เรื่อง : ขวัญใจ เอมใจ | ภาพ : บุญกิจ สุทธิญาณานนท์
โรงพยาบาล บางกระทุ่ม เป็นโรงพยาบาลขนาด ๓๐ เตียง ของอำเภอ บางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก โดยทั่วไปแล้ว ก็ไม่ต่างไปจากโรงพยาบาลประจำอำเภอ ที่มีกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศมากนัก แต่ในวันนี้เมื่อมีคนไข้คนหนึ่ง เดินเข้ามาที่โรงพยาบาลบางกระทุ่ม และได้รับการตรวจวินิจฉัยอาการ ด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันแล้ว แทนที่การถือใบสั่งยา ไปรอรับยาที่ห้องจ่ายยาด้านนอกเหมือนเช่นเดิม แพทย์จะเสนอทางเลือกใหม่ให้คนไข้ด้วยการเสนอการรักษาแบบการแพทย์แผนไทย (ซึ่งอันที่จริงนั้น ก็เป็นหนทาง แห่งสุขภาพ ที่มีมาเนิ่นนานแล้ว ในสังคมไทย) ไม่ว่าจะเป็น การใช้ยาสมุนไพร การนวด การอบ โดยจะชี้ ข้อดี ข้อเสีย ให้คนไข้ทราบ ก่อนตัดสินใจเลือกด้วยตัวเอง
วัตถุดิบ ที่นำมาใช้ผลิตยาสมุนไพร ข้อดีประการสำคัญที่คนไข้ของโรงพยาบาล บางกระทุ่ม ซึ่งส่วนใหญ่วัตถุดิบ ที่นำมาใช้ผลิตยาสมุนไพร ก็คือ ชาวบ้าน ในละแวกอำเภอ บางกระทุ่มนั้น เองเล็งเห็น ก็คือ ราคาของยา สมุนไพร ที่ถูกกว่า “ยาฝรั่ง” ประมาณ ๓-๘ เท่า! ในขณะที่ ความเชื่อมั่น ในประสิทธิภาพ ของยาสมุนไพร ในการรักษา ความป่วยไข้ อันเคยเป็น จุดอ่อน ประการสำคัญ ของ การแพทย์แผนไทย ในท่ามกลาง การครอบครองพื้นที่สุขภาพ ของ “ยาฝรั่ง” — การแพทย์ แผนปัจจุบัน
การรักษาแบบ องค์รวม ทั้งอาการทางกาย และทางใจ: พูดคุย นวดสัมผัส ทำสมาธิ
ในขณะที่ความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของยาสมุนไพรในการรักษาความป่วยไข้ อันเคยเป็นจุดอ่อนประการสำคัญของการแพทย์แผนไทย ในท่ามกลางการครอบครองพื้นที่สุขภาพ ของ “ยาฝรั่ง” — การแพทย์ แผนปัจจุบัน
การรักษาแบบองค์รวมทั้งอาการทางกาย และทางใจ: พูดคุย นวดสัมผัส ทำสมาธิมาถึงวันนี้ ยาสมุนไพร ก็ไม่ได้ด้อยไปกว่ายาแผนปัจจุบันอีกต่อไป เนื่องจากยาสมุนไพรที่โรงพยาบาลบางกระทุ่ม นำมาใช้นี้ได้ผ่านการศึกษาวิจัยภายใต้การสนับสนุนของสถาบันการแพทย์แผนไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย และศูนย์พันธุวิศวกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ภายใต้โครงการ BRT มาแล้ว
การรักษาแบบแพทย์แผนไทยนั้น เป็นการรักษาแบบองค์รวมที่ไม่เพียงแต่รักษาโรคภัยไข้เจ็บทางกาย หากบำบัดทางใจร่วมไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุย ปรับทุกข์ การทำสมาธิ เพราะสิ่งที่หมอยาพื้นบ้านในระบบการแพทย์แผนไทยแต่ดั้งเดิมมองเห็นนั้น ไม่เพียงเป็นเรื่องของโรคภัยไข้เจ็บ แต่ยังมองเห็น “คน” ที่เจ็บไข้ด้วย
อย่างไรก็ตามสิ่งที่โรงพยาบาลบางกระทุ่มนำมาเสนอเป็นทางเลือกแก่ชาวบ้าน ในวันนี้ยังต้องพิจารณาถึงข้อดี ข้อเสียของการแพทย์แต่ละแผนอีกด้วย
พญ.ดวงรัตน์ เชี่ยวชาญวิทย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล กล่าวว่า “แต่ละแผนก็เหมาะกับโรคบางอย่างไม่เหมือนกัน อย่างการแพทย์แผนไทยนั้น การรักษาก็จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป ในขณะที่แผนปัจจุบันจะรวดเร็วกว่า ซึ่งก็เหมาะกับบางโรค สมมุติว่าโรคที่ไม่รุนแรงอะไร เราก็ใช้ยาสมุนไพรก็จะได้ผล แต่ถ้าหากเป็นโรคที่ติดเชื้อรุนแรง หมอก็จะใช้ยาแผนปัจจุบัน อย่างคนไข้โดนแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวกมา ถ้าเป็นแผนปัจจุบันก็คือ ต้องฉีดยาฆ่าเชื้อแล้วก็ทำแผล ทีนี้เราก็นำมาผสมผสานกัน คือ เมื่อตรวจด้วยแผนปัจจุบันแล้วก็ฉีดยาฆ่าเชื้อเหมือนเดิม แต่ว่าเราใช้สมุนไพร คือว่านหางจระเข้มาทำแผลให้คนป่วย เป็นการผสมผสานและลดค่าใช้จ่าย เพราะยาแผนปัจจุบันที่ทาแผลจะแพงมาก กระปุกนึงตั้ง ๒,๐๐๐-๓,๐๐๐ บาท ในขณะที่เราใช้ว่านหางจระเข้ ราคาไม่กี่สิบบาทก็ได้ผลเหมือนกัน”
เราใช้สมุนไพร คือว่านหางจระเข้ มาทำแผลให้คนป่วยเป็นการผสมผสาน และลดค่าใช้จ่าย เพราะยาแผนปัจจุบันที่ทาแผล จะแพงมาก กระปุกนึง ตั้ง ๒,๐๐๐-๓,๐๐๐ บาท ในขณะที่ เราใช้ว่านหางจระเข้ราคาไม่กี่สิบบาท ก็ได้ผลเหมือนกัน
ซ้าย : วัตถุดิบ ที่นำมาใช้ผลิตยาสมุนไพร / ขวา : ตักผงตัวยา ขี้เหล็กแห้งบดละเอียด ใส่แคปซูล
ซ้าย : เทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่ใช้ในการผลิต / ขวา : หลังการตรวจ คนไข้มีสิทธิ์เลือกวิธีการรักษา
ไม่เพียงแต่รักษาเท่านั้น ที่โรงพยาบาลบางกระทุ่ม ยังผลิตยาสมุนไพรเองด้วย ทั้งเพื่อใช้เองในโรงพยาบาล และจำหน่ายไปตามโรงพยาบาลชุมชน และสถานีอนามัยในเขตภาคเหนือที่สนใจ โดยจะขยายพันธุ์พืชสมุนไพร แล้วให้ชาวบ้านในพื้นที่มารับไปปลูก โดยควบคุมเรื่องการใช้สารเคมีอย่างเคร่งครัด และจะรับซื้อคืนจากชาวบ้านในราคารับซื้อที่แน่นอน ในราคารับซื้อนี่เองที่จะถูกหักเอาไว้ กิโลกรัมละ ๑ บาท เพื่อนำเงินที่ได้ มาเข้าชมรมผู้สนใจสมุนไพรของอำเภอบางกระทุ่ม ที่ถึงวันนี้มีสมาชิกถึง ๗๐ กว่าคนแล้ว ชมรมนี้จะทำหน้าที่รวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรพื้นบ้าน ที่เคยกระจัดกระจายอยู่มารวบรวมเอาไว้เป็นหนึ่งเดียว แล้วตรวจสอบ แลกเปลี่ยน พูดคุย และแบ่งปันข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร ที่แต่ละคนเคยรู้ เคยเห็น และเคยใช้มา และจากการประชุม ชาวบ้านในชมรมผู้สนใจสมุนไพรแห่งอำเภอบางกระทุ่ม ยังสะท้อนให้เห็นว่าภูมิปัญญาและองค์ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรที่เคยมีอยู่ และใช้กันในชีวิตประจำวันได้สูญหายไป แทบจะไม่เหลือแล้ว ทั้งนี้ก็เพราะ ขาดการเชื่อมต่อการส่งผ่านจากคนรุ่นหนึ่ง สู่คนอีกรุ่นหนึ่ง
นายแพทย์ประเวศ วะสี เคยกล่าวว่าในปี ๒๕๔๐ ที่ผ่านมา ประเทศไทยเสียค่าใช้จ่ายเรื่องสุขภาพประมาณ ๒๕๐,๐๐๐ ล้านบาท ค่าใช้จ่ายนี้เพิ่มขึ้นด้วยอัตราประมาณ ๑๖ % ต่อปี เป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน โดยเสียเป็น ค่ายา และเทคโนโลยีจากต่างประเทศเสียเป็นจำนวนมาก โดยยกตัวอย่างที่น่าสนใจคือ ในปีนึงๆ ไทยเราสั่งยาถ่าย เข้ามาจากต่างประเทศจำนวนหลายตัน หมอประเวศตั้งคำถามที่น่าสนใจว่า ทำไมแค่เอาอุจจาระออกจากท้องคนไทยเราต้องเอาเงินไปให้ต่างประเทศมากเพียงนั้น ในขณะที่เรามีพืชที่จะมาทำยาระบายได้มากมาย เช่น ใบระกา แก่นขี้เหล็ก ฝัก ราชพฤกษ์ มะขามแขก ฯลฯ และยังยกตัวอย่างอีกว่า ขมิ้นชัน นั้นใช้เป็นยาแก้ปวดท้องได้ผลมากกว่า ยาลดกรด และอาจป้องกันมะเร็งได้ด้วย ครีมพญายอ ใช้สำหรับโรคเริม และงูสวัด ได้ดีกว่ายาฝรั่งที่ดีที่สุด และแพงที่สุดสำหรับโรคนี้ ฯลฯ
และยังมีข้อมูลที่น่าสนใจระบุว่า ถ้าโรงพยาบาลของรัฐทั่วประเทศหันมาใช้แพทย์แผนไทยร่วมในการรักษาพยาบาลด้วย จะสามารถประหยัดงบประมาณได้ถึงปีละ ๒ หมื่นล้านบาททีเดียว
นี่อาจเป็นหนทางเล็กๆ ทางหนึ่งที่โรงพยาบาลของรัฐแห่งหนึ่งจะพึงกระทำเพื่อช่วยชาติ และช่วยเหลือชาวบ้าน ในปี พ.ศ.ที่เศรษฐกิจไทยตกสะเก็ดเช่นนี้
ในอีกทางหนึ่ง การกลับคืนมาของยาสมุนไพรในรูปแบบใหม่ๆ ในสถานพยาบาลของรัฐ ภายใต้การควบคุมดูแล และวินิจฉัยของแพทย์แผนปัจจุบัน ก็ดูจะสร้างความเชื่อมั่น ศรัทธา ให้ชาวบ้านได้อย่างเต็มเปี่ยม
ความสะดวกรวดเร็ว ความน่าเชื่อถือ และความประหยัด ที่โรงพยาบาลบางกระทุ่มนำมาเสนอเป็นทางเลือกให้แก่คนไข้ในวันนี้ จึงเป็นสิ่งที่ผู้คนในชุมชนเล็กๆ แห่งนี้ศรัทธาและขานรับกันอย่างเต็มใจ ไม่เพียงเท่านั้น การเปิดโอกาสให้ชาวบ้านเองได้เข้ามามีส่วนร่วม และแสดงบทบาทในการจรรโลง สืบทอดองค์ความรู้นี้ร่วมกับโรงพยาบาล ยังเป็นโอกาสอันสำคัญสำหรับชาวบ้านที่จะก้าวเข้ามามีสิทธิ์มีเสียงในสุขภาพอนามัยของตนเอง แทนการทอดภาระนั้นไว้ให้อยู่ในมือแพทย์ และรัฐเหมือนเช่นอดีต
เป็นโอกาส เป็นทางเลือกของชาวบ้านที่จะเป็นเจ้าของชีวิตตนเองโดยแท้