ว า ร ส า ร เ มื อ ง โ บ ร า ณ
Muang Boran Journal

ISSN 0125-426X
ปีที่ ๒๙ ฉบับ ๑ มกราคม-มีนาคม ๒๕๔๖
Vol. 29 No. 1 January-March 2003

วารสารวิชาการรายสามเดือน เพื่อการอนุรักษ์มรดกไทย
ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปะ และวัฒนธรรม
วารสาร เมืองโบราณ เดือน มกราคม - มีนาคม ๒๕๔๖ ฉบับที่ ๑ ปีที่ ๒๙

ส า ร บั ญ
ลุ่มน้ำเจ้าพระยากับตะเข้ ข้อคิดเห็นใหม่เกี่ยวกับศาสนา ของพระเจ้าสูรยวรรมันที่ ๑...  รุ่งโรจน์  ภิรมย์อนุกุล

New Ideas regarding the religion of Suryavarman I... Rungroj Phiromanukul

มัณฑละเชิงเขาหลวง: หนึ่งในฐานเศรษฐกิจ ของรัฐตามพรลิงค์.... ปรีชา  นุ่มสุข

Mandala of Khao Luang: One in the economic base of the state of Tambralinga... Preecha Noonsuk

การอ้างสิทธิธรรมทางการเมือง ของกษัตริย์ล้านนา สมัยราชวงศ์มังรายตอนต้น... บุญวรรณี วิริยะชัยวงศ์

The Claim of Political Right of Lanna Kings in the Mangrai Dynasty... Boonwannee Wiriyachaiwong

สัญลักษณ์จักรวาล ในพระราชพิธี สมัยพระเจ้าปราสาททอง... ปาริสุทธิ์ เลิศคชาธาร
คุยเฟื่องเรื่องลึงค์... นงคราญ สุขสม
เกาะแกร์: นครหลวงนอกคอก... วิชชุ เวชชาชีวะ
ลวดลายบางแบบ บนใบเสมาที่วัดค้างคาว จังหวัดนนทบุรี... ประภัสสร์ ชูวิเชียร

Some designs on Boundary Stones at Wat Khang Khao, Nonthaburi... Prapat Chuwichian

บางกระบือ ถิ่นนี้มีอดีต... ปราณี  กล่ำส้ม

Bang Grabue: a Place with a Past... Pranee Glumsom

หลายมุมมองพิพิธภัณฑ์ในเยอรมนี... สุรศักดิ์ คงควร
เพลงมหาฤกษ์ มหาชัย... ใหญ่ นภายน
เชิงกราน ก้อนเส้า เตาอั้งโล่... จุฑารัตน์  เหลืองสง่างาม
เขมรเผชิญหน้ากับวัฒนธรรม... ศานติ ภักดีคำ
มีอะไรที่ฝาปะกน ศาลาการเปรียญ วัดใหญ่สุวรรณาราม... สุรชัย จงจิตงาม
ร่วมด้วยช่วยกันฝัน: พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นของบ้านเรา... อินทิรา ฉลาดปรุ
นครวัด: ความหมายและสัญลักษณ์... ธารารัตน์  เจริญสนธิชัย
การปฏิสังขรณ์วัดมหาธาตุ ในรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง: ตัวอย่างการบอกความจริงครึ่งเดียว ของพระราชพงศาวดาร... รุ่งโรจน์ ธรรมรุ่งเรือง
รูปถ่ายลายเส้น... ศูนย์ข้อมูล เมืองโบราณ
เรื่องเก่าเล่าสู่... กองบรรณาธิการ
กระทรวงวัฒนธรรม... นคร สำเภาทิพย์
 
มัณฑละเชิงเขาหลวง: หนึ่งในฐานเศรษฐกิจของรัฐตามพรลิงค์
ปรีชา นุ่นสุข
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี

คลิกดูภาพใหญ่     ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ ๙ - ๑๐ ได้ปรากฏอิทธิพลศาสนาของอินเดีย คือพุทธศาสนา และศาสนาพราหมณ์ลัทธิไวษณพนิกาย ซึ่งนับถือพระวิษณุหรือพระนารายณ์เป็นเทพสูงสุดขึ้นในคาบสมุทรไทยแล้ว ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย ซึ่งเคารพนับถือพระศิวะหรือพระอิศวรเป็นเทพสูงสุด ก็ได้สถาปนาอย่างมั่นคงในรัฐตามพรลิงค์ อันมีเมืองโบราณนครศรีธรรมราชเป็นศูนย์กลาง โดยในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๒ คณะพราหมณ์ของพระอคัสตยะ ก็ได้อภิเษกผู้นำของรัฐตามพรลิงค์ขึ้นเป็นเทพ - กษัตริย์ (God - King) แห่งรัฐ เรียกว่า "ตามพรลิงเคศวร"

คลิกดูภาพใหญ่     ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๖ ศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกายได้เป็นพลังผลักดันที่สำคัญ แห่งพัฒนาการของรัฐตามพรลิงค์ โดยเทพ - กษัตริย์แห่งรัฐทรงสถาปนาระบบมัณฑละ (mndala) ขึ้น ด้วยการสถาปนาสภาพภูมิประเทศศักดิ์สิทธิ์ ให้เป็นตีรถะ (Tirtha) จำนวนมากมาย รวมทั้งได้สร้างเทวาลัยขึ้นในตีรถะเหล่านั้น เพื่อการจาริกแสวงบุญ ตามระบบความเชื่อในศาสนาด้วย ตีรถะแต่ละแห่งถูกสร้างขึ้น ในรูปของภาพจำลองแผนภูมิจักรวาล หรือมัณฑละอันศักดิ์สิทธิ์ อันมีพระศิวะประทับอยู่ ณ จุดศูนย์กลางของมัณฑละ ในลักษณะที่เป็นสัญลักษณ์รูปศิวลึงค์ รวมทั้งในลักษณะที่เป็นยอดเขา ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เรียกว่าลิงคบรรพต อาทิ ยอดเขาในมัณฑละ ณ เขาคา อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ยอดเขาในมัณฑละ ณ หัวเขาบน (เขาศรีวิชัย) อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี ยอดเขาในมัณฑละ ณ เขาคูหา อำเภอ สทิงพระ จังหวัดสงขลา และยอดเขาในมัณฑละ ณ เขาพระเหนอ อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เป็นต้น
คลิกดูภาพใหญ่      ในขณะเดียวกัน ตามระบบความเชื่อเกี่ยวกับแม่น้ำคงคา อันเป็นที่มาของน้ำศักดิ์สิทธิ์ทั้งมวลของลัทธิไศวนิกาย นอกจากจะมีการสถาปนาน้ำตกหลายแห่ง ซึ่งเป็นที่เกิดของแม่น้ำลำคลองภายในรัฐแห่งนี้ เป็นตีรถะแล้ว ยังมีการสลักร่องน้ำ และหน้าผาเชื่อมต่อออกมาจากยอดเขาที่เป็นลิงคบรรพต ให้มีลักษณะเป็นหน้าผาน้ำตก เพื่อให้สอดคล้องกับระบบความเชื่อ และเทพปกรณัมที่เกี่ยวกับแม่น้ำคงคาด้วย 
     การสร้างสรรค์ตามระบบความเชื่อดังกล่าว ได้ส่งผลให้แม่น้ำลำคลองที่สำคัญภายในรัฐ มีฐานะเป็นพระแม่คงคาศักดิ์สิทธิ์ และศิลาจารึกบางหลักได้สะท้อนให้เห็นว่า รัฐให้ความคุ้มครองอย่างเต็มที่ ตลอดแนวยาวของแม่น้ำลำคลองที่ศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้น ล้วนมีตีรถะที่สำคัญตั้งอยู่อย่างหนาแน่น
คลิกดูภาพใหญ่     ตีรถะเหล่านี้มีการเกาะกันเข้าเป็นกลุ่ม หรือเป็นมัณฑละ แต่ละกลุ่มมีตีรถะขนาดใหญ่ หรือตีรถะที่สำคัญที่สุดเป็นจุดศูนย์กลาง กลุ่มมัณฑละเหล่านี้ กระจายอยู่ในอาณาบริเวณของรัฐตามพรลิงค์ และขึ้นตรงต่อมัณฑละแห่งราชธานี ซึ่งมีความศักดิ์สิทธิ์ที่สุด เพราะเป็นที่ประทับของพระศิวะแห่งรัฐ
     แม้ว่าระบบมัณฑละอันศักดิ์สิทธิ์ของรัฐตามพรลิงค์ในระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๖ จะเป็นระบบโครงสร้างทางสังคมอย่างหนึ่ง ที่ส่งผลให้วัฒนธรรมความเชื่อของชุมชนภายในรัฐ มีความแข็งแกร่งและเป็นเอกภาพภายใต้อำนาจอันศักดิ์สิทธิ์ของเทพ - กษัตริย์ แต่ผลที่ตามมา ก็หาได้จำกัดอยู่แต่เพียงภายในขอบเขตความมั่นคงทางสังคมแห่งรัฐเท่านั้นไม่ เพราะผลที่แท้จริง กลับไปตกอยู่กับความมั่นคงด้านเศรษฐกิจ และการเมืองการปกครอง 
คลิกดูภาพใหญ่      ในด้านเศรษฐกิจนั้น หลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบในขณะนี้แสดงให้เห็นว่า ตีรถะทุกแห่ง และมัณฑละทุกกลุ่ม ได้กลายเป็นศูนย์กลางที่มีประชากรเข้ามาตั้งถิ่นฐาน และทำมาหากินอยู่อย่างหนาแน่นรายรอบศาสนสถาน ประกอบกับตีรถะและมัณฑละเหล่านั้น ล้วนแล้วแต่ตั้งอยู่ท่ามกลางสภาพภูมิประเทศที่เหมาะสมสำหรับการทำมาหากินทั้งสิ้น  เช่น บริเวณที่ราบลุ่มที่เหมาะสมสำหรับการปลูกข้าว  ที่ราบเชิงเขาที่เป็นแหล่งกำเนิดผลิตภัณฑ์ประเภทของป่า และบริเวณปากแม่น้ำที่เป็นศูนย์กลางทางการค้า เป็นต้น ทำให้ตีรถะและมัณฑละทั้งมวล กลายเป็นแหล่งผลผลิตที่สำคัญที่สุด ที่เป็นพื้นฐานแห่งความมั่งคั่ง และมั่นคงในทางเศรษฐกิจของรัฐ 
คลิกดูภาพใหญ่     ส่วนในด้านการเมืองการปกครองนั้น ด้วยเหตุที่กษัตริย์ของรัฐตามพรลิงค์ทรงเป็นพระศิวะ จึงทรงเป็นประมุขในทางศาสนาด้วย ผู้นำทางศาสนาทุกระดับ มัณฑละทุกแห่ง และตีรถะทั้งมวลล้วนต้องขึ้นตรงต่อพระองค์ พระองค์จึงทรงใช้อำนาจปกครองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านไปทางองค์กรศาสนาทุกระดับ ลงไปสู่ผู้นำของกลุ่มมัณฑละ กระจายต่อไปยังตีรถะแต่ละแห่งภายในกลุ่มของตน แล้วผู้นำตีรถะแต่ละแห่ง จะดูแลประชาชนในชุมชนต่างๆ ที่อยู่รายรอบ โดยภารกิจสำคัญนั้นประกอบด้วยการพัฒนาชุมชน การสร้างเสริมอาชีพ การหารายได้บำรุงตีรถะ บำรุงมัณฑละ และบำรุงรัฐ การประกอบพิธีกรรมของบุคคลและชุมชน การส่งเสริมการปฏิบัติศาสนกิจ การบริหารจัดการทรัพยากรของท้องถิ่นและชุมชน  การรักษากฎหมายที่อาศัยหลักธรรมในศาสนาเป็นหลัก การไกล่เกลี่ย แก้ปัญหา และตัดสินข้อขัดแย้งและกรณีพิพาทของบุคคล ท้องถิ่น และชุมชน เป็นต้น 
     ดังนั้น โครงสร้างของระบบมัณฑละดังกล่าวนี้ จึงส่งผลให้หน่วยทางเศรษฐกิจ สังคม และการปกครองของรัฐตามพรลิงค์ต่างเข้ามาร่วมกัน หรือบูรณาการเข้าเป็นหน่วยเดียวกันอย่างแท้จริง 
คลิกดูภาพใหญ่     ในบรรดากลุ่มมัณฑละของรัฐตามพรลิงค์ กลุ่มที่ตั้งอยู่เชิงเขาหลวง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นกลุ่มมัณฑละที่มีความสำคัญมาก มีชุมชนโบราณ และเทวาลัยตั้งอยู่อย่างหนาแน่น ตีรถะกลายเป็นศูนย์รวมของชุมชนที่ได้รับการสร้างสรรค์ และทำนุบำรุงจากชุมชนรายรอบ รวมทั้งชุมชนก็ได้ขยายตัวขึ้นโดยลำดับ ทั้งในบริเวณเชิงเขาและที่ราบ โดยบริเวณที่ราบอันอุดมสมบูรณ์นั้น ได้กลายเป็นแหล่งเกษตรกรรมสำคัญ ส่วนการเก็บรวบรวมและการค้าของป่า ได้พัฒนาขึ้นอย่างเป็นระบบ โดยอาศัยการคมนาคมขนส่งตามแม่น้ำลำคลองที่โยงใยกัน  ส่งผลให้การขนส่งผลิตผลของป่าจากเขตภูเขา ลงมาสู่ศูนย์กลางทางการค้าเป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็ว 
     ในที่สุด มัณฑละกลุ่มเชิงเขาหลวง จึงได้กลายเป็นฐานทางเศรษฐกิจกลุ่มหนึ่งของรัฐ
     สินค้าของป่าจากมัณฑละกลุ่มนี้ เป็นส่วนหนึ่งของสินค้าออก สำหรับป้อนตลาดการค้านานาชาติของรัฐ จนตามพรลิงค์ได้รับการกล่าวขวัญถึงในประวัติศาสตร์การค้านานาชาติ ในฐานะที่มีสินค้าของป่าที่ดี และหลายหลากมากที่สุดรัฐหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

Mandala of Khao Luang: One in the economic base of the state of Tambralinga 
Preecha Noonsuk
คลิกดูภาพใหญ่       From the 4th - 5th century, the influence of Buddhism and the Vishnuism cult of Hinduism from India appeared in the southern penisular of Thailand and it is believed that during the 6th - 11th centuries the Shivaism sect of Hinduism was firmly established in the state of Tambralinga. Tambralinga is believed to have been an early state in Southeast Asia, one of the largest and longest lasting in penisular Thailand. Later, this state received a new name of Nakorn Si Thammarat. 
       In the establishment of the state of Tambralinga under the influence of the Shivaism, the God-King of Tambralinga or Tambralingeshvara established a system of mandala. The mandala is based upon the cosmology of the Shivaism and arose in the state with a group of sacred mandalas distributed throughout the area. Each mandala is combined with a ceremonial center that is located in important cities and religious sites throughout the region that was known as tiratha. These ceremonial sites were also the community centers. The system of mandala shows the prosperity of the state by maintaining the condition of the region's sacred features such as mountains, rivers, and natural resources that would allow for the development of economy, society and politics. The system of rule was the same, with the rule of the kings who were both rulers and the living god - Shiva.
คลิกดูภาพใหญ่       In the entire group of mandalas, there were 11 groups that were distributed throughout the state of Tambralinga. The group located at the foot of Khao Luang in Nakhon Si Thammarat province or the mandala of the capital was the most important because Khao Luang has the complete geographical characteristics with many canals that feed the surrounding area. Thus, highly populated ancient communities and places of worship would surely be located there. The evidence of both archaeological sites and artefacts related to the Shivaism that dates back to the 6th - 11th centuries reflect the prosperity of the commerce "of the jungle". The goods of the jungle from this group of mandalas is one part of the goods for export to international markets in states located along the international trade routes of the ancient world that connected from the Roman empire with the Chinese empire. So, Tambralinga is mentioned in the history of international trade as having some of the best quality and most variety of proucts of the jungle of any state in Southeast Asia.