาร์โดต้องยึดมือพ่อไว้
และบอกความจริงให้ทราบ
เซอร์ปีเอโรเห็นว่านี่เป็นเรื่องมหัศจรรย์
และยกย่องบุตรชาย หลังจากนั้นก็แอบไปซื้อโล่ไม้เขียนรูปหัวใจมีลูกศรเสียบ ไปมอบคืนให้แก่เพื่อนบ้าน
แล้วนำโล่ที่มีรูปเขียนฝีมือเลโอนาร์โด
ไปขายให้พ่อค้าในเมืองฟลอเรนซ์ ได้ราคาถึง ๑๐๐ ดูกัต
เรื่องเล่ามิได้กล่าวต่อว่าเซอร์ปิเอโรจัดการอย่างไรกับเงินจำนวนนี้ นอกจากมีคำชมเชยให้ลูกชาย
แต่เห็นได้ชัดจากบันทึกของเลโอนาร์โดว่า
พ่อลูกคู่นี้ห่างเหินกัน เพราะเมื่อบิดาของเขาเสียชีวิตในอีกหลายปีต่อมา เลโอนาร์โดบันทึกไว้ในสมุดงานของเขาว่า "วันที่ ๙ กรกฎาคม ๑๕๐๔ เวลา ๗ โมงเช้า เซอร์ปิเอโร ดา วินชิ ทนายความ เสียชีวิต ณ จวนผู้ว่าราชการจังหวัด บิดาของข้าพเจ้า, เวลา ๗ โมงเช้า เขามีอายุ ๘๐ ปี มีลูกชาย ๑๐ คน และลูกหญิง ๒ คน" ข้อความเป็นทางการไม่แสดงความรู้สึกอะไรเลยนี้ ดูเย็นชาอย่างน่ากลัว
ทั้งยังดูเหมือนว่า
เขาจะขีดเขียนลงไปอย่างใจลอย โดยเขียน "เวลา ๗ โมงเช้า" ซ้ำถึงสองครั้ง และพูดถึงอายุของพ่อเกินจริงไป ๓ ปี
เมื่ออายุได้ ๒๐ ปี เลโอนาร์โด ดา วินชิ
ก็มีรายชื่อจารึกอยู่ในสมาคมจิตรกรรมเซนต์ลุก
ของเมืองฟลอเรนซ์ ซึ่งหมายความว่าด้วยอายุเพียงเท่านี้ เขาก็สามารถรับงานในฐานะจิตรกรอิสระได้
แต่สี่ปีหลังจากนั้น
เขาก็ยังอาศัยอยู่กับอาจารย์เวอรอคคิโอ เพื่อศึกษาเรียนรู้งานศิลปกรรมโบราณในวังของ ลอเรนโซ เดอ เมดิซี ผู้ชอบอุปถัมภ์ศิลปินหนุ่มที่มีแววดีให้ก้าวหน้ายิ่ง ๆ ขึ้นไป
งานจิตรกรรมที่บอกถึงอัจฉริยภาพ
ของเลโอนาร์โดในช่วงเวลานี้ ได้แก่
ภาพนางฟ้าที่เขียนประกอบลงในงานของอาจารย์เวอรอคคิโอ
ในฐานะลูกมือ
ซึ่งเมื่อเวอรอคคิโอเห็นเข้า
ก็ตระหนักว่าศิษย์ผู้นี้
มีความสามารถเหนือกว่าเขา
ถึงกับยอมวางมือจากงานเขียนรูป
แล้วหันไปทำงานด้านอื่น ๆ แทน (แต่เดิมเวอรอคคิโอเป็นช่างทอง
ผู้มีชื่อเสียงของฟลอเรนซ์)
|
|
Mona Lisa ค.ศ. ๑๕๐๕-๑๕๑๔ ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟว์ กรุงปารีส |
|
กระนั้นก็ตาม เลโอนาร์โดก็มิได้ลงหลักปักฐานอยู่ในเมืองฟลอเรนซ์ หลังจากรับงานชิ้นเล็กชิ้นน้อยอยู่พักใหญ่ เขาก็รู้สึกว่ายังมีงานที่ท้าทายความสามารถอันหลากหลายของเขาอยู่อีกมาก เมื่ออายุได้ ๓๐ ปีเลโอนาร์โอจึงเดินทางไปสมัครงาน ณ เมืองมิลานดังกล่าวมาแล้ว ที่นี่เขามีโครงการใหญ่ที่จะทำสองอย่างคือ หนึ่ง
สร้างอนุสาวรีย์คนขี่ม้าขนาดใหญ่
อย่างที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน เป็นรูปขุนศึกผู้เป็นบิดาของเจ้าเมืองมิลานขณะนั้น และสอง เขียนภาพฝาผนังพระกระยาหารมื้อสุดท้าย (The Last Supper)
สฟอร์ซาผู้เป็นเจ้าเมือง
ยอมทุ่มทุนให้ทุกอย่าง
เพื่อเกียรติยศของวงศ์ตระกูล และเลโอนาร์โดเองก็ตั้งใจที่จะทำงานให้ดีที่สุด ทองสำริดน้ำหนักถึง ๓๐ ตันถูกรวบรวมนำมาเตรียมไว้ โรงงานถูกสร้างขึ้นในบริเวณวัง
เลโอนาร์โดศึกษาท่าทางของม้า
ทั้งขณะควบ
และเหยาะย่างไว้เป็นอย่างดี
ทั้งยังศึกษารายละเอียดลึกซึ้งถึงเรื่องกระดูก
และกล้ามเนื้อของม้า เขาวางแผนแก้ปัญหาการหล่อรูปขนาดมโหฬาร ด้วยการให้มีเตาหลอมสำริดจำนวน ๔ เตาเพื่อเทโลหะหลอมละลายลงเบ้าได้พร้อมกัน
แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า
เมื่อเกิดสงครามขึ้นระหว่างเมืองมิลานกับฝรั่งเศส สำริดทั้งหมดถูกนำไปใช้ทำปืนใหญ่แทน และโครงการนี้ก็ล้มเลิกไปโดยปริยาย รูปปั้นดินเหนียวสูงถึง ๒๖ ฟุตที่ทำเสร็จแล้ว
กลายเป็นเป้าซ้อมยิงธนูของทหารฝรั่งเศส
และสูญสลายไปในที่สุด
ส่วนภาพ พระกระยาหารมื้อสุดท้าย นั้น
วัดซานตามาเรียว่าจ้างให้เลโอนาร์โดเขียน
เพื่อประดับหอฉัน โดยให้เขาวาดภาพลงบนผนังยาว ๓๐ ฟุต สูง ๑๔ ฟุต ซึ่งว่างอยู่
ภาพดังกล่าวนี้เมื่อสำเร็จแล้ว
ได้กลายเป็นภาพที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากที่สุดในโลกคริสต์ศาสนา กษัตริย์ฟรานซิสที่ ๑
ของฝรั่งเศสถึงกับมีพระประสงค์
จะชะลอภาพทั้งฝาผนังไปไว้ที่ฝรั่งเศส
แต่ก็ไม่สามารถทำได้
เพราะเกรงจะเกิดความเสียหายขึ้นกับภาพ
|
|
The Last Supper ค.ศ. ๑๔๙๕-๑๔๙๘ ที่หอฉัน วัดซานตามาเรีย เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี |
|
บุคคลในภาพประกอบด้วยพระเยซูคริสต์และสาวกอีก ๑๒ คน รวมเป็น ๑๓
ภาพกล่าวถึงเหตุการณ์ในวันที่พระองค์
เสวยพระกระยาหารเย็นมื้อสุดท้าย
ก่อนจะถูกทหารโรมันจับตัวไปประหารชีวิต
ด้วยการตรึงไม้กางเขนในข้อหาว่าเป็นกบฏ โดยสาวกที่ทรยศรับเงินค่าจ้างมาคือ ยูดาส อิสคาริออต จะชี้ตัวเป็นนัยโดยเข้าไปจูบพระหัตถ์ ระหว่างรับประทานอาหารกันนั้น ด้วยพระญาณหยั่งรู้อนาคต พระเยซูแจกขนมปังให้แก่เหล่าสาวกพร้อมตรัสว่า เอาไปกินเสียเถิด เพราะนี่คือกายของเรา จับแก้วเหล้าองุ่นแล้วตรัสว่า จงดื่มให้หมด นี่คือเลือดเนื้อของเรา ทั้งนี้ด้วยกิริยาการยอมรับชะตากรรมที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นพระประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า
ภาพนี้บรรยายความตามพระคัมภีร์
เมื่อพระเยซูคริสต์เจ้าตรัสว่า "เธอคนหนึ่งนี้จะทรยศต่อเรา"
บรรดาสาวกต่างตกตะลึง
และถามไถ่กันวุ่นวาย เซนต์ปีเตอร์ซึ่งหุนหันพลันแล่นมากที่สุด
ชะโงกหน้าเข้าไปถามเซนต์จอห์น
ซึ่งนั่งอยู่ทางขวาของพระเยซู พร้อมกับผลักยูดาส (สวมเสื้อคลุมสีฟ้า เท้าศอกขวามาข้างหลัง) โดยมิได้ตั้งใจ ในขณะที่มือขวาของเซนต์ปีเตอร์กำมีดแหลมไว้มั่น อัจฉริยภาพของเลโอนาร์โดปรากฏอยู่ในทุกส่วนของรูป ตั้งแต่การจัดภาพอันแสดงทัศนียวิทยา (perspective) ที่สมจริง ซึ่งดูดังว่าห้องโถงของหอฉันจะต่อยาวไปอีกช่วงหนึ่ง
เส้นโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม
ตั้งแต่แนวประตูซ้ายขวาและเส้นโครงเพดาน ล้วนพุ่งตรงไปรวมตัวกันอยู่ที่จุดสนใจใหญ่ของเรื่อง คือ องค์พระเยซูคริสต์
และเด่นชัดยิ่งขึ้น
เมื่อพระเศียรทาบทับกับความสว่างอ่อนจางของท้องฟ้าเบื้องหลัง
อันมองเห็นผ่านช่องหน้าต่าง
สาวกทั้ง ๑๒ คนจับกลุ่มแบ่งเป็น ๔ อย่างธรรมชาติ เชื่อมต่อกันโดยท่าทางและการเคลื่อนไหว มีความเป็นระเบียบ (order) อยู่ในความหลากหลาย (variety) มีความประสานกลมกลืน (harmony) ระหว่างจังหวะ (rhythm) ส่งและย้อนกลับ
ทำให้ผู้ชมสามารถเวียนพินิจรายละเอียดของภาพ
ได้โดยไม่เบื่อหน่าย
เสน่ห์อันประณีตนุ่มนวลของภาพอีกประการหนึ่งคือ
การถ่ายทอดสีหน้าอารมณ์ของสาวกแต่ละคน ซึ่งเลโอนาร์โดถือเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง ดังหลักฐานในบันทึกของเขาที่ระบุว่า การสร้างงานจิตรกรรมนั้น "จิตรกรมีเป้าหมายสองอย่าง คือ
แสดงรูปกาย และแสดงจิตวิญญาณ ข้อแรกนั้นทำได้ง่าย แต่ข้อหลังทำได้ยาก เพราะต้องใช้กิริยาท่าทางสื่อประสาน"
|
|
Vergin of the Rocks ค.ศ. ๑๔๙๕-๑๕๐๘ ปัจจุบันอยู่ที่ National Gallery กรุงลอนดอน |
|
ใบหน้าของสาวกแต่ละคน
นำมาจากใบหน้าคนจริง
ซึ่งจิตรกรต้องตระเวนหาไปทั่วมิลาน
และเมืองใกล้เคียง
ที่ใช้เวลานานมากที่สุด
คือแบบใบหน้าของยูดาส เลโอนาร์โดต้องเสียเวลาด้อม ๆ มอง ๆ
ไปตามย่านอันธพาลและอาชญากรนานมาก
จนสมภารวัดซานตามาเรีย
แอบมาฟ้องเจ้าเมืองถึงความ "ขี้เกียจ" ของเขา เมื่อทราบเรื่องเลโอนาร์โดจึงประชดให้ว่า เขากำลังมองหาใบหน้าอันชั่วร้ายที่เหมาะสมกับสาวกทรยศ แต่หากจำเป็น จะใช้ใบหน้าของสมภารแทนเสียก็ได้ เสียงบ่นจึงเงียบไป
ความพิถีพิถันและประณีตลึกซึ้งในการทำงานของจิตรกรใหญ่
มีมากมายเพียงใด เราทราบได้จากบันทึกของนักเขียนร่วมสมัย Matteo Bandello ซึ่งขณะนั้นเรียนหนังสืออยู่ที่วัดซานตามาเรีย
" ...เขาจะมาที่วัดตั้งแต่เช้า รีบปีนขึ้นนั่งร้านแล้วทำงานอยู่จนเย็น จมอยู่กับงานโดยไม่สนใจข้าวปลาอาหาร
แต่บางคราวก็อยู่เฉยได้เป็นสามสี่วัน
โดยไม่แตะต้องรูปเลย
เพียงมายืนกอดอกเพ่งพินิจรูปเขียน
ราวกับกำลังวิเคราะห์ติติงตัวเองอยู่สองสามชั่วโมง บางครั้งตอนเที่ยงวันที่มีแดดร้อนเปรี้ยงตามท้องถนน
ผมเห็นเขารีบออกจากวังเจ้าเมือง
ซึ่งเขากำลังปั้นรูปม้าขนาดมโหฬารอยู่ เดินเลาะเลียบตามทางสู่วัดซานตามาเรียโดยไม่มีอะไรคุ้มหัว แตะแต่งรูปตรงโน้นนิดตรงนี้หน่อยแล้วรีบกลับ..."
ผลงานจิตรกรรมเด่นอีกสองชิ้นระหว่างอยู่ที่มิลาน คือ Lady with an Ermine และ Virgin of the Rocks รูปแรกเป็นภาพเหมือนของสาวน้อย Cecilia Gallerani สนมคนโปรดของเจ้าเมืองมิลาน ในภาพ เธออุ้มตัวเออร์มินขนนุ่มไว้ในอ้อมแขน สัตว์ชนิดนี้เป็นหนึ่งในตราประจำตระกูลของโลโดวิโค แต่เนื่องจากภาพนี้มีร่องรอยการระบายสีซ้ำบางแห่ง
จึงทำให้เกิดข้อกังขาว่า
ภาพนี้อาจไม่ใช่ผลงานของเลโอนาร์โด ทว่าหลักฐานเด่นที่ไม่อาจปฏิเสธได้ก็คือ
ท่าเอี้ยวตัวของเออร์มิน
และการเกลี่ยน้ำหนักแสงเงาอันประณีตที่มืออันบอบบาง
ซึ่งเป็นแบบอย่างการวาดที่เลโอนาร์โด
ได้รับอิทธิพลมาจากอาจารย์ของเขา คือ เวอรอคคิโอ อีกต่อหนึ่ง
|
|
ภาพชายเปลือย
มองจากด้านหลัง ค.ศ. ๑๕๐๓-๑๕๐๗ ชอล์กแดง |
|
ในเดือนเมษายน ปี ค.ศ. ๑๔๘๓ เลโอนาร์โดรับงานเขียนภาพสำหรับแท่นบูชาของโบสถ์ St. Francesco Grande คือภาพ แม่พระแห่งหินผา (Virgin of the Rocks) ซึ่งมีสองรูป ปัจจุบันรูปแรกอยู่ในพิพิธภัณฑ์ลูฟว์ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ส่วนรูปหลังอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โครงสร้างหลักของทั้งสองภาพเหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่รายละเอียด
ภาพ Virgin of the Rocks หรือบางครั้งเรียกว่า Madonna of the rocks เป็นภาพที่เต็มไปด้วยสัญลักษณ์เหนือความเข้าใจ เผยให้เห็นธรรมชาติอันลึกลับน่าพิศวงของจิตรกร การที่เทพธิดาดูราวจะเพ่งมองไปที่เซนต์จอห์น (ทารกแบกไม้กางเขน) แทนที่จะเป็นพระเยซู (ทารกยกนิ้วอำนวยพร) นั้น หมายความว่าอย่างไร
ทารกที่แม่พระทรงโอบประคองปกป้องไว้ด้วยพระหัตถ์
และพระภูษานั้น
เป็นเซนต์จอห์นแน่หรือ
หรือว่าจะหมายถึงมวลมนุษยชาติ
ที่ควรได้รับการปกป้องจากพระผู้เป็นเจ้า
ถ้ำมืดด้านหลังจงใจให้เป็นเสมือนครรภ์มารดา
อันเป็นแหล่งเริ่มต้นชีวิตหรือเปล่า ฯลฯ เหล่านี้เป็นข้อที่ปราชญ์ทั้งหลายใคร่ครวญกัน
เลโอนาร์โดก็เหมือนศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย
ที่ไม่เคยอธิบายสิ่งเหล่านี้ไว้ ด้วยคาดว่าผู้อื่นน่าจะรู้ความหมายที่เกินจากคำพูดนี้เช่นกัน
กลางภาพน่าจะเป็นลีลาหลากหลายของมือที่น่าอัศจรรย์ที่สุด ตั้งแต่การปกป้อง การบูชา การอำนวยพร จนถึงการชี้
มองเลยไปทั่วภาพจะเห็นได้ชัดว่า
นี่เป็นผลจากการรวบยอดความรู้ทั้งปวงที่เลโอนาร์โดมีอยู่ ทัศนียวิทยาของอากาศ (aerial perspective) เห็นได้จากทิวทัศน์ที่มองลอดซุ้มถ้ำไปข้างหลัง รูปบุคคลทั้งหมดรวมกลุ่มกันเป็นสามเหลี่ยมพีระมิด มีพระเศียรของแม่พระอยู่ตรงยอด พักตร์พริ้งเพราของเทพธิดาถึงจุดสูงสุดตามแบบฉบับของเขา ท้องถ้ำขมุกขมัวมัวหม่นด้วยม่านหมอกบางของเทคนิค sfumato (ดั่งควันไฟ) ทำให้รูปกายปรากฏฉายเด่นขึ้นมาอย่างประณีตกลมกลืนกับฉากหลัง ไร้เส้นรอบนอกที่แข็งกระด้างอย่างสิ้นเชิง
ผลงานอีกชิ้นหนึ่งของเลโอนาร์โดที่มีชื่อเสียงรู้จักกันดีทั่วโลก คือ โมนาลิซา (Mona Lisa) ถือได้ว่าเป็นภาพเหมือน (portrait) ที่โด่งดังที่สุดของทุกยุคสมัย
เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดตำนาน
และเรื่องราวมากมาย เพลง "โมนาลิซา" ของนักร้องอมตะผู้มีเสียงทุ้มก้องกังวาน คือ แนต คิง โคล ก็ยังขับขานกันมาจนถึงปัจจุบัน
ภาพนี้เลโอนาร์โดเขียนขึ้น
เมื่อกลับมาฟลอเรนซ์บ้านเกิด สุภาพสตรีผู้เป็นแบบชื่อ ลิซา ภรรยาของ Francisco del Giocondo ขุนนางชั้นสูง บางครั้งรูปนี้จึงเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า "La Giocondo"
เพื่อตรึงรอยยิ้มให้ยาวนาน
และให้นางแบบเบิกบานสดชื่น เลโอนาร์โดจึงต้องจัดให้มีวงดนตรีเล็ก ๆ และตัวตลกมาแสดงอยู่ด้วยในขณะที่เธอนั่งเป็นแบบ
|
|
ภาพศึกษา (study) กายวิภาค กระดูกและกล้ามเนื้อ
เป็นพื้นฐานสำหรับ
การสร้างงานรูปคน ให้สมจริง |
|
อะไรเป็นเคล็ดลับแห่งความโด่งดังของรูปซึ่งมีขนาดเล็กเพียง ๗๗x๕๓ เซนติเมตรนี้ ผู้รู้ที่มีประสบการณ์อธิบายไว้ว่า เมื่อเราประจันหน้ากับ โมนาลิซา ความอัศจรรย์ใจที่เกิดขึ้นคือ เธอดูดังมีชีวิต มองสบตาเรา
และดูเหมือนรอยยิ้มแผ่วเบานั้น
จะเปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา บางครั้งเหมือนเยาะหยันแล้วฉับพลันกลายเป็นเศร้าสร้อย และทุกครั้งที่เรากลับไปดูใหม่ รอยยิ้มเป็นนัยของรูปนี้จะเปลี่ยนแปรอยู่เสมอ นี่คือเสน่ห์ที่ดึงดูดให้ผู้คนค้นหา
ในสมุดงานของเลโอนาร์โด
มักมีประโยคเขียนเล่น ๆ ว่า "บอกมาหน่อย มีอะไรเสร็จสิ้นไปแล้วบ้าง" แทรกอยู่ทั่วไป ตรงโน้นบ้าง ตรงนี้บ้าง
เหมือนดังสร้อยเพลงแห่งความคิดคำนึง
ทุกครั้งที่เขาจะเริ่มงานใหม่ (ในขณะที่งานปัจจุบันค้างคาอยู่) พรสวรรค์อันหลากหลายและความใฝ่รู้ (inquiring mind) ไม่สิ้นสุด เป็นทั้งพรและคำสาปสำหรับเลโอนาร์โด
ความคิดแปลกใหม่และกว้างไกลสุดหยั่งของเขานั้น
เกินกว่าที่เราจะคาดถึง เช่นเมื่อเกิดโรคระบาดที่เมืองมิลานในปี ค.ศ. ๑๔๘๔-๑๔๘๕ คนตายไปถึง ๕ หมื่นคน
เขารู้ว่าเกิดจากการอยู่กันอย่างแออัดยัดเยียด
และความโสโครกของสภาพแวดล้อม แสงแดดส่องเข้าถึงตรอกซอกซอยในช่วงเวลาสั้น ๆ เขาจึงเสนอโครงการสร้างเมืองใหม่ แบ่งซอยออกเป็น ๑๐ เขตย่อย ให้มีประชากรเขตละ ๓ หมื่นคน จัดคูน้ำถ่ายเทสิ่งสกปรกเป็นระบบ ให้มีถนนกว้าง อากาศถ่ายเทสะดวก
โดยให้ความสูงเฉลี่ยของอาคารสองฟาก
เท่ากับความกว้างของถนน
ซึ่งในอีกสามทศวรรษต่อมา
สภาเทศบาลกรุงลอนดอนก็ได้ออกกฎหมายบังคับ
ให้การสร้างถนนใหม่ทุกสาย
ต้องเป็นไปตามสัดส่วนนี้ ในด้านวิทยาศาสตร์ ผู้รู้ทั้งหลายยกย่องให้เขาเป็นยักษ์ใหญ่ จากเอกสารซึ่งเขียนด้วยลายมือฉบับหนึ่ง เขาพูดถึงจักรวาลไว้ว่า "ดวงอาทิตย์มิได้เคลื่อนที่"
ซึ่งเป็นนัยให้รู้ว่าโลกมิได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล
ดังที่เชื่อกันทั่วไปในเวลานั้น
ความคิดนี้ล่วงหน้าปราชญ์ทางดาราศาสตร์
อย่างโคเปอร์นิคัสถึง ๑๕ ปี และล่วงหน้ากาลิเลโอมากกว่า ๑๐๐ ปี
|
|
Star of Bethlehem ภาพศึกษาพืชพันธุ์
จากธรรมชาติ
ซึ่งเป็นความสนใจส่วนตัว
ของเลโอนาร์โด |
|
เมื่ออายุประมาณ ๖๒
ปี เลโอนาร์โด ดา วินชิ
เขียนรูปตัวเอง (ดูภาพประกอบภาพที่
๑)
ด้วยจิตใจอ่อนล้าและแจ้งในความจริงของชีวิต
ในภาพเป็นชายชราที่ดูหง่อมกว่าอายุจริง
เขาตระหนักดีว่าตนเองทำอะไรต่ออะไรมามากมาย
แต่สุดท้ายก็มีความสำเร็จเพียงน้อยนิด
บัดนี้เขาเป็นคนไร้บ้าน
ไร้ผู้อุปถัมภ์
กำลังเดินทางเข้าสู่วัยชรา
และกำลังจะถูกลืม
ใบหน้านั้นเศร้า
ทว่าเก็บงำความนัยไว้อย่างมิดชิด
๔๐๐ ปีต่อมา เซอร์เคนเนท
คลาร์ก กล่าวถึงภาพนี้ว่า "ภูเขาใบหน้าที่ลุ่มลึก
พร้อมด้วยคิ้วที่สูงส่ง,
ดวงตาทรงพลัง (ในการค้นหาความจริง)
และหนวดเคราพลิ้วไหว
ช่างละม้ายเหมือนบุคคลยิ่งใหญ่ทั้งหลายแห่งศตวรรษที่
๑๙ เช่น ดาร์วิน, ตอลสตอย และ
วอลท์ วิทแมน
ซึ่งกาลเวลาอันเป็นดวงตาที่ประจักษ์ในความทุกข์ทั้งมวลของมนุษย์
บั่นทอนพวกเขาลงสู่ความเป็นสามัญชนที่น่าเคารพนับถือ"
เลโอนาร์โดซึ่งจะอยู่ต่อมาอีกห้าปี
มองเห็นตัวเอง
เป็นเพียงชายแก่นิรนามคนหนึ่ง
แต่ความยิ่งใหญ่ของเลโอนาร์โดนั้น
ก็เกินกว่าที่จะมีใครมองข้าม
ไม่ว่าในอดีตหรือปัจจุบัน
ในปั้นปลายชีวิตของเลโอนาร์โด
กษัตริย์หนุ่ม ฟรานซิสที่ ๑
แห่งฝรั่งเศส
ได้เชิญเขาไปพำนักอยู่ในวังของพระองค์ที่
Amboise
พระองค์เสด็จมาเยี่ยมเยียนพูดคุย
ขอความรู้จากเขาเป็นครั้งคราว
และเปิดโอกาสให้เขาได้ใช้ชีวิตอย่างเสรีโดยไม่มีภาระ
๒ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๕๑๙
เลโอนาร์โดก็ลาโลกไปอย่างสงบ
หลังจากที่ได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินส่วนตัวทั้งหมด
ทั้งหนังสือและผลงานศิลปะ
ให้แก่เมลซี (Francesco Melzi)
ศิษย์ผู้ซื่อสัตย์ที่อยู่ปรนนิบัติเขาจนวาระสุดท้าย
ในจดหมายที่เขาส่งไปแจ้งข่าว
แก่น้องชายของเลโอนาร์โด
เมลซีระบายความเศร้าโศกไว้ว่า
"สำหรับผมแล้ว
เขาเป็นเหมือนพ่อที่ดีที่สุด
บอกไม่ถูกหรอกว่าผมเสียใจเพียงใดในการจากไปของเขา
...การตายของเขา
เป็นความสูญเสียสำหรับทุกคน
เพราะธรรมชาติ
คงไม่สามารถสร้างบุคคลเช่นนี้ขึ้นมาได้อีก"
|
|
ภาพเหมือนตัวเอง (Self-Portrait) ชอล์กแดง ค.ศ. ๑๕๑๔ |
|
หนังสือประกอบการเขียน
๑. The World of Leonardo (Time-Life Library of Art) โดย Robert Wallace and Editoes of Time-Life Books
๒. Leonardo da Vinci, Hayward Gallery London
๓. Leonardo on Painting, Yale University Press
๔. Great Artists, Ladybird Book
๕. The Story of Painting โดย Sister Wendy Beckett
๖. The Story of Art โดย E.H. Gombrich
|
|