โครงการชวนเพื่อนอ่านหนังสือ

 

โดยเยาวชน เพื่อเยาวชน
ประกวดการเขียนชิงรางวัลทุนการศึกษาครั้งที่ ๑
ประจำปี ๒๕๔๗ รวม ๓๕๐,๐๐๐ บาท
 
FAQ คำถามยอดฮิต
อัพเดทเมื่อ 8 มีนาคม 2547
  1. ถาม: รายชื่อหนังสือ 100 เล่มแนะนำโดยโครงการ เลือกได้เฉพาะการประกวดระดับเข้มข้น ใช่หรือไม่?

 
  2. ถาม : นักเรียนที่ประสงค์จะส่งผลงานการเขียนเข้าประกวดระดับเข้มข้น จะเลือกหนังสือจากรายชื่อหนังสือ 100 เล่มแนะนำโดยโครงการเพียงหนึ่งเล่ม หรือสองเล่ม หรือไม่เลือกหนังสือในรายชื่อ 100 เล่มนี้เลย คือเลือกหนังสือสามเล่มที่ไม่อยู่ในรายชื่อหนังสือ100 เล่มที่แนะนำโดยโครงการเลย เขียนเข้าประกวดได้หรือไม่?

 
  3. ถาม : ชื่อเรื่องผลงานการเขียนส่งเข้าประกวด คือ "เล่มนี้ สิน่าอ่าน" ใช่หรือไม่ ?

 
  4. ถาม : ทำไมจึงกำหนดอายุผู้มีสิทธิส่งผลงานการเขียนเข้าประกวด ไม่ให้เกิน 20 ปี?

 
  5. ถาม : นักเรียนการศึกษาทางเลือก เช่น โฮมสกูล มีสิทธิส่งผลงานการเขียนเข้าประกวดหรือไม่ ?

 
  6. ถาม : ชอบอ่าน "แฮร์รี พอตเตอร์" และ "ลอร์ดออฟเดอะริง" จะแนะนำได้หรือไม่?

 
  7. ถาม : นักเรียนคนหนึ่งจะส่งผลงานการเขียนเข้าประกวดมากกว่าหนึ่งชิ้น ได้หรือไม

 
  8. ถาม : นักเรียนคนหนึ่งจะส่งผลงานเข้าประกวดทั้งระดับทั่วไป และระดับเข้มข้น ได้หรือไม่?

 
  9. ถาม : ความยาวของงานเขียนส่งเข้าประกวดระดับทั่วไป จะยาวมากกว่า 4 หน้ากระดาษ A4 หรือไม่ถึง 4 หน้ากระดาษ A4 ได้หรือไม่

 
  10. ถาม : การเขียนเพื่อส่งเข้าประกวด นอกเหนือไปจากรูปแบบที่เป็นเรียงความแล้ว จะเป็นรูปแบบจดหมาย หรือเรื่องสั้น หรือบทกวี ได้หรือไม่?

 
  11. ถาม : ทำไมต้องระบุชื่อครูผู้รับทราบการส่งงานเขียนเข้าประกวดด้วย ?

 
  12. ถาม : ทำอย่างไร โรงเรียนจึงจะได้รับรางวัลพิเศษ เป็นโล่รางวัล และเงินรางวัล 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาท) เพื่อซื้อหนังสือเข้าโรงเรียน?

 
  13. ถาม : การตั้งชื่องานเขียนที่ส่งเข้าประกวด ต้องตั้งชื่อแบบไหน จึงจะถูกใจกรรมการ?

 
  14. ถาม : เขียนอย่างไร จึงจะได้รางวัล?

 
  15. ถาม : ถ้าส่งเรื่องเข้าประกวดโดยตั้งชื่อว่า "เล่มนี้สิน่าอ่าน" จะถูกตัดคะแนนชื่อเรื่องทั้งหมดเลยหรือไม่?

 
  16. ถาม : โรงเรียนที่มีนักเรียนน้อย ทำอย่างไรจึงจะได้รับรางวัลพิเศษเป็นโล่ และเงินรางวัล 10,000 บาท เพื่อซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด?

 
  17. ถาม : นักเรียนกำลังเรียนอยู่ชั้น ป. 6 จะมีสิทธิส่งงานเขียนเข้าประกวดได้หรือไม่?

 
  18. ถาม : นักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ชั้น ม. 6 ในปีการศึกษา 2546 นี้ และต้องการส่งงานเขียนเข้าประกวด ควรจะทำอย่างไร?

 
  19. ถาม : วิจารณ์ไม่เป็น วิเคราะห์ก็ไม่ได้ แต่อยากส่งผลงานเข้าประกวด จะต้องเขียนแบบไหน?

 
  20. ถาม : ถ้าส่งผลงานเข้าประกวดทางอีเมล แล้วจะทราบได้อย่างไรว่า ผลงานถึงมือโครงการหรือไม่

 
  21. ถาม : อยากส่งผลงานการเขียนเข้าประกวด แต่ไม่มีคอมพิวเตอร์ จะทำอย่างไร

 
  22. ถาม : หนังสือที่เลือกเพื่อแนะนำสองเล่ม (หรือสามเล่ม) จะเป็นเล่ม 1 และเล่ม 2 (หรือเล่ม 3) ของนิยายเรื่องหนึ่ง เช่น ขุนศึก ของไม้เมืองเดิม ได้หรือไม่?

 
  23. ถาม : การประกวด "เล่มนี้สิน่าอ่าน" เกี่ยวข้องกับการ "ชวนเพื่อนอ่านหนังสือ" อย่างไร

 
  24. ถาม : หนังสือบางเรื่องที่มีการจัดพิมพ์หลายฉบับ เช่น คู่มือมนุษย์ มีทั้งฉบับเต็ม ฉบับย่อ ฉบับพกพา ฯลฯ นักเรียนจะต้องเลือกฉบับไหน สำหรับการเขียนแนะนำเข้าประกวด?

 
 
 
  1. ถาม: รายชื่อหนังสือ 100 เล่มแนะนำโดยโครงการ เลือกได้เฉพาะการประกวดระดับเข้มข้น ใช่หรือไม่?
ตอบ: ไม่ใช่ ถึงแม้รายชื่อหนังสือ 100 เล่มแนะนำโดยโครงการ มีกลุ่มเป้าหมายหลักคือนักเรียนผู้จะส่งผลงานเข้าประกวดระดับเข้มข้น แต่นักเรียนที่ต้องการจะส่งผลงานเข้าประกวดระดับทั่วไป ก็สามารถเลือกหนังสือจากรายชื่อหนังสือ 100 เล่มนี้ได้ โดยจะเลือกเพียงเล่มเดียว ทั้งสองเล่ม หรือไม่เลือกเลยก็ได้

กลับขึ้นบน ^

 
  2. ถาม : นักเรียนที่ประสงค์จะส่งผลงานการเขียนเข้าประกวดระดับเข้มข้น จะเลือกหนังสือจากรายชื่อหนังสือ 100 เล่มแนะนำโดยโครงการเพียงหนึ่งเล่ม หรือสองเล่ม หรือไม่เลือกหนังสือในรายชื่อ 100 เล่มนี้เลย คือเลือกหนังสือสามเล่มที่ไม่อยู่ในรายชื่อหนังสือ100 เล่มที่แนะนำโดยโครงการเลย เขียนเข้าประกวดได้หรือไม่?
ตอบ: ได้

กลับขึ้นบน ^

 
  3. ถาม : ชื่อเรื่องผลงานการเขียนส่งเข้าประกวด คือ "เล่มนี้ สิน่าอ่าน" ใช่หรือไม่ ?
ตอบ: ไม่ใช่ ผลงานที่ส่งเข้าประกวด ควรจะได้รับการตั้งชื่อเรื่องที่ไม่ใช่ "เล่มนี้ สิน่าอ่าน" เพราะ "เล่มนี้ สิน่าอ่าน" เป็นชื่อกิจกรรม ในกติกาการส่งงานเขียนเข้าประกวดก็ระบุไว้ด้วยว่า ให้นักเรียนตั้งชื่องานเขียนที่ส่งเข้าประกวดให้น่าสนใจด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ผลงานที่ชนะการประกวด มีชื่อเรื่องน่าสนใจที่ควรจะหลากหลาย (มิใช่ "เล่มนี้ สิน่าอ่าน" ทั้งหมด) เมื่อนำออกเผยแพร่ทั่วไป

กลับขึ้นบน ^

 
  4. ถาม : ทำไมจึงกำหนดอายุผู้มีสิทธิส่งผลงานการเขียนเข้าประกวด ไม่ให้เกิน 20 ปี?
ตอบ: เพราะว่าโครงการนี้เปิดกว้างสำหรับนักเรียนทุกประเภทสถาบันการศึกษา คือ สามัญ อาชีวศึกษา การศึกษานอกโรงเรียน หรือ กศน. และการศึกษาทางเลือก เช่น โฮมสกูล ซึ่งบางสายการศึกษา เช่น กศน. นักเรียนบางคนเป็นผู้ใหญ่ อาจมีอายุ 30 ปี หรือมากกว่าและมีประสบการณ์ระดับผู้ใหญ่ เช่น เป็นเจ้าของกิจการ จึงไม่เหมาะสมและไม่ยุติธรรมที่จะให้เขียนแนะนำหนังสือแข่งกับเยาวชนอายุไม่เกิน 20 ปี

กลับขึ้นบน ^

 
  5. ถาม : นักเรียนการศึกษาทางเลือก เช่น โฮมสกูล มีสิทธิส่งผลงานการเขียนเข้าประกวดหรือไม่ ?
ตอบ: มี

กลับขึ้นบน ^

 
  6. ถาม : ชอบอ่าน "แฮร์รี พอตเตอร์" และ "ลอร์ดออฟเดอะริง" จะแนะนำได้หรือไม่?
ตอบ: ไม่ได้ทั้งสองเล่ม เพราะโครงการชวนเพื่อนอ่านหนังสือ กำหนดให้นักเรียนเลือกหนังสือภาษาไทยตีพิมพ์เป็นเล่มได้ทุกประเภท ยกเว้น ตำรา แบบเรียน หนังสือแปล และหนังสือคู่มือ

กลับขึ้นบน ^

 
  7. ถาม : นักเรียนคนหนึ่งจะส่งผลงานการเขียนเข้าประกวดมากกว่าหนึ่งชิ้น ได้หรือไม่
ตอบ: ไม่ได้

กลับขึ้นบน ^

 
  8. ถาม : นักเรียนคนหนึ่งจะส่งผลงานเข้าประกวดทั้งระดับทั่วไป และระดับเข้มข้น ได้หรือไม่?
ตอบ : ไม่ได้ นักเรียนคนหนึ่งต้องเลือกจะส่งผลงานเข้าประกวดระดับทั่วไป (เลือกหนังสือแนะนำสองเล่ม) หรือระดับเข้มข้น (เลือกหนังสือแนะนำสามเล่ม) เพียงระดับใดระดับหนึ่งเท่านั้น

กลับขึ้นบน ^

 
  9. ถาม : ความยาวของงานเขียนส่งเข้าประกวดระดับทั่วไป จะยาวมากกว่า 4 หน้ากระดาษ A4 หรือไม่ถึง 4 หน้ากระดาษ A4 ได้หรือไม่
ตอบ: ผลงานการเขียนที่ส่งเข้าประกวดระดับทั่วไป จะต้องยาวไม่เกิน 4 หน้ากระดาษ A4 นั่นคือจะยาว 1 หน้า 2 หน้า 3 หน้า หรือ 4 หน้าก็ได้ แต่จะยาวมากกว่า 4 หน้าไม่ได้ กรณีของการประกวดระดับเข้มข้นก็เช่นเดียวกัน ผลงานการเขียนที่ส่งเข้าประกวด จะต้องยาวไม่เกิน 5 หน้ากระดาษ A4 คือยาวตั้งแต่ 1 ถึง 5 หน้าได้ แต่มากกว่า 5 หน้าไม่ได้

กลับขึ้นบน ^

 
  10. ถาม : การเขียนเพื่อส่งเข้าประกวด นอกเหนือไปจากรูปแบบที่เป็นเรียงความแล้ว จะเป็นรูปแบบจดหมายหรือเรื่องสั้นหรือบทกวี ได้หรือไม่?
ตอบ: ได้ การประกวดเปิดกว้างให้นักเรียนเลือกรูปแบบการเขียนแบบไหนก็ได้ ไม่จำเป็นจะต้องเป็น "เรียงความ" จะเป็นรูปแบบของจดหมาย เรื่องสั้น หรือบทกวี จึงได้หมด

กลับขึ้นบน ^

 
  11. ถาม : ทำไมต้องระบุชื่อครูผู้รับทราบการส่งงานเขียนเข้าประกวดด้วย ?
ตอบ: เพราะว่าโครงการชวนเพื่อนอ่านหนังสือ มีเป้าหมาย ส่งเสริมให้โรงเรียน มีส่วนร่วมในการพัฒนาทักษะการอ่านหนังสืออย่างวิเคราะห์วิจารณ์ด้วย และสำหรับนักเรียนทุกคน ที่มีผลงานได้รับรางวัล โรงเรียนก็จะได้รับด้วย

กลับขึ้นบน ^

 
  12. ถาม : ทำอย่างไร โรงเรียนจึงจะได้รับรางวัลพิเศษ เป็นโล่รางวัลและเงินรางวัล 10,000 บาท (หนึ่งหมื่นบาท) เพื่อซื้อหนังสือเข้าโรงเรียน?
ตอบ: โล่และเงินรางวัล 10,000 บาท โครงการชวนเพื่อนอ่านหนังสือ จะมอบให้แก่ โรงเรียนที่มีนักเรียนส่งงานเขียนเข้าประกวดมากที่สุด ไม่ว่าจะมีผลงานได้รับรางวัลหรือไม่ ทั้งระดับทั่วไปและระดับเข้มข้น รวมแล้วเป็นรางวัลพิเศษ 2 ชุด สำหรับการประกวดระดับทั่วไป และระดับเข้มข้น ระดับละ 1 ชุด

กลับขึ้นบน ^

 
  13. ถาม : การตั้งชื่องานเขียนที่ส่งเข้าประกวด ต้องตั้งชื่อแบบไหน จึงจะถูกใจกรรมการ?
ตอบ : ตั้งชื่อให้น่าสนใจ สื่อถึงหนังสือหรือความเด่นของหนังสือที่จะแนะนำ ที่ไม่ควรใช้เป็นชื่องานเขียน คือ "เล่มนี้ สิน่าอ่าน"

กลับขึ้นบน ^

 
  14. ถาม : เขียนอย่างไร จึงจะได้รางวัล?
ตอบ: กรรมการพิจารณาตัดสินผลงานการเขียนที่ส่งเข้าประกวด มีเกณฑ์การให้คะแนนใหญ่ๆ แบ่งเป็นสามส่วนคือ
1. การตั้งชื่อเรื่อง
2. การนำเสนอ (เช่น ความถูกต้องของหลักภาษาไทย, คุณค่าเชิงวรรณศิลป์ของงานเขียนเข้าส่งประกวด, พลังในการชักชวนให้เพื่อนอยากอ่านหนังสือที่แนะนำ ฯลฯ) และ
3. การวิเคราะห์วิจารณ์หนังสือที่เลือกแนะนำ (เช่น การจับประเด็นและสาระหลักของหนังสือ, คุณค่าและประโยชน์ของหนังสือที่แนะนำ ฯลฯ)
คะแนนทั้งสามส่วน มีน้ำหนักคะแนนรวมของแต่ละส่วนเพิ่มขึ้นตามลำดับจากส่วนที่ 1 ถึงส่วนที่ 3

กลับขึ้นบน ^

 
  15. ถาม : ถ้าส่งเรื่องเข้าประกวดโดยตั้งชื่อว่า "เล่มนี้สิน่าอ่าน" จะถูกตัดคะแนนชื่อเรื่องทั้งหมดเลยหรือไม่?
ตอบ: จะถูกตัดคะแนนไปส่วนหนึ่ง แต่ไม่ถึงกับตัดเรื่องนี้ออกจากการพิจารณาไปเล

กลับขึ้นบน ^

 
  16. ถาม : โรงเรียนที่มีนักเรียนน้อย ทำอย่างไรจึงจะได้รับรางวัลพิเศษเป็นโล่และเงินรางวัล 10,000 บาท เพื่อซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด?
ตอบ: โรงเรียนกระตุ้นให้นักเรียนส่งงานเขียนเข้าประกวดให้มากที่สุด โรงเรียนที่มีนักเรียนน้อย แต่เอาใจใส่ส่งเสริมให้นักเรียนได้ส่งผลงานเข้าประกวดได้สะดวก และผลงานเข้าประกวดก็ถูกต้องตามกติกาการประกวด ก็มีโอกาสจะได้รับรางวัลพิเศ

กลับขึ้นบน ^

 
  17. ถาม : นักเรียนกำลังเรียนอยู่ชั้น ป. 6 จะมีสิทธิส่งงานเขียนเข้าประกวดได้หรือไม่?
ตอบ: นักเรียนที่กำลังเป็นนักเรียนชั้น ป. 6 ในปีการศึกษา 2546 มีสิทธิส่งผลงานการเขียนเข้าประกวด แต่ต้องรอจนกระทั่งได้ลงทะเบียนเป็นนักเรียนชั้น ม. 1 ในปีการศึกษา 2547 และให้รีบส่งผลงานในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2547 โดยอย่าลืมระบุชื่อ ชั้นเรียน (ม. 1) และชื่อโรงเรียนให้ชัดเจน

กลับขึ้นบน ^

 
  18. ถาม : นักเรียนที่กำลังเรียนอยู่ชั้น ม. 6 ในปีการศึกษา 2546 นี้ และต้องการส่งงานเขียนเข้าประกวด ควรจะทำอย่างไร?
ตอบ : ให้รีบส่งผลงานเขียนเข้าประกวดในระหว่างที่ยังมีชื่อเป็นนักเรียนชั้น ม. 6 ที่โรงเรียนเดิม ก่อนที่จะลงทะเบียนเป็นนิสิตนักศึกษาในปีการศึกษา 2547 นั่นคือ น่าจะส่งภายในเดือนมีนาคม หรือเมษายน 2547 โดยระบุชื่อโรงเรียนเดิมที่ตนสังกัดอ

กลับขึ้นบน ^

 
  19. ถาม : วิจารณ์ไม่เป็น วิเคราะห์ก็ไม่ได้ แต่อยากส่งผลงานเข้าประกวด จะต้องเขียนแบบไหน?
ตอบ : เขียนแบบที่อยากเล่าให้เพื่อนที่สนิทฟัง เพื่อจูงใจให้เพื่อนอยากอ่านหนังสือที่เลือกแนะนำ โดยเลือกรูปแบบการเขียนที่ชอบมากที่สุด แล้วก็พยายามเรียนรู้เรื่องการวิเคราะห์วิจารณ์หนังสือไปด้วย

กลับขึ้นบน ^

 
  20. ถาม : ถ้าส่งผลงานเข้าประกวดทางอีเมล์ แล้วจะทราบได้อย่างไรว่า ผลงานถึงมือโครงการหรือไม่
ตอบ: ทางโครงการจะสรุปเป็นครั้งคราวไปว่า มีผลงานที่ส่งทางอีเมล์กี่เรื่อง ทางเวบไซต์ของ สกว. (www.trf.or.th) และของสำนักพิมพ์สารคดี (www.sarakadee.com) ที่มีหน้าเกี่ยวกับโครงการชวนเพื่อนอ่านหนังสือ แต่จะให้แน่ใจยิ่งขึ้น ก็ทำได้โดยหลังจากส่งผลงานเข้าประกวดทางอีเมล์แล้ว ให้โทรศัพท์มาที่โครงการที่หมายเลข 0-2991-8969 และ 0-1805-9470 แจ้งว่าได้ส่งผลงานเข้าประกวดมาทางอีเมล์แล้ว ทางโครงการได้รับแล้วหรือยัง

กลับขึ้นบน ^

 
  21. ถาม : อยากส่งผลงานการเขียนเข้าประกวด แต่ไม่มีคอมพิวเตอร์ จะทำอย่างไร
ตอบ: ให้เขียนส่งด้วยลายมือ โดยเขียนให้อ่านง่าย ชัดเจน

กลับขึ้นบน ^

 
  22. ถาม : หนังสือที่เลือกเพื่อแนะนำสองเล่ม (หรือสามเล่ม) จะเป็นเล่ม 1 และเล่ม 2 (หรือเล่ม 3) ของนิยายเรื่องหนึ่ง เช่น ขุนศึก ของไม้เมืองเดิม ได้หรือไม่?
ตอบ: หนังสือของเรื่องที่ประกอบด้วยหนังสือแบ่งเป็นหลายๆ เล่ม เช่น ขุนศึก ไม่ว่าจะเลือกเพื่อแนะนำกี่เล่มในเรื่องนั้น ให้นับเป็นเรื่องเดียวหรือเล่มเดียวเท่านั้นในการเขียนเข้าประกวด ดังนั้นจึงต้องเลือกหนังสือเรื่องอื่นแนะนำให้ครบสองเรื่อง (หรือสามเรื่อง) ด้วย

กลับขึ้นบน ^

 
  23. ถาม : การประกวด "เล่มนี้สิน่าอ่าน" เกี่ยวข้องกับการ "ชวนเพื่อนอ่านหนังสือ" อย่างไร
ตอบ: โครงการชวนเพื่อนอ่านหนังสือ ให้ผู้ส่งผลงานการเขียน "เล่มนี้สิน่าอ่าน" เขียนชักชวนให้เพื่อน (นักเรียน) ด้วยกัน เกิดความสนใจอยากอ่านหนังสือเล่ม (หรือเรื่อง) ที่แนะนำ กลุ่มเป้าหมายหลักของข้อเขียนจึงเป็นเพื่อน(นักเรียนด้วยกัน) มิใช่ผู้ใหญ่โดยทั่วไป

กลับขึ้นบน ^

 
  24. ถาม : หนังสือบางเรื่องที่มีการจัดพิมพ์หลายฉบับ เช่น คู่มือมนุษย์ มีทั้งฉบับเต็ม ฉบับย่อ ฉบับพกพา ฯลฯ นักเรียนจะต้องเลือกฉบับไหน สำหรับการเขียนแนะนำเข้าประกวด?
ตอบ: ให้เลือกฉบับไหนก็ได้ แต่ควรระบุให้ชัดเจนว่าเลือกแนะนำฉบับใด

กลับขึ้นบน ^

 
   


www.sarakadee.com