ว า ร ส า ร เ มื อ ง โ บ ร า ณ
Muang Boran Journal

ISSN 0125-426X
ปีที่ ๒๘ ฉบับ ๒ เมษายน-มิถุนายน ๒๕๔๕
Vol. 28 No. 2 April-June 2002

วารสารวิชาการรายสามเดือน เพื่อการอนุรักษ์มรดกไทย
ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปะ และวัฒนธรรม
วารสาร เมืองโบราณ เดือน เมษายน - มิถุนายน ๒๕๔๕ ฉบับที่ ๒ ปีที่ ๒๘

ส า ร บั ญ
รัฐกับการผูกขาดสมบัติวัฒนธรรม ความรู้ทางอดีตของสังคม
บันทึกแม่ปิงภาค ๒ การสืบสวนทางภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์ศิลปะ...  ม.ล.สุรสวัสดิ์ สุขสวัสดิ์

The Chronicle of the Ping River II: A Recent Survey on Art History and Geography... M.L. Surasavasti Suksvasti

คัมภีร์ใบลานอายุ ๕๐๐ ปีจากเวียงสร้อย... ไพฑูรย์ ดอกบัวแก้ว

The Old Scriptures of Wiang Soy... Phaitoon Dokbuakaew

เสียงร้องของคนเหนือเชื่อน... สุดแดน วิสุทธิลักษณ์

A Cry from the Upstream... Suddan Wisudthiluck

การสำรวจทางโบราณคดี เหนือเขื่อนภูมิพล ครั้งที่ ๒/๒๕๐๒... กฤษณ์ อินทโกศัย
ปราสาทพนมดา - อาศรมมหาฤาษี... วิชชุ เวชชาชีวะ
บ้านพิพิธภัณฑ์: บ้านและตำนานของสรรพสิ่ง... พลับพลึง หอมภักดี
The House of Museums: Where the Urban Legends Live On... Plubplung Hompakdee
วัดอ่างศิลา...วันเวลาที่พ้นผ่าน... กมลศักดิ์ สรลักษณ์ลิขิต
ลัน ลอบ ไซ สุ่ม... จุฑารัตน์ เหลืองสง่างาม
บรรณวิพากษ์ ภาพมุมกว้าง ของกรุงเทพมหานคร ในรัชกาลที่ ๔: การค้นพบใหม่... เอนก นาวิกมูล
รูปถ่ายลายเส้น... ศูนย์ข้อมูลเมืองโบราณ
เรื่องเก่าเล่าสู่... ศูนย์ข้อมูลเมืองโบราณ
โบราณวัตถุศิลปะเขมร พบที่จังหวัดสุรินทร์... ปริญญา สนเล็ก
ความรู้เบื้องต้น จากการขุดค้นแหล่งโบราณคดี บ้านโป่งมะนาว จังหวัดลพบุรี... สุรพล นาถะพินธุ
ไถ่บาป... นคร สำเภาทิพย์
คลิกดูภาพใหญ่
 
เสียงร้องของคนเหนือเขื่อน
สุดแดน วิสุทธิลักษณ์

คลิกดูภาพใหญ่     บ้านนาเป็นหนึ่งชุมชนเล็กๆ เช่นเดียวกับชุมชนอีกจำนวนมาก ที่อาศัยสองฝั่งลำน้ำปิงเป็นที่อาศัยสืบเนื่องกันมายาวนาน จนในปลายทศวรรษ ๒๔๙๐ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ก็ได้ตกลงใจที่จะสร้างเขื่อนกั้นน้ำแม่ปิง จากนั้นมาได้มีการสำรวจสถานที่สร้างเขื่อน และท้ายที่สุดได้มากำหนดลงที่บริเวณช่องเขาแก้วและเขาทัพทางตอนใต้ของตำบลบ้านนา 

คลิกดูภาพใหญ่     พ.ศ.๒๔๙๙ เริ่มมีประกาศเวนคืนที่ดิน ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๔ มีพิธีวางศิลาฤกษ์ตัวเขื่อน และเปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๗
     ขณะที่กรมชลประทานประกาศคุณประโยชน์ของเขื่อนคอนกรีตรูปโค้งที่มี "ขนาดใหญ่และสูงที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" ว่าสามารถเก็บกักน้ำได้เป็นปริมาณมาก เป็นประโยชน์ในทางชลประทาน ทำให้ที่ดินเกิดประโยชน์เพิ่มผลผลิตได้อีกนับล้านไร่ ช่วยป้องกันน้ำท่วม แล้วส่งไปหมุนกังหันผลิตไฟฟ้าได้อีกทอดหนึ่ง ทำให้ค่ากระแสไฟฟ้าถูกลง และถึงแม้ว่าจะต้องใช้เงินเป็นจำนวนมากมาย "แต่เมื่อคำนึงถึงผลที่จะช่วยให้เกิดในการพัฒนาประเทศแล้ว จะเห็นว่าประโยชน์ที่จะได้ในภายหน้านั้นท่วมท้นค่าก่อสร้างเหลือคณาทีเดียว"
คลิกดูภาพใหญ่     แต่สำหรับปราโมช มาลาทอง (พ.ศ.๒๔๖๑ - ๒๕๒๓) หนึ่งในบรรดาผู้คนซึ่งได้รับผลโดยตรง และโดยทันทีเมื่อเขื่อนเริ่มต้นสร้าง เขามองปรากฏการณ์นี้ไปอีกทาง 
     นอกจากการร่วมกันต่อสู้กับชาวบ้านคนอื่นๆ ของตำบลบ้านนา เพื่อเรียกร้องความถูกต้องด้วยวิถีทางต่างๆ ปราโมชทิ้งร่องรอยความคิดเห็น การต่อสู้ และความพ่ายแพ้ของเขาและชาวบ้านนาเพื่อที่จะแลกกับ "ความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติ" ไว้ในข้อเขียนบนสมุดเล่มเล็กๆ หลายเล่ม เป็นเรื่องราวของตนเอง ของครอบครัว และของชุมชนบ้านนา 
     ถึงแม้ว่าจะปรากฏขึ้นอย่างเนิ่นช้ามาเกือบครึ่งศตวรรษ แต่คงไม่นานเกินไปที่จะได้ยิน
คลิกดูภาพใหญ่     ปลายเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๔๕ กองบรรณาธิการวารสารเมืองโบราณได้เดินทางไปจังหวัดตาก เพื่อสำรวจเส้นทางแม่น้ำปิง ขณะที่ทีมงานกำลังเพลิดเพลินกับทัศนียภาพ เมื่อเรือกำลังแล่นผ่านทะเลสาบเหนือเขื่อนอยู่นั้น รสสุคนธ์ มาลาทอง บุตรสาวของปราโมชชี้ลงไปใต้แอ่งน้ำกว้างใหญ่ที่เรียบสนิทนั้นว่า บ้านไม้สองชั้นทรงปั้นหยาที่พ่อสร้างไว้ วัด โรงเรียน ชุมชน และท้องนาตั้งอยู่บริเวณนี้ แต่ว่าอยู่ลึกลงไปข้างใต้ 
คลิกดูภาพใหญ่     ก็คงเช่นเดียวกับอดีตเรื่องอื่นๆ ของคนบ้านนา และของคนบ้านอื่นๆ อีกหลายร้อยหลายพันคน ทั้งที่ผ่านมาและกำลังจะผ่านพ้นไป ที่ไม่เคยได้เล่า ไม่เคยได้บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แต่ทว่าอยู่ลึกลงไป ลึกลงไปข้างใต้ อึงอลอยู่ในปรากฏการณ์อันนิ่งเงียบเรียบเฉยที่ไม่มีใครสนใจจะเงี่ยหูฟัง
คลิกดูภาพใหญ่ คลิกดูภาพใหญ่ คลิกดูภาพใหญ่
A Cry from the Upstream 
Suddan Wisudthiluck
Bigger       Despite being a small community, Ban Na has its long history back to at least the 18th century. Located on the west bank of Ping River, Ban Na once served as a popular place for stopover and was usually mentioned in the old records of both western and native travelers. Between the 19th to the 20th centuries, westerners travelling along the Ping River always put the location of Ban Na in their maps or reports, some of which discussed the contact between Ban Na and Moulmein in Myanmar.
Bigger       In Thai records, the procession of H.R.H. Princess Dara Rasmi of Chiang Mai, a consort of King Rama V, once made a stop at Ban Na in 1908. Thirteen years later, H.R.H. Prince Damrong on his back trip from Chiang Mai also took a rest there.
       However, in the 1960s, the long existence of Ban Na had come to an end as a result of the government's decision to build the Yanhee Dam across the Ping River in Sam Ngao District, Tak Province. With the Dam gradually taking shape, vast areas from Sam Ngao District in Tak up to Hod District in Chiang Mai were being submerged under water. 
Bigger       And even though official documents have recorded fair compensation given to land owners in Ban Na, personal memoirs of Pramoj Malathong (1918-1980) speak otherwise. In his writings, Pramoj recounts in great details about a solitary struggle the villagers had made as well as a number of pains and miseries they had suffered from self-help evacuation, theft and robbery, unfair compensation, officials' ignorance and cheating, etc. 
Bigger       Despite his death in 1980, Pramoj's memoirs have only recently been revealed. Once it is out on the market, more and more people have begun to realize the alarming fact that it takes over 20 years before a cry of this ordinary soul could be heard in public! 
 
คลิกดูภาพใหญ่ คลิกดูภาพใหญ่ คลิกดูภาพใหญ่
คลิกดูภาพใหญ่ คลิกดูภาพใหญ่ คลิกดูภาพใหญ่