นิตยสาร สารคดี: ฉบับที่ ๒๒๔ เดือนตุลาคม ๒๕๔๖ | ISSN 0857-1538 |
|
ฉบับหน้า Unseen แห่งแม่น้ำโขง |
ในบรรดาไม้ที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์
ไม้สักจัดว่าเป็นไม้ยอดนิยมเกรดหนึ่ง |
||
และจะทำให้พันธุกรรมของไม้ชนิดนี้ต้องสูญหายไปจากป่าธรรมชาติ ทุกครั้งที่มีเหตุการณ์น้ำท่วม หรือฝนแล้ง ข่าวการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นก็ดังกระหึ่มขึ้นมาทันที ขณะที่เมื่อเริ่มต้นโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้นเมื่อสิบกว่าปีก่อน ก็อ้างว่าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นหลัก ไม่มีเรื่องการป้องกันน้ำท่วม หรือภัยแล้ง ต่อมาจึงเปลี่ยนวัตถุประสงค์มาเป็นเพื่อการชลประทาน ล่าสุดก็เปลี่ยนแคมเปญใหม่ว่า เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม เขื่อนแก่งเสือเต้นดูจะเป็นยาสามัญประจำบ้านของพี่น้องเมืองสุโขทัยและเมืองแพร่ ที่โฆษณากันว่าสามารถป้องกันน้ำท่วม ฝนแล้ง ได้ชะงัดนัก ทั้ง ๆ ที่ตัวเขื่อนแห่งนี้สร้างอยู่ในป่าแม่ยม ห่างจากตัวเมืองแพร่นับร้อยกิโลเมตร และมีรายงานว่า เขื่อนนี้รองรับน้ำได้แค่ ๙ เปอร์เซ็นต์ของน้ำในลุ่มน้ำยมทั้งหมด และหากฝนตกใต้เขื่อนแก่งเสือเต้น เขื่อนก็ไม่สามารถป้องกันน้ำท่วมตัวเมืองแพร่ได้ งานวิจัยล่าสุดจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็ชี้ชัดว่า โครงการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นมูลค่าเกือบหมื่นล้านบาทนั้น ไม่คุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์ ไม่นับรวมประโยชน์ของป่าสักแห่งนี้ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา ๕๐ ปี คิดเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า ๖,๐๐๐ ล้านบาท หรือพูดง่าย ๆ คือ ป่าสักแม่ยมมูลค่า ๖,๐๐๐ ล้านบาทจะหายวับไปทันที เมื่อมีการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น เงินภาษีของคนไทยนับหมื่นล้านบาทจะถูกละลายไปกับการสร้างเขื่อนแห่งนี้ ทั้งที่รู้ว่าป้องกันน้ำท่วมคนเมืองแพร่ได้ไม่ถึง ๑๐ เปอร์เซ็นต์ เป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ หรือปลายเหตุกันแน่ ทำไมกรมชลประทานไม่ลองตั้งโจทย์ใหม่ เลิกคิดจะสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นไปเลย แล้วหันมาระดมสติปัญญาหาทางแก้ไขปัญหาน้ำท่วม ฝนแล้ง ซึ่งน่าจะมีหลายแนวทาง ไม่ว่าการขุดลอกแม่น้ำยมที่ตื้นเขิน การสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ปัญหาการตัดถนนที่เป็นอุปสรรคในการไหลของแม่น้ำยม ฯลฯ ผมเชื่อว่าข้าราชการไทยมีภูมิปัญญาที่จะแก้ปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านได้ โดยไม่ต้องไปแลกกับการทำลายธรรมชาติ ปล่อยให้ป่าแม่ยม ป่าสักทองผืนสุดท้าย มีชีวิตอยู่รอดไปเถิดครับ |
|||
|