จากยุโรปถึงสยาม : เที่ยวไปในโลกพิศวงของแผนที่โบราณ

ใครสักคนกล่าวว่า มนุษย์เราเขียนแผนที่เป็นก่อนจะมีการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นมาเสียอีก แถมมันยังเป็นภาษาสากล ที่ไม่ว่าผู้อ่านจะเป็นคนเผ่าพันธุ์ใด เชื้อชาติไหน ก็เข้าใจได้ง่ายกว่าตัวหนังสือ…ช่างพอเหมาะพอดีกับหน้าที่ของมัน ที่มีไว้เพื่อการนำทาง บอกทิศทาง และบอกให้รู้ว่าในพื้นที่หนึ่งๆ มีอะไรตั้งอยู่ตรงไหนบ้าง

ตลอดวิวัฒนาการของเผ่าพันธุ์ พวกเรามนุษย์ไม่เคยหยุดเขียนแผนที่ ค่าที่มันเป็นรูปธรรมของความเข้าใจพื้นที่บนพื้นผิวโลก รวมทั้งทัศนคติทั้งมวลของมนุษย์ผู้วาด ความสามารถทางวิทยาการ และยังมีจิตวิญญาณของยุคสมัยแฝงฝังอยู่

แผนที่จึงเป็นของน่าพิศวง โดยเฉพาะแผนที่โบราณ ซึ่งถูกรังสรรค์ขึ้นก่อนมือของเทคโนโลยีชั้นสูงจะเอื้อมมาถึง

ในวันที่ยุโรปกำลังครึกครื้นกับการผลิตแผนที่ด้วยสเกลและมาตราส่วนที่ “เป็นมาตรฐาน” คนไทยกำลังวาดแผนที่อยู่อย่างเงียบเชียบ–ด้วยวิธีของเราเอง

การค้นพบแผนที่โบราณ ๑๗ ชิ้นในพระบรมมหาราชวังโดยบังเอิญเมื่อ ๑๐ ปีก่อน กำลังจะถูกเปิดเผยในสารคดีเรื่องนี้

กระทิงแห่งผืนป่าทุ่งใหญ่นเรศวร

แฟน ๆ เพชรพระอุมา คงรู้ดีว่า สัตว์ป่าชนิดเดียวที่ทำให้จอมพรานอย่าง รพินทร์ ไพรวัลย์ พลาดท่าเสียทีจนต้องนอนโรงพยาบาลมาแล้ว ก็คือ “กระทิง” เพชฌฆาตร้ายที่พรานทุกคนใฝ่ฝันจะพิชิตมันให้ได้สักครั้งในชีวิต แต่สารคดีเรื่องนี้กลับถ่ายทอดภาพและเรื่องราวของกระทิงในมุมมองใหม่ที่ลบล้างความคิดความเชื่อเก่า ๆ เกี่ยวกับกระทิงจากเรื่องเล่าของพรานป่าและนิยายชีวิตสัตว์อันโลดโผนไปจนสิ้น

วีระวัช ศรีสุข ทุ่มเทเวลาร่วม ๔ ปีเดินทางเข้า-ออกป่าทุ่งใหญ่ฯ ครั้งแล้วครั้งเล่า เพื่อเผยให้เราเห็นภาพชีวิตที่แท้จริงของกระทิงในธรรมชาติที่น้อยคนนักจะได้สัมผัส