ว า ร ส า ร เ มื อ ง โ บ ร า ณ
Muang Boran Journal

˹éÒ»¡ÇÒÃÊÒÃàÁ×ͧâºÃÒ³ »Õ·Õè òö ©ºÑº·Õè ó à´×͹¡Ã¡®Ò¤Á-¡Ñ¹ÂÒ¹ òõôó ISSN 0125-426X
ปีที่ ๒๖ ฉบับ ๒ เมษายน-มิถุนายน ๒๕๔๓
Vol. 26 No. 2 April-June 2000

วารสารวิชาการรายสามเดือน เพื่อการอนุรักษ์มรดกไทย
ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปะ และวัฒนธรรม

ส า ร บั ญ
การตั้งถิ่นฐานชุมชน และโบราณสถาน เมืองกำแพงเพชร : ข้อเสนอใหม่... ไกรสิน อุ่นใจจินต์
A Settlement at the Ancient City of Kamphaeng Phet : In Revision...Kraisin Unchaichin

บันทึกน้ำแม่ปิง  แมคกิลวารี- ฮอลเล็ท- เลอ เมย์- พระราชชายาเจ้าดารารัศมี- กรมพระยาดำรงราชานุภาพ... ม.ล.สุรสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์

The Chronicle of the Ping River ... M.L. Surasavasiti Suksavasti

หลักหินโบราณ ในวัฒนธรรมเขมร... สมเดช ลีลามโนธรรม

Ancient Khmer Maker Stones in the Northeast ... somdet Leelamanotham

กำเนิดตามพรลิงค์ ... นงคราญ ศรีชาย

The Place of Origin of Tambralinga... Nongkhran  Srichai

ยี่สาร : ชุมชนที่ถูกลืม... ปราณี กล่ำส้ม

Yisan : A Forgotten Community... Pranee Glumsom

เมืองศัมพูกปัฏฏนะอยู่ที่ไหน ?... มนัส โอภากุล
ร่องรอยทางประวัติศาสตร์ ของมอญ ในนครศรีธรรมราช... ชวลิต อังวิทยาธร
พุทธศาสนาในจีน... ทองแถม นาถจำนง
สิมวัดบ้านประตูชัย...  ลักขณา จินดาวงษ์
พิพิธภัณฑ์ไทยพวน... วิชญดา ทองแดง
พระพุทธรูปดุนนูน บนแผ่นทองจังโก ประดับองค์ระฆัง พระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน... ศักดิ์ชัย สายสิงห์

The Repousse Buddha Images of the Phra That Haripunchai...  Sakchai Saisingha

พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์... เด่นดาว ศิลปานนท์
ตำนานรักแห่งดวงดาว และสายรุ้ง พระลอ- โอ้เป่มสามลอ- ขูลูนางอั้ว...ไพฑูรย์ ดอกบัวแก้ว

Traces of Phra Lor in Ancient Legends...  Paitoon Dokbuakaew

บรรณวิพากษ์
ข้อมูลใหม่
รายงาน
ก่อนหน้าสุดท้าย
บันทึกน้ำแม่ปิง :
แมคกิลวารี -ฮอลเล็ท -เลอ เมย์ -พระราชชายา เจ้าดารารัศมี -กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ม.ล.สุรสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์ *
*มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สภาพลำน้ำแม่ปิง
น้ำแม่ปิงเป็นแม่น้ำสายสำคัญต่อดินแดนล้านนา ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านวัฒนธรรมตลอดมา
คนเหนือเรียกน้ำสายนี้ว่า "น้ำแม่ปิง" หรือ "น้ำปิง" หรือ "แม่ปิง" ไม่เคยเลยที่จะเรียกว่า "แม่น้ำปิง" เพราะคนเหนือใช้คำว่า "น้ำแม่" แต่ไม่เคยใช้คำว่า "แม่น้ำ"
เพียงแค่นี้ เราย่อมทราบแล้วว่า การทำความรู้จักแม่น้ำสายหนึ่ง จำเป็นที่จะต้องศึกษาและเข้าใจความเป็นมาในอดีต และสนใจรู้จักเรื่องราวของท้องถิ่น และคนในท้องถิ่นให้ดี
คลิกดูภาพใหญ่ชาวล้านนาซึ่งเรียกตนเองว่าคนเมือง ล้วนมีความสัมพันธ์ และความเคารพนับถือน้ำว่า มีฐานะเป็นแม่ เป็นผู้ให้กำเนิดและหล่อเลี้ยงชีวิต
     การตั้งถิ่นฐานของคนเมือง จึงใกล้ชิดกับน้ำแม่สายต่างๆ เป็นส่วนใหญ่ ดังเห็นได้ว่าชื่ออำเภอ และตำบลต่างๆ ที่เริ่มด้วยคำว่า แม่ จึงสะท้อนให้เห็นชื่อของแม่น้ำสายต่างๆ ที่คนเมืองได้อาศัยพึ่งพิง ไม่ว่าจะเป็น แม่ริม แม่แตง แม่แจ่ม แม่ทา แม่วาง แม่จัน แม่ลาว แม่ใจ แม่วัง แม่อาย แม่สะเรียง แม่จริม แม่สาย ฯลฯ
     เนื่องจากพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของไทย ประกอบด้วยภูเขาเป็นส่วนใหญ่ บริเวณนี้จึงเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญ เมื่อฝนตก น้ำฝนไหลลงจากลาดเขา เป็นลำธารสายเล็กสายน้อย ไปสู่ก้นหุบเขา รวมเป็นลำน้ำสายใหญ่ ไหลออกจากหุบเขา
สำหรับต้นน้ำแม่ปิง มีต้นน้ำอยู่ที่ดอยถ้วย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน เรียงรายกันแทบจะเต็มพื้นที่อำเภอ น้ำแม่ปิงจะไหลผ่านเขตอำเภอเชียงดาว แม่แตง แม่ริม เมืองเชียงใหม่ สารภี หางดง สันป่าตอง เมืองลำพูน ป่าซาง บ้านโฮ่ง จอมทอง ฮอด เข้าเขตจังหวัดตาก ไหลรวมกับน้ำแม่วังที่บ้านปากวัง อำเภอบ้านตาก และไหลต่อลงไปทางใต้
คลิกดูภาพใหญ่     ขณะเดียวกัน น้ำแม่ปิงเองก็ประกอบด้วย ลำน้ำจำนวนมากมาย ที่ไหลออกจากหุบเขาลงสู่น้ำแม่ปิง ที่สำคัญได้แก่
     น้ำแม่แตง ซึ่งมีต้นน้ำอยู่ทางตะวันตกของดอยถ้วย คือดอยหนองแล้ง เขตอำเภอเชียงดาว และไหลรวมกับน้ำแม่ปิงที่ตำบลสันมหาพน อำเภอแม่แตง
     น้ำแม่กวง ซึ่งมีต้นน้ำอยู่ที่ดอยผีปันน้ำและดอยมด น้ำแม่กวงไหลไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ออกจากหุบเขาสู่ที่ราบเชียงใหม่-ลำพูน และไหลรวมกับน้ำแม่ปิงที่บ้านสบกวง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ลำน้ำสาขาสำคัญของน้ำแม่กวงได้แก่น้ำแม่ทา ต้นน้ำอยู่บริเวณเทือกเขาผีปันน้ำตะวันตก เขตตำบลออนเหนือ และตำบลทาเหนือ อำเภอสันกำแพง ไหลสู่น้ำแม่กวงที่บ้านสบทา อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
     น้ำแม่ลี้ ต้นน้ำอยู่ในเขตดอยเทิม อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน บริเวณเขตอำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง และอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นเทือกเขาขุนตาลและดอยผาเมือง แม่น้ำลี้ไหลจากอำเภอทุ่งหัวช้าง อำเภอลี้ อำเภอบ้านโฮ่ง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน และไหลลงแม่น้ำปิงที่บ้านสบลี้ อำเภอป่าซาง เป็นลำน้ำที่ไหลวกกลับ จากทิศใต้ขึ้นทิศเหนือเป็นรูปเกือกม้า หุบเขาลี้ตอนต้นน้ำเป็นหุบเขาแคบ ไม่มีที่ราบก้นหุบเขา มีที่ราบขนาดเล็กบริเวณที่ตั้งตัวอำเภอลี้ และที่ราบกว้างขึ้นบริเวณที่ตั้งอำเภอบ้านโฮ่ง จนถึงแม่น้ำปิง
     น้ำแม่แจ่ม มีต้นน้ำอยู่ที่ดอยกิ่วป่าก้าง ตำบลบ้านจันทร์ ไหลลงมาทางใต้ รับน้ำจากแม่น้ำลำธาร ที่ไหลลงมาจากลาดเขาทางด้านตะวันออก ของเทือกเขาถนนธงชัยกลาง และลาดเขาทางตะวันตก ของเทือกเขาถนนธงชัยตะวันออก ผ่านอำเภอแม่แจ่มถึงสบแม่กะ แล้วไหลไปทางทิศตะวันออก ลงสู่น้ำแม่ปิงที่บริเวณสบแจ่ม อำเภอฮอด

Click hereอ่านต่อคลิกที่นี่

The Chronicle of the Ping River
M.L. Surasavasti Suksavasti
BiggerLanna people have always had a strong attachment to waterways and rivers. They respect them as the mother Goddess who gives birth and supports their lives. The settlement of Lanna people was mostly found by the rivers. Names given to many districts and sub-districts begin with the word "Mae" (mother) followed by names of the rivers that people in these districts and sub-districts are attached to.
      The source of the Ping River is in the mountain chains in Chiang Dao district of Chiang Mai province. The river flows through many districts of Chiang Mai and Lamphun provinces before joining the Wang river in Tak province and flowing together down to the south.
BiggerBefore the construction of the northern railway in early of the 20th century, the Ping River was the most important means of transportation and trade route from Chiang Mai to Bangkok.
      There were many records written by foreigners referring to journeys along the Ping River In the second half of the 19th century, for example, journeys in 1863 and 1866 by Daniel Mcgilvary, a missionary who had a very important role in Lanna Kingdom; and a journey of Holt S. Hallet in 1876 in his survey to build a railway from the southern region of China and Burma to the Lanna Kingdom.
      Although the construction of the northern railway from Bangkok to Chiang Mai was consequently completed in 1921, the transportation in the Ping River was still used. Prince Damrong recorded his journey on the Ping River from February - March 1921 in his book entitled An Explanation of a Passage along the Ping River from Chiang Mai to Pak Man Po.
BiggerIt has to be noted that many names of sub-districts that Prince Damrong referred to in his account on this voyage are not able to be identified and specifically located. This is because the geographical setting of the Ping River at present has changed a lot from the past. After a construction of Yanhee Dam early in the 1960's, the Ping River and archaeological sites, as well as communities along the river, were destroyed and lost.
      What should be done for the Ping River is to do a thorough study of the whole river in terms of geography, history, archaeology, anthropology and local and traditional beliefs in order to learn the changing conditions, the loss, the existence and the rebirth of new communities and new transportation routes. In addition to this, names of waterways, sub-districts, districts should be examined, revised and corrected according to the true history and local legends of the places. The study of the changes of the geographical conditions of the Ping River will be useful for the further conservation project of the source of the river and the river itself.