ว า ร ส า ร เ มื อ ง โ บ ร า ณ
Muang Boran Journal

ISSN 0125-426X
ปีที่ ๒๘ ฉบับ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๔๕
Vol. 28 No. 1 January-March 2002

วารสารวิชาการรายสามเดือน เพื่อการอนุรักษ์มรดกไทย
ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปะ และวัฒนธรรม
วารสาร เมืองโบราณ เดือน มกราคม - มีนาคม ๒๕๔๕ ฉบับที่ ๑ ปีที่ ๒๘

ส า ร บั ญ
สังคมไทยกับความเป็นมนุษย์ ที่เปลี่ยนไป จันทบุรีศรีสัตนาค...  ศรีศักร วัลลิโภดม

Chantaburi Srisattanaga... Srisakra Vallibhotama

โคกคอน วัฒนธรรมชายขอบ ของชุมชนลุ่มน้ำโมงในยุคเหล็ก... วลัยลักษณ์ ทรงศิริ

การขุดค้นแหล่งโบราณคดี บ้านโคกคอน อำเถอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย... กัลญาณี กิจโชติประเสริฐ

Preliminary Results of the Archaeological Investigation at Khok Khon... Kalyani Kitchoteprasert

นาค: ตำนานแห่งสายน้ำโขง... ปราณี กล่ำส้ม
พระพุทธบาทบัวบก - บัวบาน มาตุภูมิแห่งเจ้าราชครู หลวงโพนสะเม็ก... ปริเชต ศุขปราการ

Phu Phan : Sacred Hill in the Uranghadhat... Parichead Sukprakan

พญานาคหลวงพระบาง... รังสิต จงฌานสินโธ
เมืองพานพร้าว... สิทธิพร ณ นครพนม
เมืองกาญจน์บ้านขุนแผน... ปราณี กล่ำส้ม

Kanchanaburi, the Home of Khun Phaen... Pranee Glumsom

ภาพปูนปั้นเล่าเรื่องพุทธประวัติ ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุเชลียง... รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง

Stucco Reliefs at Wat Phra Si Rattana Mahathat Chaliang... Rungroj Thamrungreung

กำเนิดวงดนตรีแจซ ที่มาจาก "วงจุล"... ใหญ่ นภายน
เจดีย์พุกาม - สุโขทัย - ล้านนา... สันติ เล็กสุขุม
หมอน้ำมัน ภูมิปัญญาโบราณ ในการรักษาโรค ของชาวร้อยเอ็ด... ลักขณา จินดาวงษ์

The Bone Doctors of Roi Et... Lakhana Jindawong

จากหุ่นหลวงถึงหุ่นวังหน้า... อินทิรา ฉลาดปรุ
ป้ากะปู่กู้อีจู้.... จุฑารัตน์ เหลืองสง่างาม
บรรณวิพากษ์.... สว่าง เลิศฤทธิ์
รูปถ่ายลายเส้น.... ศูนย์ข้อมูล เมืองโบราณ
เรื่องเก่าเล่าสู่.... ศูนย์ข้อมูล เมืองโบราณ
วิถีชีวิตของคนป่าทาม.... นพวรรณ สิริเวชกุล
ว่าด้วยวิชา Ecotourism ในมหาวิทยาลัย.... แสงอรุณ กนกพงศ์ชัย
ป้อมพระสุเมรุ: การขุดตรวจใน พ.ศ.๒๕๔๒.... ศูนย์ข้อมูล เมืองโบราณ
เลิกเก็บค่าเข้าชม.... นคร สำเภาทิพย์
คลิกดูภาพใหญ่
 
จันทบุรีศรีสัตนาค
ศรีศักร วัลลิโภดม

คลิกดูภาพใหญ่     ความเป็นเมือง "จันทบุรีศรีสัตนาค" นั้น หาใช่เป็นเพียงเรื่องของนครเวียงจันท์ เมืองหลวงของลาวที่อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง อย่างที่คนในปัจจุบันคิดกันไม่ หากเป็นเรื่องของท้องถิ่นทั้งสองฝั่งโขง ที่มีอาณาบริเวณกว้างไกลและเชื่อมโยงเข้ากับบ้านเมืองและท้องถิ่นอื่นๆ ตามสองฝั่งโขงอีกไม่ใช่น้อย
     ลักษณะภูมิประเทศที่ตั้งของเวียงจันท์ มีจุดเด่นอยู่ที่มีที่ราบลุ่มทั้งสองฝั่งแม่น้ำโขง ลักษณะเช่นนี้มักไม่ค่อยพบตามที่ตั้งของเมืองอื่นๆ ที่อยู่ริมฝั่งโขงด้วยกัน เพราะมักจะพบบริเวณที่ราบลุ่มแต่เพียงทางฝั่งขวาเท่านั้น ทางฝั่งซ้ายมักเต็มไปด้วยที่สูงและภูเขา มีที่ราบลุ่มในบริเวณแคบๆ ระหว่างที่สูงเป็นแห่งๆ ไป
     สำหรับนครเวียงจันท์ บริเวณที่ราบลุ่มทางฝั่งขวาซึ่งอยู่ในเขตแดนประเทศไทยนั้น เป็นที่ราบลุ่มของลำน้ำโขงและลำน้ำคุก ที่เป็นลำห้วยไหลลงมาจากทิวเขาภูพาน และที่สูงในเขตจังหวัดอุดรธานี ในขณะที่บริเวณที่ราบทางฝั่งซ้ายด้านนครเวียงจันท์ เป็นที่ราบกว้างใหญ่ที่มีลำน้ำงึมไหลผ่าน ที่ราบลุ่มทั้งสองฝั่งนี้ มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐาน และการเกษตรกรรม ที่ทำให้เกิดชุมชนบ้านเมืองได้เสมอกัน

คลิกดูภาพใหญ่     ข้าพเจ้าเคยมีโอกาสไปศึกษาและรับรู้แหล่งโบราณคดี ในที่ราบลุ่มลำน้ำงึม ในเขตนครเวียงจันท์พอสมควร พอสรุปในที่นี้ได้ว่า มีการพบและขุดค้นแหล่งก่อนประวัติศาสตร์ ที่มีอายุอยู่ในยุคเหล็ก ในบริเวณที่ไม่ห่างจากนครเวียงจันท์เท่าใด มีผู้พบพระพุทธรูปหินแบบทวารวดี ที่มีจารึกและเสมาหินตามบริเวณที่เป็นชุมชนโบราณหลายแห่ง แต่แหล่งที่เป็นเมืองโบราณนั้น นอกจากเวียงจันท์แล้ว ก็พบในบริเวณท่าเดื่อ ฝั่งตรงข้ามกับเมืองหนองคาย เป็นที่พบซากอโรคยาศาลของขอมสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗ 
     นอกจากนี้ ก็มีร่องรอยของเมืองเก่าที่เรียกว่าเมืองเวียงคำ หรือเมืองไผ่หนาม อันเป็นเมืองคู่กันกับเมืองเวียงจันท์ ตามที่มีกล่าวถึงในศิลาจารึกสุโขทัยที่ว่า "เวียงจันท์เวียงคำ" โดยตำแหน่งที่ตั้งเวียงจันท์ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง แต่เวียงคำตั้งอยู่ภายใน ค่อนไปทางเหนือใกล้กับลำน้ำงึม บนเส้นทางคมนาคมโบราณ ที่ตัดข้ามเทือกเขาไปยังเมืองหลวงพระบางและเมืองเชียงขวาง
     พื้นที่ซึ่งจะสัมพันธ์และร่วมสมัยกับทางนครเวียงจันท์โดยตรง คือริมฝั่งโขง และบริเวณใกล้เคียงฝั่งตรงข้ามกับเวียงจันท์ ในเขตอำเภอศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ และเมืองหนองคาย ซึ่งล้วนเป็นพื้นที่ราบลุ่มที่มีลำน้ำลำห้วย ไหลลงจากเทือกเขาภูพานและพื้นที่สูง ผ่านมาลงแม่น้ำโขง ชุมชนที่เป็นบ้านและเมือง ล้วนเกิดขึ้นตามริมลำน้ำและปากลำน้ำตอนที่ไปบรรจบกับแม่น้ำโขงทั้งสิ้น
     ลำห้วยที่เด่นชัดมี ๓ สายด้วยกัน คือห้วยน้ำโมง ห้วยคุก และห้วยบังพวน แต่ทั้งบริเวณห้วยคุกและห้วยบังพวน ก็ไม่พบร่องรอยชุมชนโบราณที่เก่าแก่ตั้งแต่สมัยทวารวดี - ลพบุรีขึ้นไป จนถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ อย่างเช่นที่พบเห็นทางฝั่งเวียงจันท์ ผิดกับห้วยน้ำโมง ที่กลายเป็นทั้งลำน้ำ และที่ราบลุ่มที่อาจอธิบายถึงการเกิด และพัฒนาการของนครเวียงจันท์ได้เป็นอย่างดี
คลิกดูภาพใหญ่     ข้าพเจ้าคิดว่าคนที่อยู่ลุ่มน้ำโมงเหล่านี้ คือผู้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นราบ ที่มีทั้งอาชีพเพาะปลูกและจับสัตว์ ล่าสัตว์ แต่ได้อาศัยโขดหิน เพิงหิน และลานหินบนภูเขาภูพานเป็นแหล่งประกอบประเพณีพิธีกรรมในระบบความเชื่อ จึงปรากฏร่องรอยภาพเขียนสีเหลือไว้ให้เห็น แต่ต่อมาเมื่อมีการนับถือพุทธศาสนาแล้ว จึงได้เปลี่ยนบรรดาแหล่งศักดิ์สิทธิ์ และบริเวณศักดิ์สิทธิ์แต่เดิม ให้เป็นสถานที่ประกอบประเพณีพิธีกรรมทางพุทธศาสนาไป โดยเฉพาะการเกิดเป็นสำนักสงฆ์หรือสำนักของนักพรต ในเขตวัดพระพุทธบาทบัวบาน และพระพุทธบาทบัวบก ที่มีความสำคัญสืบเนื่องมาจนถึงสมัยล้านช้าง
     ตามลำน้ำโมงมาในเขตอำเภอท่าบ่อและศรีเชียงใหม่ ข้าพเจ้าเคยพบเห็น และรับรู้การพบโบราณวัตถุสมัยทวารวดี อันได้แก่เสมาหิน พระพุทธรูปที่ทำด้วยหินทรายมานานแล้ว แต่ทว่าบรรดาแหล่งที่มาของโบราณวัตถุเหล่านั้น ส่วนใหญ่ได้ถูกทำลายและเปลี่ยนแปลงไป จนกระทั่งประมาณ ๔ - ๕ ปีมานี้ การบุกเบิกพื้นที่ในด้านการเกษตร และการตั้งถิ่นฐาน รวมทั้งการแสวงหาโบราณวัตถุ เช่น เครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับสำริดและลูกปัด จากแหล่งฝังศพคนโบราณในภูมิภาคต่างๆ ได้ทำให้เกิดการพบ และทำลายแหล่งโบราณคดี ที่ไม่เคยมีผู้ใดทราบไปมากต่อมาก ในเขตอำเภอท่าบ่อ - ศรีเชียงใหม่ มีผู้พบแหล่งเสมาหินที่มีภาพสลักหลายแห่ง แต่ที่สำคัญก็คือ ที่สำนักสงฆ์บ้านดงนาคำ กิ่งอำเภอโพธิ์ตาก ปัจจุบันบริเวณนี้ ได้ถูกปรับให้เป็นพื้นที่ของสำนักสงฆ์ บรรดาเสมาหินและโบราณวัตถุที่พบได้ถูกเคลื่อนย้ายไปที่อื่น โดยเฉพาะที่วัดหินหมากเป้ง และวัดพระธาตุบังพวน แต่แหล่งโบราณคดีพบใหม่ที่สำคัญของลุ่มน้ำโมงในเขตอำเภอท่าบ่อ เห็นจะได้แก่แหล่งชุมชนโบราณที่บ้านโคกคอน ทั้งการขุดค้นชั้นดิน และการศึกษารูปแบบของโบราณวัตถุ และประเพณีฝังศพในขณะนี้ พอประมาณได้ว่า เป็นชุมชนก่อนประวัติศาสตร์ในยุคเหล็ก ที่มีการสืบเนื่องมาจนถึงสมัยทวารวดี พบเครื่องมือเหล็ก เครื่องมือหินขัด เครื่องมือหินกะเทาะ ลูกปัดหินสี ลูกปัดแก้ว รวมทั้งรูปแบบของภาชนะดินเผาหลายแบบอย่าง
คลิกดูภาพใหญ่     แหล่งชุมชนก่อนประวัติศาสตร์แห่งนี้ ดูใหญ่โตกว่าแหล่งก่อนประวัติศาสตร์ทางฝั่งนครเวียงจันท์ เป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นว่ามีผู้คนเข้ามาตั้งหลักแหล่งเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ในบริเวณลุ่มน้ำโมง ตั้งแต่สมัยเหล็กตอนปลาย เป็นชุมชนที่มีพัฒนาการสืบเนื่องมาจนถึงสมัยทวารวดี - ลพบุรี และสืบต่อมาจนถึงสมัยล้านช้าง ลักษณะความซับซ้อนในเรื่องชนิด และรูปแบบของโบราณวัตถุ ที่พบในชั้นดินทางวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงการเคลื่อนไหว ของคนที่น่าจะมาจากที่อื่น เข้ามาตั้งหลักแหล่งถิ่นฐานปะปนกันหลายรุ่นหลายเหล่า
     เหตุที่ข้าพเจ้าเชื่อว่ามีคนกลุ่มต่างๆ เคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานหลายยุคหลายสมัยอย่างต่อเนื่อง ก็เพราะเมื่อพิจารณาจากภูมิประเทศ และตำแหน่งทางภูมิศาสตร์แล้ว ก็จะเห็นได้ว่าบริเวณลุ่มน้ำโมง อยู่บนเส้นทางการคมนาคมตั้งแต่โบราณ ดังจะเห็นได้ว่าถ้ากำหนดบริเวณลุ่มน้ำโมงเป็นศูนย์กลางแล้ว เมื่อเดินทางข้ามโขงไปทางฝั่งเวียงจันท์ก็จะเข้าสู่บริเวณลำน้ำงึม ที่สามารถเดินทางต่อไปยังหลวงพระบางและเชียงขวาง ที่มีแหล่งโบราณคดีทุ่งไหหินได้ และจากเชียงขวางก็ข้ามเขาและที่สูง ไปยังเขตเวียดนามทางชายฝั่งทะเลจีน
คลิกดูภาพใหญ่     แต่ถ้าเดินทางตามลำน้ำโมงผ่านช่องเขาภูพานในเขตอำเภอบ้านผือ ก็จะออกไปสู่พื้นที่ในเขตอำเภอนากลาง ซึ่งก็สามารถติดต่อลงไปทางใต้ คือบริเวณลุ่มน้ำห้วยหลวง อันเป็นอาณาบริเวณแหล่งก่อนประวัติศาสตร์ในวัฒนธรรมบ้านเชียง
     ในขณะเดียวกัน ถ้าเดินทางไปทางตะวันตก ก็จะผ่านช่องเขาตามลำน้ำขึ้นไปยังเขตอำเภอวังสะพุง เข้าสู่เขตจังหวัดเลย ที่มีเส้นทางโบราณตามลำน้ำเหืองไปยังอำเภอด่านซ้าย เข้าเขตอำเภอนครไทยไปยังพิษณุโลก อุตรดิตถ์ และสุโขทัยได้ ตามเส้นทางนี้มีการพบแหล่งก่อนประวัติศาสตร์ แหล่งเสมาหิน แหล่งภาพเขียนสี และชุมชนโบราณยุคสุโขทัย อยุธยา และล้านช้าง ซึ่งถ้าจะสรุปให้เห็นเป็นรูปธรรม ก็คงต้องอ้างศิลาจารึกสุโขทัย ซึ่งกล่าวถึงบรรดาเมืองทางด้านตะวันออกของสุโขทัย ที่มีชื่อบรรดาเมืองหล่ม และเมืองเวียงจันท์ เวียงคำ
     เพราะฉะนั้น การเกิดขึ้นของเมืองจันทบุรีศรีสัตนาค ที่เป็นเมืองหลวงสำคัญของแคว้นล้านช้างนั้น มีที่มาจากการตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมโบราณ ซึ่งมีผู้คนเคลื่อนไหวไปมาอยู่ตลอดเวลา ตั้งแต่ยุคโลหะมาจนถึงสมัยประวัติศาสตร์ ครั้งอยุธยาและล้านช้างทีเดียว

Chantaburi Srisattanaga
Srisakra Vallibhotama
คลิกดูภาพใหญ่       In the area of the Phu Phan Mountain range in upper northeastern Thailand there are many archaeological sites located at rock caves and shelters. These sites date back to the pre-historic period. There are paintings of red hands, geometric forms, human and animal figures found along with prehistoric stone tools and pottery sherds. The people who created these things probably lived on the plains, cultivating plants, trapping and hunting animals, but came to stay in the caves occasionally for ceremonies.
       As these communities became Buddhist, there appeared decorations to indicate a religious site such as Buddha images, boundary stones and wall carvings that date back from the end of the Dvaravati period to recent times (around the 8th to the 19th century). Local chronicles and folk tales such as the Uranghadhat and the story of Usa - Barot attempt to explain the story of various sites in this area. The Uranghadhat Chronicle plays an especially important role in the integration of local people with the story of the Kingdom of Sri Khotaburana, which came to be an important center of Vientiane.
คลิกดูภาพใหญ่       The importance of Vientiane or "Chantaburi Srisattnaga" was as a city that controlled a wide and broad area on both sides of the Mekong River. Also, it maintained relationships with many nearby large communities and villages. On the left bank of the Mekong River (now in Lao PDR) we can find settlements from the Iron Age to the Dvaravati and the Khmer periods such as the inscriptions, Buddha images and the Bayon-style sanctuary at Xai Phong. On the right bank (now in Thailand) we find settlements in the area of Si Chiang Mai, Tha Bo and Nong Khai which are situated near streams flowing from the Phu Phan Mountains into the Mekong River, namely the Huay Mong, the Huay Kuk, and the Huay Bangphuan.
       Of these streams, the Huay Mong is considered the most important. It flows down from the mountains in a number of small streams with many branches passing through an area of important archaeological sites like Phraphutthabat Buabok.
       In the previous decade clearing of land by farmers together with hunting for archaeological artifacts has led to the discovery of sites in the Huay Mong valley. At the village of Khok Khon in Tha Bo district, Nong Khai province artifacts from the Iron Age up to the Dvaravati and Lan Xang periods were found.
       Khok Khon is considered to be quite extensive and contains artifacts that are more complex and varied in style than those prehistoric sites on the left bank of the river.
คลิกดูภาพใหญ่       Studying the geography of the basin of Huay Mong, we find that the area is a center that could conveniently contact other regions: across the Mekong to Louangphrabang, Xiangkhoang and Vietnam all the way to the South China Sea. Or across the Phu Phan Mountains to the south where was the center of Ban Chiang Civilization or if one travel west he can reach Wang Saphung and Dan Sai in Loei province, Nakhon Thai in Phitsanulok, Uttaradit and Sukhothai.
       Communication between areas was the network that was mentioned in the inscription of King Ramkhamheang of Sukhothai at the beginning of the 14th century that clearly states the names of Wieng Chan (Vientiane) and Wieng Kham.