ว า ร ส า ร เ มื อ ง โ บ ร า ณ
Muang Boran Journal

หน้าปกวารสารเมืองโบราณ ปีที่ ๒๖ ฉบับที่ ๒ เดือนเมษายน-มิถุนายน ๒๕๔๓ ISSN 0125-426X
ปีที่ ๒๖ ฉบับ ๒ เมษายน-มิถุนายน ๒๕๔๓
Vol. 26 No. 2 April-June 2000

วารสารวิชาการรายสามเดือน เพื่อการอนุรักษ์มรดกไทย
ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปะ และวัฒนธรรม

ส า ร บั ญ

เมืองพัทลุง... ศรีศักร วัลลิโภดม
The Town of Phatalung ...Srisakra Vallibhotama

ชุมชนโบราณโมคลาน บันทึกหน้าต้นของประวัติศาสตร์ นครศรีธรรมราช... ปรีชา นุ่นสุข

The Ancient Community at Mok Khalan ... Precha Noonsuk

เงินตราที่พบในนครศรีธรรมราช... ชวลิต อังวิทยาธร 

Ancient Coin in Nakhon Si Thammarat ... Chavalit Ungwittayatorn

กรงเอี้ยนเกาะงาม : การผูกขาดสัมปทาน รังนกของจีน... รัชดาพร ศรีภิบาล

A Swiftlet's Nest from the Ngam Island... Rachadaporn Sripibarn

บันทึกทะเลน้อย... นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว
เรื่องเก่าๆ ไม่เล่ามันลืม... ล้อม เพ็งแก้ว
สถานีรถไฟอุตรดิตถ์ : สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ยุคแรกของสยาม... สมชาติ จึงสิริอารักษ์ 
The Railway Station of Uttaradit... Somchart Chungsiriarak
ห้องสินที่เขายี่สาร... ศรัณย์ ทองปาน

The Paintings of  Temple Guardians at Wat Yi San...  Sran Tongpan

เพลงสรง สถาปัตยกรรมเฉพาะกิจ ในพระราชพิธีลงสรง สมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฏราชกุมาร...  ปาริสุทธิ์ สาริกะวณิช
เครื่องจักสานชนเผ่าลาวใต้ ... สมปอง เพ็งจันทร์ 
The Basketwares of Southern Laos...  Sompong Pengchan
การอนุรักษ์ของเก่า กับการพัฒนาที่ยั่งยืน กรณีหอไตรวัดตะกาดเง้า จังหวัดจันทบุรี ี... แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย
แยกฝ้าย เก็บไหม มัดหมี่ ...สุกัญญา เบาเนิด
รายงาน
ข้อมูลใหม่ 
ข้อคิดใหม่ 
ก่อนหน้าสุดท้าย

เงินตราที่พบในนครศรีธรรมราช 

ชวลิต อังวิทยาธร
คลิกดูภาพใหญ่ตามพรลิงค์หรือนครศรีธรรมราชในอดีต เริ่มพัฒนาบ้านเมืองจากการสัมพันธ์กับต่างชาติ ในด้านเศรษฐกิจ ศาสนา และวัฒนธรรมเป็นลำดับมา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เราสามารถทราบความสำคัญในอดีตของเมืองนี้ได้ จากหลักฐานต่างๆ มากมาย เช่น เอกสารหนังสือทั้งของไทยและของต่างชาติ หลักศิลาจารึก โบราณสถาน โบราณวัตถุ ประเพณีและวัฒนธรรมต่างๆ เป็นต้น ในจำนวนนี้ เงินตราก็เป็นโบราณวัตถุอย่างหนึ่ง ที่เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ สามารถนำมาศึกษาและอ้างอิงได้เป็นอย่างดี
.......เงินตราที่พบในนครศรีธรรมราชนั้น มีทั้งของต่างถิ่นหรือต่างประเทศ เงินตราของเมืองหลวง และเงินตราในท้องถิ่นเอง เงินตราเหล่านี้เป็นหลักฐาน ที่สะท้อนให้เห็นถึงประวัติเศรษฐกิจ การตั้งถิ่นฐาน การเมือง และวัฒนธรรมของนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะในเรื่องที่สัมพันธ์กับชาวต่างชาติ เช่นเหรียญกงสีของชุมชนชาวจีนอพยพ 
คลิกดูภาพใหญ่พื้นที่ชาวจีนเข้ามาตั้งหลักแหล่ง กันจนเป็นชุมชนในนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะในตัวเมืองนั้น มีอยู่สองแห่ง คือชุมชนวัดสพ (วัดโพสพ) และชุมชนท่าวัง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ในระยะแรกๆ ชุมชนชาวจีนนี้ คงจะนำเหรียญอีแปะทองแดง อย่างที่ใช้ในจีนมาใช้ เมื่อเหรียญอีแปะทองแดง ที่นำมาจากจีนมีน้อยลง ชาวจีนก็คิดสร้างเหรียญขึ้นใช้กันเองบ้าง โดยนำโลหะที่หาได้ในท้องถิ่น และเป็นโลหะที่คนท้องถิ่นใช ้เป็นสื่อกลางของการแลกเปลี่ยนกันอยู่แล้ว คือ ดีบุก-ตะกั่ว มาทำเป็นเหรียญ
.......เหรียญกงสีนี้เป็นเหรียญรุ่นหลัง ที่วิวัฒนาการมาจากเหรียญอีแปะ มีขนาดใหญ่ ทำด้วยโลหะดีบุก-ตะกั่ว กลางเหรียญมีรูกลมบ้าง รูสี่เหลี่ยมบ้าง บนเหรียญส่วนใหญ่มีอักษรจีน ระบุสถานที่ใช้หรือที่ผลิต และอีกด้านหนึ่งจะเป็นชื่อกงสีที่ผลิต
คลิกดูภาพใหญ่เหรียญกงสีทั้งหมดนั้น น่าจะเริ่มมีใช้กันตั้งแต่สมัยปลายรัชกาลที่ ๓ เป็นต้นมาจนถึงรัชกาลที่ ๕ ซึ่งเป็นสมัยที่ไทยเริ่มเปิดประเทศ และมีชาวจีนเป็นผู้รับเหมาเก็บภาษี กิจการใหญ่ๆ ที่มีลูกจ้างมาก เช่น เหมืองแร่ โรงสี โรงเลื่อย เป็นต้น ซึ่งกิจการเหล่านี้ ต้องใช้เงินจ่ายค่าแรงงาน ให้แก่คนงาน และซื้อขายสินค้ากับคนท้องถิ่นรายย่อย ต้องใช้เงินหมุนเวียนมาก ในขณะเดียวกัน เงินหลวงมีไม่พอกับความต้องการใช้ 
.......มาในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งเป็นยุคที่ทางการวางแผน ปรับเปลี่ยนระบบการปกครอง เศรษฐกิจการเมืองให้ทันสมัย ในเรื่องของการคลัง ทางการได้ตราพระราชบัญญัติมาตราทองคำ ร.ศ.๑๒๗ เมื่อ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๔๕๑ ทำให้ไทยเข้าสู่ระบบการใช้ทองคำ เป็นทุนสำรอง และกำหนดอัตราเงินบาทเทียบเท่าทองคำ และเงินนอกระบบไม่ว่าจะเป็นเงินท้องถิ่น หรือเงินต่างประเทศ จึงถูกห้ามใช้ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
คลิกดูภาพใหญ่ คลิกดูภาพใหญ่
Ancient Coins
in Nakhon Si Thammarat 

Chavalit Ungwittayatorn

BiggerFound in different areas of Nakhon Si Thammarat Province, various ancient coins can be categorized as follows: 

   
- Imported Foreign Coins 
The oldest ones are coins of the Funan and the Sassanian Kingdoms (6th century). Next, they are coins from Sri Lanka, which dated back to the 13 century. Among coins from the west, Spanish coins, dated back to the 17th century, were the oldest. Chinese coins are also found but almost all of them were from the 17th-18th centuries. 
Bigger- Domestic Coins 
Domestic coins are of several kinds. The Potduang initially derived from the city of Ayutthya when Nakhon Si Thammarat was a tributary town of the Kingdom. It was, however, subsequently produced by the native. Other locally made coins include the Namo, the flat silver coins, the ingot and the ball-shaped coins. 
   
- Locally-produced Chinese Coins 
The first group consists of coins produced in imitation of those brought from China. Next, they are local Chinese coins that bear no connection to the coins used in China. Existing in different shapes and sizes, these coins are of wide variety, among which the Gongsi (company) coins constitute the best known type. 
BiggerMade of tin and lead, the Gongsi coins were produced by Chinese companies in different areas of Nakhon Si Thammarat during the reigns of King Rama III to King Rama V (1824-1910). Because coins of the Central Government in Bangkok were in short supply, businesses that required a large amount of money to circulate (such as tax farming, mining, logging and rice mills) were compelled to make their own coins. These coins were acceptable to local people because they were made of metals, such as tin and lead, whose values tend to remain steady. After 1908, when the Central Government began to standardize the country's economic administration, locally made coins were outlawed and subsequently disappeared. 
BiggerAll in all, the coins found in Nakhon Si Thammarat are indicative of the town's economic prosperity throughout its long history. At the same time, they also shed light on activities and relations that the town's dwellers had with those from outside, both foreigners and Thais.