My ASEAN Hero เมื่อสามัญชนเลือกคนสาคัญ
พูดถึง “คนสำคัญ” หรือ “วีรบุรุษ” หลายคนอาจนึกถึงแบบเรียนเรื่อง “บุคคลสำคัญ” สมัยประถม-มัธยมในทางประวัติศาสตร์ บุคคลเหล่านี้เป็นแรงบันดาลใจทั้งในทาง “ส่วนตัว” และเป็น “ความทรงจำร่วม” ของคนในสังคมเดียวกัน นอกจากนั้นอาจจะหมายถึง “แบบอย่าง” ของคนในสังคมนั้น ๆ
ทว่าที่ผ่านมา “รัฐ” มักเป็นผู้กำหนดความทรงจำร่วมชุดนี้ โดยที่ “ประชาชน” ต้องท่องตามโดยไม่มีโอกาสเลือก
ในโอกาสที่กระแส “อาเซียนฟีเวอร์” เชี่ยวกรากในสังคมไทย สารคดี “ย้อนทาง” สำรวจความทรงจำเรื่อง “คนสำคัญ” ของ “พลเมืองอาเซียน” ๑๐ ประเทศ โดยให้เขาและเธอเลือกคนสำคัญของประเทศที่อยากให้เพื่อนชาวอาเซียนอีก ๙ ประเทศรู้จัก
ลองฟัง “คนสามัญ” เลือก “คนสำคัญ” ของอาเซียนดูสักครั้งเพื่อที่จะรู้จักเพื่อนบ้านในภูมิภาคเดียวกันมากขึ้น
เด็กชายลูกผู้ชาย ชีวิตที่แตกต่างบนเส้นทางสู่เกียรติยศ
ขณะเด็กชายทั่ว ๆ ไปเลิกเรียนแล้วได้เตะบอลจนฟ้ามืด กลับบ้านนอนดูโทรทัศน์ โทรศัพท์คุยกับแฟน และอาจปิดท้ายด้วยการเล่นเกมรอบดึก เด็กชายเหล่านี้กลับมีวิถีชีวิตต่างออกไป
ไม่ว่าด้วยเหตุผลใด เด็กชายวัยมัธยมจำนวนมากอาศัยอยู่ที่โรงเรียนกวดวิชาเหมือนเป็นบ้านอีกหลังหนึ่ง บ้านซึ่งเคี่ยวกรำพวกเขาให้กลายเป็น “เด็กชายลูกผู้ชาย” และใช้ชีวิตต่างไปจากเด็กอื่น ๆ วัยเดียวกัน
ชีวิตในโรงเรียนกวดวิชาของเด็กชายเหล่านี้เป็นดั่งคำขวัญซึ่งปรากฏเด่นบนผนังอาคารเรียน
“ทางสู่เกียรติศักดิ์ จักประดับดอกไม้ หอมยวนชวนจิตไซร้ ไป่มี ”
กุมภาพันธ์นี้ สารคดี เปิดพื้นที่ให้นักเขียนและช่างภาพจากค่ายนักเขียนสารคดีครั้งที่ ๘ ประจำปี ๒๕๕๕ ได้เสนอมุมมองคนรุ่นใหม่ต่อผู้อ่านอีกครา โดยให้พวกเขาพาไปเปิดประตู “โรงเรียนกวดวิชาเตรียมทหาร” หรือ “คาเด็ต” โรงเรียนที่พ่อแม่เสียเงินให้คนมาตะโกนใส่หน้าลูก เรื่องราวของเด็กชายวัย ๑๒-๑๘ ปีเหล่านี้จะเผยให้เห็นว่า ราคาของเกียรติยศต้องแลกมาด้วยชีวิตที่แตกต่างกว่าเช่นไร