tuchchai@hotmail.com
ว่างจากภารกิจ มัสสิมิโนจะมานั่งหน้าคอมพิวเตอร์ของเขาในกระสวยอวกาศ พิมพ์ข้อความที่ต้องการถ่ายทอดให้ผู้ติดตามได้ทราบ
“ขึ้นสู่วงโคจรแล้ว การเดินทางครั้งนี้สุดยอด?! เยี่ยมไปเลยครับ งานหนักแต่ตื่นตากับภาพที่เห็น การผจญภัยครั้งหนึ่งในชีวิตได้เริ่มขึ้นแล้ว?!” – ๑๒ พฤษภาคม ค.ศ. ๒๐๐๙ เวลา ๑๙.๓๓ น.
ข้อความดังกล่าวถูกส่งในระหว่างการเดินทางไปกับกระสวยอวกาศ Atlantis เพื่อปฏิบัติภารกิจซ่อมแซมกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล และติดตั้งอุปกรณ์ใหม่เพิ่มเป็นครั้งที่ ๕ และเป็นครั้งสุดท้ายที่เรียกย่อ?ๆ ว่า STS-125 (หลังจากเคยเลื่อนภารกิจมาแล้วเมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม ค.ศ. ๒๐๐๘) ไมก์ มัสสิมิโน (Mike Massimino) ก็ได้รับการบันทึกว่าเป็นนักบินอวกาศคนแรกที่ทวีตข้อความจากอวกาศลง Twitter.com เว็บไซต์มาแรงแห่งปีที่ถูกขนานนามว่าเป็น “โทรเลขแห่งอินเทอร์เน็ต” ในชื่อว่า @Astro_Mike
เมื่อกลับมายังโลก มัสสิมิโนยังคงพิมพ์ข้อความส่งอย่างสม่ำเสมอระหว่างทำกิจวัตรประจำวัน ถึงขณะนี้มีผู้ติดตามการทวีตของเขากว่า ๑ ล้านคนแล้ว ปัจจุบันกลายเป็นบุคคลที่มีผู้ติดตามใน Twitter มากเป็นอันดับ ๑๓๙ ของโลก และเป็นอันดับ ๑ ในฮุสตันบ้านเกิดของเขา ผลตอบรับดังกล่าวเกิดขึ้นในระยะเวลาไม่ถึง ๑ ปีในเว็บเครือข่ายสังคมแห่งนี้ ซึ่งปรกติมักเกิดกับคนดัง ศิลปิน หรือนักการเมือง
ไมก์ มัสสิมิโน เป็นชาวอเมริกัน เคยทำงานวิจัยด้านวิศวกรรมการบินและอวกาศให้แก่บริษัทชั้นนำหลายแห่ง ปัจจุบันมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่ Georgia Institute of Technology เขาใฝ่ฝันอยากจะเป็นนักบินอวกาศตั้งแต่เด็กเมื่อครั้งได้เห็น นีล อาร์มสตรอง เหยียบพื้นผิวดวงจันทร์ และก็สมหวังหลังจากได้รับการคัดเลือกให้เป็นนักบินอวกาศ
จากองค์การนาซาในปี ๑๙๙๖
เดิมทีนักบินอวกาศผู้นี้เริ่มส่งข้อความผ่าน Twitter ในวันที่ ๑ เมษายน ค.ศ. ๒๐๐๙ เพื่อเล่าถึงการฝึกฝนก่อนจะเดินทางไปกับกระสวยอวกาศ มีผู้สนใจติดตามมากขึ้นเรื่อย?ๆ จนมีจำนวนสูงถึง ๒๕๒,๐๐๐ คนก่อนวันที่เขาจะปฏิบัติภารกิจเสียอีก การเดินทางในระหว่างวันที่ ๑๑-๒๔ พฤษภาคม ค.ศ. ๒๐๐๙ ร่วมกับทีมนักบินอีก ๖ คน นับเป็นการขึ้นสู่ห้วงอวกาศเป็นครั้งที่ ๒ หลังจากเคยปฏิบัติงานซ่อมกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเมื่อปี ๒๐๐๒ กับกระสวยอวกาศ Columbia ถ้าจะนับตามสถิติกันจริง?ๆ เขาไม่ใช่นักบินอวกาศคนแรกที่ทวีตข้อความ แต่จะโดยตั้งใจหรือโดยธรรมชาติของมัสสิมิโนเองก็ตาม การรายงานเรื่องราวการปฏิบัติภารกิจนอกโลกอย่างต่อเนื่องทำให้ข้อความของเขาได้รับการตอบรับอย่างล้นหลาม
ในช่วงเวลาบนอวกาศ แม้จะมีตารางการทำงานตลอดทั้งวัน โดยต้องออกไปซ่อมแซมส่วนต่าง?ๆ ภายนอกยานร่วม ๕ ครั้ง ซึ่งถือว่าเสี่ยงอันตรายและอาจเกิดอุบัติเหตุได้ทุกเมื่อ แต่เขาก็สามารถหาเวลาว่างมาพิมพ์ข้อความบอกเล่าประสบการณ์อันน่าตื่นตาตื่นใจในภารกิจของตน หรือบรรยายภาพอันสวยงามนอกชั้นบรรยากาศโลกให้ผู้ติดตามได้ทราบอยู่เรื่อย?ๆ รวมถึงภาพถ่ายโลกจากมุมมองในกระสวยอวกาศที่หาชมได้ยากยิ่ง
ภาพถ่ายจากนอกโลกที่ถ่ายโดย มัสสิมิโน และนำมาให้ชมใน Twitter
ภาพมัสสิมิโน ใน Twitter
ต่อไปนี้คือข้อความบางส่วนของเขาผ่าน Twitter
“ขึ้นสู่วงโคจร : ได้รับโทรศัพท์จากท่านประธานา-ธิบดีโอบามา ถือเป็นเรื่องดีของพวกเรา และความปรารถนาดียิ่งของท่าน” – ๒๑ พฤษภาคม ๒๐๐๙
“เพิ่งกลับถึงบ้านหลังจากลงสู่แคลิฟอร์เนีย ภารกิจ
ครั้งนี้สุดยอดครับ แต่ที่สำคัญคือเรากลับมาอย่างปลอดภัย ซ่อมฮับเบิลได้ทั้งหมดแล้ว”-๒๔ พฤษภาคม ๒๐๐๙
“วันนี้อีเมลเยอะมาก กำลังไล่อ่านอยู่ ตอนนี้ได้เวลากินพิซซ่าแล้ว-คุณเชื่อไหมเราไม่ได้กินพิซซ่าในอวกาศหรอกนะ??” – ๒๘ สิงหาคม ๒๐๐๙
นับเป็นอีกครั้งที่ข้อความสั้น?ๆ ของคนคนเดียวบน Twitter สร้างกระแสข่าวได้ ไม่ต่างจากที่ข่าวบันเทิงบ้านเราทุกวันนี้ก็เริ่มจะหาข่าวจากดาราที่ส่งข้อความใน Twitter กันแล้ว และข่าวจำพวกนี้ก็มาเร็วไปเร็ว
สำหรับนักบินอวกาศ ในยามที่ใช้ชีวิตปรกติบนโลก พวกเขามีกิจวัตรไม่ต่างกับเรา?ๆ ท่าน?ๆ แต่สิ่งที่ทำให้ผู้คนสนใจก็เพราะอาชีพนี้น้อยคนจะได้สัมผัสหรือมีประสบการณ์เกี่ยวข้อง และการตามติดชีวิตพวกเขาผ่าน Twitter ก็ได้ทำให้ภาพลักษณ์เดิม?ๆ ที่คนทั่วไปมองว่านักบินอวกาศอยู่ไกลเกินเอื้อมหมดไป ผู้คนได้ใกล้ชิดพวกเขามากขึ้นจากภาษาในการทวีตที่เข้าถึงง่าย เล่าถึงกิจวัตรต่าง?ๆ ที่ดูมีความเป็นมนุษย์มากกว่าจะมีแต่ข้อมูลหรือภาพจากเว็บไซต์องค์การนาซา
แต่ใช่ว่าการส่งข้อความของนักบินอวกาศวัย ๔๗ ปีผู้นี้จะได้รับการตอบรับในแง่ดีตลอด หลังจากมีข่าวออกมาว่าวิธีการทวีตของมัสสิมิโนคือการส่งอีเมลข้อความมายังเพื่อนที่ทำงานในศูนย์ควบคุมปฏิบัติการขององค์การนาซาที่เมืองฮุสตัน รัฐเทกซัส เพื่อทำการส่งข้อความดังกล่าวไปลง Twitter ทำให้หลายคนจับผิดว่ามันไม่ใช่การ “ทวีต” ผ่านอวกาศจริง?ๆ
เหตุผลที่ทำให้เขาต้องทำเช่นนั้น ก็เพราะการใช้อินเทอร์เน็ตในกระสวยอวกาศ* นาซายังไม่อนุญาตให้ใช้เว็บไซต์อย่าง Twitter รวมถึงแอปพลิเคชันอื่น?ๆ ที่ใช้ร่วมกันอย่าง TweetDeck บนยานอวกาศได้ ที่สำคัญตัวเขาเองก็ไม่ได้มองว่าเทคนิคการส่งแบบไหนคือของจริง มัสสิมิโนได้ออกมาแถลงว่าสิ่งที่เขาทำนั้นเพียงเพราะรู้สึกสนุกและอยากแชร์ประสบการณ์ล้ำค่านี้ให้คนอื่นมีส่วนร่วมด้วย ไม่เฉพาะกับเพื่อนร่วมงานเท่านั้น ซึ่งเขาก็ยังแปลกใจในผลตอบรับกลับมา “ผมทวีตเพราะรู้สึกว่าตัวเองโชคดีจริง?ๆ โดยส่วนตัวนี่เป็นงานที่ดีที่สุดในโลก” เขากล่าว ทั้งยังทวีตขอบคุณผู้ติดตามอีกด้วยว่า “ผมได้เรียนรู้ว่ามีคนมากมายทั่วโลกที่รักเรื่องราวเกี่ยวกับอวกาศมาก?ๆ และฝันว่าจะได้เดินทางไปนอกโลกเหมือนกับผม”
แต่ไม่ว่าใครจะมองว่าการส่งข้อความของเขาเป็นการทวีตหรือไม่นั้น การกระทำของมัสสิมิโนถือเป็นตัวอย่างที่ดีอีกครั้งในประสิทธิภาพของ Twitter เช่นเดียวกับที่โทรเลขแห่งอินเทอร์เน็ตนี้ทำให้หลายคนทั่วโลกสามารถติดตามหรือสื่อสารกับคนดัง นักแสดง นักการเมือง รวมไปถึงบุคคลในสาขาอาชีพต่าง?ๆ ที่เคยคิดว่า “เข้าไม่ถึง” มิหนำซ้ำงานอดิเรกยามว่างจากภารกิจของเขายังทำให้เพื่อนร่วมงานที่เป็นนักบินอวกาศอีกหลายคนร่วมทวีตด้วย เช่น มาร์ก โปลันสกี (ใช้ชื่อว่า @Astro_127) เจฟฟ์ วิลเลียมส์ (@Astro_Jeff) นิโคล สกอตต์ (@Astro_Nicole) เป็นต้น นอกจากนี้ทางองค์การนาซาเองยังเปิด Twitter ของตัวเองในชื่อ NASA_Astronauts
เรื่องของ @Astro_Mike อาจเป็นการตอบสนองจินตนาการของผู้คนที่ฝันอยากไปท่องจักรวาลเช่นเดียวกับเขาสักครั้ง อย่างน้อย?ๆ วงการดาราศาสตร์ก็อาจจะพบช่องทางที่ทำให้เรื่องที่ดูยาก เหินห่างจากคนบนโลก น่าสนใจติดตามกันมากกว่าเดิมก็เป็นได้
เชิงอรรถ
*ในอวกาศสามารถส่งอินเทอร์เน็ตได้อย่างไร?? คำตอบคือองค์การนาซาร่วมกับ วินต์ เคิร์ฟ (Vint Curf) ผู้บุกเบิกเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (ปัจจุบันเป็นรองประธานบริษัท Google) ได้พยายามพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการส่งอินเทอร์เน็ตระหว่างดวงดาวมาเป็นเวลาร่วม ๑๐ ปีแล้ว และเพิ่งประสบความสำเร็จระหว่างเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ค.ศ. ๒๐๐๘ ในการใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการสื่อสารจากกระสวยอวกาศที่อยู่ห่างจากโลกเป็นระยะทางไกลถึง ๒๐ ล้านไมล์ ในเวลา ๒๐ นาที ด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า DTN หรือ disruption-tolerant networking
ระบบนี้แตกต่างจาก TCP/IP ซึ่งเป็นมาตรฐานการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตที่ใช้กันบนโลก เพราะมันถูกออกแบบสำหรับการรับ-ส่งข้อมูลอินเทอร์เน็ตที่สัญญาณมักขาดช่วง ไม่มีความต่อเนื่องในการเชื่อมต่อสัญญาณเป็นระยะเวลานาน อันเป็นลักษณะทั่วไปที่เกิดขึ้นได้ในอวกาศ แต่ระบบนี้จะทำการเก็บข้อมูลเดิมไว้เมื่อเกิดกรณีดังกล่าว และทำการส่งข้อมูลไปอีกครั้งเมื่อรับสัญญาณได้ใหม่ โดยใช้สัญญาณดาวเทียมเป็นตัวส่งสัญญาณ
ซ้าย : Google Sky , ขวา : Worldwide Telescope มีเว็บไซต์มากมายที่นำเสนอเรื่องราวในแวดวงดาราศาสตร์ทั้งไทยและต่างประเทศ แต่ที่น่าสนใจคือผู้นำธุรกิจอย่างกูเกิลและไมโครซอฟต์ต่างทำเว็บไซต์จำลองอวกาศที่เรียกว่า “กล้องโทรทรรศน์ออนไลน์” ในเวลาไล่เลี่ยกัน โดยกูเกิลนั้นมี Google Sky (เปิดตัวเมื่อสิงหาคม ค.ศ. ๒๐๐๗) เป็นการพัฒนาและถือเป็นส่วนเสริมจากโปรแกรม Google Earth ที่ประสบความสำเร็จไปแล้ว ส่วนไมโครซอฟต์มีโปรแกรมที่เรียกว่า Worldwide Telescope (เปิดตัวเมื่อกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๒๐๐๘) ซึ่งสามารถเปิดดูได้เพียงติดตั้งโปรแกรม Microsoft Silverlight ลงในเครื่องก่อน ทั้งสองบริษัทยักษ์ใหญ่ยังเปิดให้บริการฟรี โดยมีจุดเด่นคล้ายคลึงกันคือแสดงภาพอวกาศจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลให้เปิดชมได้โดยรอบ และยังสามารถซูมภาพเข้าออกได้อีกด้วย ถึงตอนนี้ Worldwide Telescope มีผู้เปรียบเทียบว่าภาพคมชัดกว่า Google Sky แต่ในอีกด้านกูเกิลได้ออกส่วนเสริมอื่น?ๆ ที่น่าสนใจมาช่วยต่อยอดอย่าง Google Moon และ Google Mars ทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ร่วมเติมข้อมูลเข้าไปได้มากกว่า ทั้งนี้ผู้สนใจสามารถเข้าไปเลือกชมได้ที่ google.com/sky และ worldwidetelescope.org |