วารสาร เมืองโบราณ

Muang Boran Journal
หน้าปกปีที่ ๒๔ ฉบับ ๑ มกราคม - มีนาคม ๒๕๔๑
ISSN 0125-426X Vol. 24 No. 1 January -March 1998

วารสารวิชาการรายสามเดือน เพื่อการอนุรักษ์มรดกไทย ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปะ และวัฒนธรรม
สมุทรสงคราม-สมุทรสาคร (ราคา ๑๒๐ บาท)

สารบัญ
ตำราดาว ฉบับของสถาบันราชภัฏ นครศรีธรรมราช
ความกลัวของมนุษยชาติ ในสังคมไทย
สภาพแม่น้ำกว้างว้างเวิ้ง เป็นเชิงเลนฯ ของทะเลตม ช่วงน้ำลงที่ ดอนหอยหลอด สมุทรสงคราม
ทะเลตม... ศรีศักร วัลลิโภดม อ่านต่อ คลิกที่นี่

The mangrove... Srisakara Vallibhotama

ชุมชนมอญ เมืองสาครบุรี... พิศาล บุญผูก
ชุมชนโบราณ ที่บ้านยี่สาร... วลัยลักษณ์ ทรงศิริ

The Ancient Community of Ban Yisan... Walailak Songsiri

ปล่องเหลี่ยม ความทรงจำ และการลืมเลือน... ศรัณย์ ทองปาน

Octagonal Chimney... Sran Tongpan

บ้านบางโทรัด... สามทศวรรษ ในความทรงจำ... นคร สำเภาทิพย์
เทศกาลกินเจ ท่าฉลอม... พิธีกรรมบริสุทธิ์ และยิ่งใหญ่ ของชุมชนจีนโบราณ... ไพโรจน์ บุญผูก
เส้นแสดงฤดูกาล ในงานจิตรกรรมไทย... วิไลรัตน์ ยังรอด

Season Imagery in Thai Mural Paintings... Wilairat Yongrot

เขตวิสุงคามสีมา และอุโบสถ วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร

ศิลปะ สถาปัตยกรรม วัดหงส์รัตนาราม ราชวรวิหาร... ปาริสุทธิ์ สาริกะวณิช

Art and Architecture of Wat Hong Rattanaram... Parisut Sarikawanich

บรรยากาศ หน้าศาลาเฉลิมกรุง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๖

ศิลปะสากล ในบางกอก... น. ณ ปากน้ำ

เมืองฮอยอัน กับการอนุรักษ์ และพัฒนา... พีรพน พิสณุพงศ์
การอนุรักษ์ จิตรกรรม และประติมากรรม ในสายตาของ นักวิชาการ... สันติ เล็กสุขุม
ใบเสมา สลักภาพ วิธุรชาดกใบเสมา สลักภาพวิธุรชาดก จากจังหวัดหนองคาย... อรุณศักดิ์ กิ่งมณี

A Boundary Marker of Vidhurapandita-Jataka from Nong Khai... Aroonsak Kingmanee
บรรณวิพากย์ "ฃ คิดเรื่อง ฅ"
รายงาน "เครื่องเคลือบดินเผา ลพบุรี ที่พบในจังหวัด ร้อยเอ็ด..."
ข้อมูลใหม่ "กลองมโหระทึก ที่เขาสะพายแร้ง จังหวัด กาญจนบุรี..."
ข้อคิดใหม่ "ปริศนา ปลาเห็ด"
ก่อนหน้าสุดท้าย "หอมดิน เคล้ากลิ่น ไอฝน"
ภาพปก
.....วัฒนธรรม และภูมิปัญญา ของมนุษย์ ล้วนมีปฐมเหตุ มาจาก สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็น สภาพภูมิศาสตร์ อากาศ น้ำ พืชพันธุ์ ตัวอย่างเช่น ชุมชนใดก็ตาม ที่มีการตั้งถิ่นฐาน ตามลุ่มน้ำ ลำคลอง ย่อมมีการดำรงชีวิต ที่สัมพันธ์กับ ภาวะ แวดล้อม มีการประดิษฐ์ เครื่องมือจับสัตว์น้ำ นานาชนิด ตลอดจน จับปลามากิน เป็นอาหาร และแปรรูปออกมาเป็น ผลิตภัณฑ์ของ ท้องถิ่น เป็นต้น
.....เช่นเดียวกันกับชุมชนหนึ่ง ซึ่งมีวิถีชีวิต ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว ก็คือ ชาวหมู่บ้านเขายี่สาร อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม เนื่องด้วยสภาพแวดล้อม ของหมู่บ้าน ตั้งอยู่บริเวณ ปลายแผ่นดิน ตรงชายขอบขวา ของอ่าวไทย อันอุดมสมบูรณ์ไปด้วย พืชพันธุ์ นานาชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม้โกงกาง นั้นถือเป็น พืชเศรษฐกิจ ของชุมชน เพราะเป็นไม้ ที่มีคุณสมบัติ เหมาะสม ในการ ทำถ่าน ให้ไฟนาน สม่ำเสมอ ไม่แตกปะทุ ที่สำคัญคือ สามารถสร้างรสชาติ ที่ดี แก่อาหารประเภท ปิ้ง-ย่าง-ผัด อันเป็นที่ต้องการ ในท้องตลาด
.....กว่า ๖๐ ปีแล้ว ที่ชาวยี่สาร กลุ่มหนึ่ง ได้มีอาชีพ เผาถ่าน โดย ผลิตเป็น อุตสาหกรรมของท้องถิ่น และยังดำรงสืบมา จนถึง ปัจจุบัน
.....พุทธศักราช ๒๔๗๕ เป็นจุดเริ่มต้น ของการเผาถ่าน ณ ชุมชน แห่งนี้ เมื่อช่างจีน จากอำเภอ กันตัง จังหวัดตรัง ลงมือสร้าง เตาเผาถ่านรุ่นแรก ของบ้านยี่สารเสร็จสิ้นลง พัฒนาการของ ชุมชน คนเผาถ่านที่ยี่สาร ก็ได้เริ่มขึ้น ซึ่งในขั้นแรก ยังคงเป็นการ รับเอา เทคนิคการผลิต มาจากชาวจีนทางใต้ แต่ต่อมา นอกจากการ ตัด-เผา-ขาย ที่ทำกันมาแต่เดิม ยังได้เพิ่ม กระบวนการผลิต ขึ้นมา อีกขั้นตอนหนึ่ง คือการ ปลูกต้นโกงกาง หมุนเวียน เพื่อทดแทน ส่วนที่ได้ตัดไป โดยมีหลักอยู่ว่า ตัดไปเท่าใด ต้องปลูก ให้เกิน จำนวนที่ตัด แนวคิดนี้ นับว่า ทันสมัยมาก เพราะเป็นแนวคิด เศรษฐกิจแบบยั่งยืน และพอเพียง (Sustainable) ที่มิได้มุ่งเน้น การกอบโกย ทรัพยากร ธรรมชาติ แต่เพียงอย่างเดียว
.....ขั้นตอน การเผาถ่าน ของบ้านยี่สาร จะละเอียดซับซ้อน เริ่มต้นด้วย การคัดไม้ ขนาดพอเหมาะ ที่มีอายุ ระหว่าง ๘-๑๕ ปี เส้นรอบวงประมาณ ๔-๘ เซนติเมตร นำมา ทุบเปลือกออก และตัดให้ได้ขนาดของ ไม้หลา ที่พอดี นำไม้ดิบ มาเรียงในเตาเผา อย่างเป็นระเบียบ จากนั้นจึง อบ ด้วยอุณหภูมิ ที่เหมาะสม คือ ๔๐๐-๖๐๐ องศาเซลเซียส จนกลายเป็น ถ่านที่สุกได้ที่ ตลอดทั้งท่อน ต่อมา จึงลำเลียงไม้ ออกมาทุบในส่วนที่ เผาไม่ทั่วถึงออก คัดเลือกขนาด และบรรทุกลงเรือต่อลำใหญ่ มุ่งหน้าเข้าสู่ย่าน ราชวงศ์-ทรงวาด ในกรุงเทพฯ เพื่อส่งยี่ปั๊วต่อไป
.....ในการผลิต ถ่านไม้โกงกาง จะมีความเชื่อแฝงอยู่ อาทิ มีการตั้งหิ้งบูชา "ไซ่ฮู่" ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในโรงถ่าน รวมทั้งมีการ ห้ามพูดว่า ร้อน หรือ ไฟไหม้ ขณะที่อยู่ใน โรงถ่าน เป็นต้น
บรรดาญาติพี่น้อง ช่วยกันแต่งตัวให้พ่อนาคมอญ เมืองสาครบุรี"... เมืองสาครบุรี ก็คือ เมืองท่าจีน นั่นเอง เป็นเมืองที่ คนจีน เข้ามาตั้งถิ่นฐาน ในย่าน ป่าชายเลน และ ทะเลตม ตั้งแต่ ก่อนรัชกาลสมเด็จ พระพุทธเจ้าเสือ ยังมีคำเรียก เป็นภาษาจีน มาจนกระทั่งทุกวันนี้ว่า หลั่งเกียฉู..."
รถไฟสายแม่กลอง-บ้านแหลม"...ในยุคที่ รถไฟ สายแม่กลอง - บ้านแหลม ยังรุ่งเรือง อยู่นั้น มีรถไฟ เที่ยวแรก ตั้งแต่ตีสี่ และเที่ยวสุดท้าย ถึงห้าทุ่ม มีความถี่ของ การเดินรถมาก จนต้อง ทำรางสับหลีก ตาม สถานี สำคัญ รวมทั้งที่ สถานีบางโทรัด ด้วย..."

หม้อดินเผาขนาดเล็กบรรจุปูนขาว ที่บ้านยี่สาร"...เขายี่สาร อาจจะคือ เกาะไม้ไผ่ (Bamboo Island) ที่เป็นจุดสังเกต บริเวณ ปากน้ำ เพชรบุรี ของนักเดินทาง ในบันทึกจอง เจิ้งโห หรือ หม่าฮวน ผู้นำกองเรือ สำรวจทางทะเล ถึง ๗ ครั้ง..."


เทียนนับร้อยแท่ง สว่างไสวทั่วโรงเจท่าฉลอม"...กล่าวได้ว่า งานกินเจ ที่บริสุทธิ์ สงบ เต็มไปด้วย บรรยากาศ แห่งพิธี กรรม การบูชา เพื่อ ชำระ จิตใจ และ ร่างกาย อีกทั้งเป็นไป อย่างพร้อมเพรียง ของชุมชน มีผู้คนร่วมงาน อย่างมหึมา น่าตกใจนั้น อยู่ที่ท่าฉลอม สมุทรสาคร..."
ภาพแสดงวิถีวงโคจร ในสมุดภาพ ไตรภูมิ ฉบับกรุงธนบุรี"...เส้นโค้งสามเส้น ที่ทอดยาวออกมา ทั้งด้านซ้าย และด้านขวา ของเขา สัตตบริภัณฑ์ คงเป็น ความ พยายาม ในการ ถ่ายทอด แนววิธีวงโคจร ของ พระอาทิตย์ ซึ่งเป็นปัจจัย ให้ เกิดฤดูกาล ตามที่พรรณนา ไว้ ในคัมภีร์ โลกศาสตร์ นั่นเอง..."

ทะเลตม

MB-Journal@ViriyahBooks.com

สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ ]

ขึ้นข้างบน (Back to Top) วารสาร เมืองโบราณ (Muang Boran Journal) หน้าที่แล้ว (Previous Page) หน้าถัดไป (Next Page)