Walk to Save Maewong บันทึกก้าวต่อก้าว เดินคัดค้าน EHIA เขื่อนแม่วงก์
ก่อนฟ้าสางของอังคารที่ ๑๐ กันยายน ๒๕๕๖ ศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร และผู้ร่วมอุดมการณ์สี่ห้าคน ออกเดินจากป่าแม่วงก์ มุ่งหน้าเข้ากรุงเทพฯ
ตัวแทนคนอนุรักษ์กลุ่มหนึ่งทำสิ่งที่มีคนคิดว่าบ้า ด้วยการเดินเท้า ๓๐๐ กว่ากิโลเมตร ใช้เวลา ๑๓ วัน พักหลับนอนตามวัดหรือโรงเรียน เพื่อเรียกร้องให้สังคมหันมาตระหนักถึงข้อบกพร่องของรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ-อีเอชไอเอ (EHIA : Environment Health Impact Assessment) ที่จะนำไปสู่การอนุมัติสร้างเขื่อนแม่วงก์ในพื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ นครสวรรค์
จากก้าวแรกถึงก้าวสุดท้ายที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร คลื่นมวลชนเพิ่มจำนวนขึ้นหนาตา และเหตุการณ์นี้ถือเป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ของขบวนการอนุรักษ์เมืองไทย เมื่อคนทุกเพศทุกวัยออกมาร่วมกันแสดงพลังคัดค้านการกระทำอันจะนำไปสู่การรุกล้ำ-รุกรานป่าไม้
จากก้าวเล็ก ๆ ในราวป่า กลายเป็นแสนก้าว ล้านหยดเหงื่อที่ปลุกขบวนการอนุรักษ์เมืองไทยตื่นขึ้น
กราฟฟิตี : พิธีกรรมของคนสองโลก
ผลงานสารคดีที่สร้างสรรค์โดยเยาวชนจาก “ค่ายสารคดี” ประจำปี ๒๕๕๖ เรื่องนี้จะนำคุณผู้อ่านไปสัมผัสกับเบื้องหลังของภาพกราฟฟิตีตามผนังอาคารหรือสิ่งก่อสร้างที่หลายคนอาจเคยพบเห็นและตั้งคำถาม
ใช่หรือไม่ว่า นี่คือผลงาน “ศิลปะ” หรือเพียงการระบายอารมณ์
ใช่หรือไม่ว่า ผู้วาดภาพคือ “ศิลปิน” หรือเพียงวัยรุ่นคึกคะนอง
กราฟฟิตีคืออะไรแน่ แล้วใครคือผู้วาดภาพเหล่านี้ให้ปรากฏในชั่วข้ามคืน
เบื้องหลังชีวิตและการทำงานกว่าจะเป็นกราฟฟิตี อาจทำให้คุณเปลี่ยนมุมมองในครั้งต่อไปที่เห็นภาพเหล่านั้น