ว า ร ส า ร เ มื อ ง โ บ ร า ณ
Muang Boran Journal

ISSN 0125-426X
ปีที่ ๒๗ ฉบับ ๔ ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๔๔
Vol. 27 No. 3 July-September 2001

วารสารวิชาการรายสามเดือน เพื่อการอนุรักษ์มรดกไทย
ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปะ และวัฒนธรรม
วารสาร เมืองโบราณ เดือน ตุลาคม-ธันวาคม ๒๕๔๔ ฉบับที่ ๔ ปีที่ ๒๗

ส า ร บั ญ
กระทรวงวัฒนธรรม และการท่องเที่ยว

ชื่อที่ส่อถึงหายนะทางวัฒนธรรม

มหาภารตะในอารยธรรมเขมร และภาพสลักที่ระเบียงคด ปราสาทนครวัด...รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล

Mahabharata in Khmer Civilization and the Bas-reliefs in the Gallery of Angkor Wat...Rungroj Piromanukul

การออกแบบศาสนสถานสกุลช่างทวารวดี เขมร และชุมชนภาคใต้/ไชยา ในประเทศไทย... อนุวิทย์ เจริญศุภกุล
จารึกประวัติศาสตร์ ของพระเจ้าศรีสวัสดิ์ บนเขาพนมโฎนเปญ เมืองพนมเปญ และเขาพระราชทรัพย์ เมืองอุดงค์... ศานติ ภักดีคำ
The Historic Inscriptions of King Sisowath... Santi Pakdeekham

ปราสาทแม่บุญตะวันตก... วิไลรัตน์ ยังรอด

The West Mebon... Wilairat Yongrot

ใบเสมาสลักภาพพุทธประวัติ "อนิมิสเจดีย์" จากจังหวัดยโสธร... อรุณศักดิ์ กิ่งมณี

The Boundary Marker with Animisa Jetiya Scene from Yasothon... Arunsak Kingmanee

เหตุเกิดที่ปราสาทหิน... ศูนย์ข้อมูล เมืองโบราณ

ข้าวเก่าเสาไห้... ศูนย์ข้อมูล เมืองโบราณ
การอนุรักษ์ประติมากรรม เจดีย์สิงห์ล้อม วัดแม่นางปลื้ม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา... สุมาลี ศิริรัตน์

Singha-decorated Chedi at Wat Maenangpleum... Sumali Sirirat

มหาปราสาทนครวัด: ความมหัศจรรย์ของเรื่องเล่า นิทาน และตำนาน... วรณัย พงศาชลากร

จิตวิญญาณ และพิธีกรรมของลัวะบ้านกอกน้อย... ปาริสุทธิ์ สาริกะวณิช
ทวารบาลใหม่ ที่วัดบางขนุน... ศูนย์ข้อมูล เมืองโบราณ

กัมพูชา...ร็อค... วิชชุ เวชชาชีวะ

จากรวง ร่วงสู่ถัง... จุฑารัตน์ เหลืองสง่างาม
จุ้ม: อำนาจของอักขระ... สุดแดน วิสุทธิลักษณ์
พนัสบดีมีตัวตนอย่างไร... อุษา ง้วนเพียรภาค
ทำไมต้องไปดู โบราณสถานเขมร... เทพมนตรี ลิมปพยอม
 
มหาภารตะในอารยธรรมเขมร 
และภาพสลักที่ระเบียงคด ปราสาทนครวัด
รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล
คลิกดูภาพใหญ่     คัมภีร์มหาภารตะถือว่าเป็นมหากาพย์ที่สำคัญเล่มหนึ่ง ของประวัติวรรณคดีอินเดียและของโลก เนื้อหาหลายตอนในคัมภีร์ ได้ถูกนำมาถ่ายทอดเป็นภาพเล่าเรื่องในศิลปะเขมรโบราณ และศิลปะอินโดนีเซียโบราณ 
     เนื้อหาสำคัญในคัมภีร์มหาภารตะคือ เรื่องราวของพระภรตผู้เป็นปฐมวงศ์แห่งตระกูลเการพและปาณฑพ การผจญภัยในระหว่างถูกเนรเทศของยุธิษฐิรและพี่น้อง ฉากการต่อสู้ระหว่างตระกูลเการพและปาณฑพพร้อมทั้งพันธมิตรของแต่ละฝ่าย และนิทานแทรกเรื่องต่างๆ เช่น พระนลกับนางสาวิตรี เป็นต้น 
     เรื่องราวของมหาภารตะที่ปรากฏในเอเชียอาคเนย์ โดยเฉพาะในเขมรยุคโบราณนั้น คงจะเข้ามาพร้อมกับการแพร่ของอารยธรรมอินเดีย แต่เราก็ไม่สามารถระบุเวลาที่แน่ชัดลงไปได้ว่าเข้ามาในศตวรรษใด แต่อย่างน้อยที่สุดหลักฐานเกี่ยวกับศาสนาพราหมณ์ ที่พบจากแหล่งโบราณคดี และศิลาจารึกในปัจจุบันก็มีอายุไม่เกินไปกว่าพุทธศตวรรษที่ ๙
คลิกดูภาพใหญ่      ส่วนภาพสลักเล่าเรื่องในศิลปะเขมรโบราณที่เก่าที่สุด และมีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์เท่าที่พบในปัจจุบัน คือภาพสลักที่ปราสาทบันทายสรี แต่อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานอยู่หลายชิ้นที่เป็นร่องรอยแสดงว่า น่าจะเคยมีการทำภาพสลักเล่าเรื่องมหาภารตะที่เก่ากว่านี้
     ภาพสลักเล่าเรื่องมหาภารตะที่ปราสาทนครวัด ได้รับความสำคัญเทียบเท่ากับภาพสลักเล่าเรื่องรามายณะ เพราะได้จัดวางไว้บริเวณระเบียงคดทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นด้านหน้าของปราสาท แต่ทั้งสองเรื่องนี้ ช่างได้เลือกเฉพาะเหตุการณ์สำคัญมาสลัก
     โดยในเรื่องมหาภารตะ ได้ตัดตอนมาเฉพาะเหตุการณ์สงครามที่ทุ่งกุรุเกษตรเท่านั้น เรื่องราวการรบที่ทุ่งกุรุเกษตร ปรากฏครั้งแรกในศิลปะเขมรที่ปราสาทบาปวน สมัยบาปวน แต่เมื่อนำเรื่องราวของการรบที่ทุ่งกุรุเกษตรและเรื่องราวต่างๆ ที่นำมาจากมหาภารตะมาเปรียบเทียบกับเรื่องราวต่างๆ ที่มาจากมหารามายณะแล้ว พบว่าในศิลปะเขมร นิยมนำเรื่องราวจากมหารามายณะ มาสลักเป็นภาพเล่าเรื่องมากกว่ามหาภารตะ แต่ในทางตรงกันข้าม ตามจันทิต่างๆ ในศิลปะชวา (อินโดนีเซียโบราณ) กลับนิยมสลักภาพจากเรื่องมหาภารตะ ควบคู่กับภาพสลักเรื่องมหารามายณะ
     ทั้งนี้อาจเป็นไปได้ว่าเรื่องมหาภารตะที่นำมาสลักนั้น ช่างเขมรต้องการเน้นไปที่เรื่องเกี่ยวกับเทพเจ้าเป็นสำคัญ ดังนั้น ภาพเล่าเรื่องสงครามที่ทุ่งกุรุเกษตร ที่ระเบียงคดปราสาทนครวัด ก็คงจะไม่ได้ต้องการมุ่งเน้นถึงเรื่องราวของพี่น้องปาณฑพ และเการพ แต่คงเน้นไปที่เรื่องขององค์พระกฤษณะ ผู้นำชัยชนะมาสู่กลุ่มพี่น้องปาณฑพ และการเทศนาเรื่องภัควัตคีตาแก่พระอรชุน ซึ่งจะเห็นว่าภาพเล่าเรื่องราวทั้งหมดที่ปราสาทนครวัด ล้วนเป็นเรื่องราวของพระวิษณุ หรือแม้จะเป็นเรื่องของพระศิวะ ก็นำเรื่องมาจากคัมภีร์ฝ่ายไวษณพนิกาย
คลิกดูภาพใหญ่      เหตุผลที่ในอารยธรรมเขมรโบราณไม่นิยมเรื่องราวมหาภารตะ อาจจะเป็นเพราะเรื่องราวมหาภารตะไม่ใช่เรื่องราวที่สดุดีองค์อวตารคือพระกฤษณะ ในท้องเรื่อง พระกฤษณะเป็นเพียงตัวประกอบ ผิดกับเรื่องมหารามายณะที่เป็นเรื่องราวสดุดีพระราม อันเป็นองค์อวตารโดยตรง และคัมภีร์มหาภารตะในอินเดียก็ไม่เป็นที่นิยมนัก ถือกันว่าเป็นเรื่องอัปมงคล คติดังกล่าวทางฝ่ายเขมรโบราณอาจได้รับมาด้วย เมื่ออยุธยาได้รับอิทธิพลเขมรเข้ามาในราชสำนัก จึงพลอยทำให้ไม่นิยมเรื่องมหาภารตะไปด้วย เพราะฉะนั้น ในวรรณคดีไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์เท่าที่พบ จึงมีอยู่เพียงบางเรื่องที่ได้รับอิทธิพลจากคัมภีร์มหาภารตะ เช่น ลิลิตยวนพ่าย และกฤษณาสอนน้อง
Mahabharata in Khmer Civilization 
and the Bas-reliefs in the Gallery of Angkor Wat
Rungroj Piromanukul
Bigger       Compiled around the 5th century BC, the Mahabharata was an important epic in Indian civilization that was popular along with the Ramayana, both of which spread throughout the Southeast Asian region, reaching the ancient Khmer Kingdom in around the 4th century.
      In the Pre-Angkorean period (before the 9th century) the Mahabharata had a great influence on Khmer society, and the names of the heroes from this epic were adopted by the elite. 
      During the Angkor period evidence from inscriptions specifies that there was the recitation of the Mahabharata at various sanctuaries. In addition to this, it became popular for the upper classes to study the Mahabharata along with another collection of sacred Hindu texts, the Purana. Also, the deeds of the Khmer kings and nobles were compared with the deeds of the heroes in these stories.
Bigger       However, the bas-reliefs illustrating tales from the Mahabharata are seldom found except at some temples like the Banteay Srei, the Baphoun, the Bayon and Angkor Wat. 
      The southwestern gallery of Angkor Wat is a 50-meter long stone wall depicting scenes from the Battle of Kurukshetra, where an important clash between the Kauravas and the Pandavas takes place near the end of the epic.
      When we consider the popularity of the story of the Mahabharata in Khmer art, of which there is little, we might surmise that in Khmer art it was popular to show only the stories from the Mahabharata that are concerned with the gods. Even though the bas-reliefs of the Mahabharata at Angkor Wat don't emphasize the story of the Kauravas and the Pandavas, they emphasize Krishna, an avatar of Vishnu. Thus, the reason Khmer artwork does not feature the Mahabharata is because the story does not directly praise Krishna, unlike the Ramayana that praises Rama, another avatar of Vishnu.
คลิกดูภาพใหญ่คลิกดูภาพใหญ่คลิกดูภาพใหญ่