ว า ร ส า ร เ มื อ ง โ บ ร า ณ
Muang Boran Journal

วารสาร เมืองโบราณ เดือน ตุลาคม - ธันวาคม ๒๕๔๓ ฉบับที่ ๔ ปีที่ ๒๖ ISSN 0125-426X
ปีที่ ๒๖ ฉบับ ๔ ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๔๓
Vol. 26 No. 4 October-December 2000

วารสารวิชาการรายสามเดือน เพื่อการอนุรักษ์มรดกไทย
ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปะ และวัฒนธรรม

ส า ร บั ญ
บทบรรณาธิการ : อยุธยาอาภัพลับไป... ศรีศักร วัลลิโภดม
The Hidden Beauty of Ayutthaya...Srisakra Vallibhotama

อยุธยาไพโรจน์ใต้ ตรีบูร... ศรีศักร วัลลิโภดม

The Glory that was Ayutthaya ... Srisakra Vallibhotama

ตำนานการเคลื่อนย้าย ของคนกลุ่มใหม่ที่มากับเรือสำเภา กับการสร้างบ้านแปงเมืองในสมัยอยุธยา.. วลัยลักษณ์ ทรงศิริ

The Migrations of the Junk people... Walailak Songsiri

พ่อค้าและทหารรับจ้างโปรตุเกส ในสมัยอยุธยา ... สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
ตุ๊กตาดินเผา... วิไลรัตน์ ยังรอด
ด่านขนอน... ศรัณย์ ทองปาน
เจดีย์ประธานวัดบางกะจะ เจดีย์ทรงระฆังแบบล้านนาในอยุธยา... ประภัสสร์ ชูวิเชียร

The Principal Chedi of Wat Bang Kacha: Architecture of Lanna in Ayutthaya... Phrapat Chuwichian

มหาเจดีย์แห่งทุ่งภูเขาทอง... ปริเชต ศุขปราการ

"The Golden Mountain" of Ayutthaya... Parichead Sukprakan

เจดีย์วัดแค: ความสัมพันธ์อยุธยา-ล้านนา... รุ่งโรจน์ ภิรมย์นุกูล

The Chedi of Wat Khae: Relations between the Kingdoms of Ayutthaya and Lanna... Rungrot Phiromnukul

บันทึกเหตุการณ์ ในสมัยพระเจ้าปราสาททอง: หลักฐานทางประวัติศาสตร์ และวรรณคดี... นิตยา แก้วคัลณา
คนชายขอบของ "พื้นที่ประวัติศาสตร์" เกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา... ขจรจบ กุสุมาวลี์
ใบเสมาสลักภาพมหาภิเนษกรมณ์ ที่วัดโนนศิลาอาสน์วราราม... อรุณศักดิ์ กิ่งมณี

A New Boundary Maker with "The Great Depature" Scene from Udon Thani...  Arunsak Kingmanee

บั้งตะไล ความเชื่อความศรัทธา ของชาวบ้านหนองบัว...ลักขณา จินดาวงษ์
วิเคราะห์วัน เดือน ปี ในจารึกฐานพระพุทธรูป จากวัดหัวเวียง ไชยา... ล้อม เพ็งแก้ว
รายงาน
ก่อนหน้าสุดท้าย
Bigger
อยุธยาอาภัพลับไป
ศรีศักร วัลลิโภดม
คลิกดูภาพใหญ่     ท่ามกลางกระแสการท่องเที่ยวแบบล้างผลาญของสังคมทุนนิยม และบริโภคนิยมในปัจจุบัน คนไทยโดยทั่วไป มักรู้จักเมืองประวัติศาสตร์ และแหล่งโบราณคดีของประเทศ ในนามของ "มรดกโลก" อีกทั้งยังมีความพยายามของหน่วยราชการ และประชาชนอีกเป็นจำนวนมาก ที่ต้องการผลักดันให้แหล่งโบราณคดี และประวัติศาสตร์ในพื้นที่ของตน เป็นมรดกโลกกับเขาบ้าง ทั้งนี้ก็เพราะคิดว่าการเป็นมรดกโลก จะทำให้มีการปรับปรุงพัฒนา ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้น เพื่อจะได้มีนักท่องเที่ยวเข้ามาชม จะทำให้มีรายได้ทางเศรษฐกิจดีขึ้น
     อย่าเพิ่งเอาถึงขั้นเป็นมรดกโลกเลย เพียงแค่การเป็นเมืองประวัติศาสตร์ก็แย่แล้ว
     เห็นได้จากการดำเนินงานที่สุโขทัย และอยุธยาเป็นตัวอย่าง ความเป็นเมืองประวัติศาสตร์ จำกัดอยู่เพียงแค่วัดโน้นวังนี้เท่านั้น พอดำเนินการบูรณะขุดแต่งแล้ว ก็ล้อมรั้วกั้นคอกเพื่อเก็บค่าผ่านประตู อีกทั้งมีการกำหนดฤดูกาล ที่จะเอาโบราณสถาน แห่งใดแห่งหนึ่งในเขตอุทยาน เป็นเวทีแสดงแสงเสียง และเดินแฟชั่น แล้วสร้างนิยายประวัติศาสตร์แบบสั่วๆ มอมเมาตัวเองขึ้นมาให้คนชม
คลิกดูภาพใหญ่     ทุกวันนี้ถ้าไปที่สุโขทัยและอยุธยาแล้ว จะมองไม่เห็นภาพพจน์ ของการเป็นเมืองประวัติศาสตร์แต่อย่างใด เพราะการเป็น "เมือง" นั้นหาได้จำกัดอยู่เพียงแต่วัดและวังเท่านั้น หากยังประกอบด้วย ลักษณะทางกายภาพอีกหลายๆ ด้าน ไม่ว่าแหล่งที่อยู่อาศัย ของผู้คนในย่านต่างๆ ตลาด ถนนหนทาง กำแพงเมือง คูเมือง เส้นทางคมนาคมที่เป็นแม่น้ำลำคลอง ถนนหนทาง และอื่นๆ อีกมากมาย
     ลักษณะทางกายภาพด้านต่างๆ เหล่านี้แทบจะไม่ได้รับการเอาใจใส่ ดูแลแต่อย่างใด มิหนำซ้ำ ยังปล่อยให้มีการบุกรุกและทำลาย จนปัจจุบันจินตนาการไม่ได้ว่า ความเป็นเมืองนั้นเป็นอย่างใด
     ยิ่งการมองอยุธยาเป็นมรดกโลกแต่เพียงจากสิ่งที่เรียกว่า "อุทยานประวัติศาสตร์" แล้ว ยิ่งดูเข้าป่าเข้าดงไปใหญ่ เพราะเพียงแต่ซากวัดซากวัง ลวดลายและรูปแบบทางศิลปกรรมนั้น ไม่พอที่จะทำให้เห็นความสำคัญในระดับโลกได้ และยิ่งดูห่างไกลมากขึ้นทุกที เพราะการดำเนินการใดๆ ในด้านกายภาพ ที่เกี่ยวกับอยุธยา และสภาพแวดล้อมในปัจจุบัน ล้วนแล้วแต่จะทำให้ความหมายความสำคัญ ของอยุธยาหายไปจากโลกนี้โดยสิ้นเชิง
     อะไรคือความเป็น "เวนิสตะวันออก" ตามสมญาที่ชาวตะวันตกกล่าวไว้ ตั้งแต่ครั้งอยุธยายังมีตัวตนอยู่ และเราเห็นอะไร ที่สะท้อนภาพนั้นได้ในปัจจุบันบ้าง ?
     การเป็นเวนิสตะวันออก คือการที่เป็นเมืองบนแม่น้ำลำคลอง ปัจจุบันเหลืออะไรที่เป็นแม่น้ำลำคลอง ซึ่งอาจนำไปเชื่อมโยงกับลักษณะทางกายภาพด้านต่างๆ ที่ทำให้แลเห็นความเป็นเมืองดังกล่าวได้บ้าง
คลิกดูภาพใหญ่     เส้นทางคมนาคมที่เปลี่ยนจากแม่น้ำลำคลอง มาเป็นถนนใหญ่น้อยทั้งหลาย ได้ไชชอนให้เส้นทางน้ำแต่ก่อนตื้นตันหมดไป ร่องรอยของชุมชนที่สัมพันธ์กับแม่น้ำลำคลองเหล่านั้น ก็หมดไปเช่นเดียวกัน
     บรรดาท้องทุ่งทั้งหลาย ที่รอบล้อมอยุธยาก็พลอยยับเยินไปด้วย เพราะรัฐไม่เข้าใจ ปล่อยให้ผู้แทนราษฎรที่ชั่วร้าย ที่เข้ามามีอำนาจในแผ่นดิน ปู้ยี่ปู้ยำให้เป็นพื้นที่ทางอุตสาหกรรม เกิดโรงงานอุตสาหกรรม และบ้านจัดสรรขึ้นเป็นดอกเห็ด
     ที่เลวร้ายก็คือ บรรดาโรงงานอุตสาหกรรมเหล่านั้น ได้ปล่อยสารเคมีของเสียที่เป็นมลภาวะทั้งหลาย ลงสู่ท้องทุ่ง เมื่อถึงฤดูน้ำที่น้ำท่วมทุ่ง ก็จะชะนำสารพิษ ทั้งหลายเหล่านั้นลงสู่ลำน้ำแม่น้ำ
     โดยเฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยาที่ไหลลงสู่กรุงเทพฯ และปากน้ำ ซึ่งตรงอำเภอเชียงรากในเขตจังหวัดปทุมธานีนั้น มีคลองประปาแยกออกจากแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อนำน้ำมาทำน้ำประปาเลี้ยงคนกรุงเทพฯ
     ผลที่ตามมา ก็คือคนกรุงเทพฯ ต่างล้วนอยู่ในสภาพตายผ่อนส่งโดยทั่วหน้ากัน

 

The Hidden Beauty of Ayutthaya
Srisakra Vallibhotama
BiggerIn the midst of the destructive tourism of the popular present-day capitalist and consumer society, Thai people are familiar with historic sites and ancient places that are "World Heritage" sites. And there is an effort by the bureaucracy and the people to make other places "World Heritage" sites because it is thought that this will bring more development to the sites which will bring more tourists which will generate more income.
      The process of establishing a world heritage site according to the Thai bureaucracy involves making a historical park, doing archaeological excavations, building a fence to control goods entering the area and turning the site into a stage for light and sound or fashion shows. Then they invent bad fables to mislead the visitors.
Bigger      Today, if you go to Sukhothai or Ayutthaya you will see nothing but temples and palaces. But actually it was a city that consisted of many other things such as markets, streets, paths, moats and canals. These things are almost never brought to our attention in any way.
      Focusing on the importance of temple and palace ruins, decoration and artistic works is good. But the true meaning of Ayutthaya is totally lost.
      The preservation of Ayutthaya should focus on the physical geography to show the development of the city into a royal capital as a product of environmental changes in geography and nature that caused political developments and to show that it was an important riverine society of humankind.
      The riverine society of Ayutthaya completely revolved around water. The island was subject to flooding in the rainy season and the economy was based on rice-growing.
Bigger      Today the appearance and environment has been changed forever. Streets and roads have damaged and choked the waterways. Traces of the riverine society have been wiped out. The rice fields surrounding Ayutthaya have also disappeared.
      This is because the government has allowed industrial development by unscrupulous people. Many factories have been built that release chemicals that enter the fields and the water, especially the Chao Phraya River that flows south to Bangkok which provides tap water for the people living there.
      As a result, the people of Bangkok live in a place where death comes in installments.