Road to Reading Society เส้นทางสร้างสังคมการอ่าน
องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ประกาศให้กรุงเทพมหานครได้รับตำแหน่งเมืองหนังสือโลก (Bangkok World Book Capital 2013) ตั้งแต่วันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๕๖ ถึง ๒๒ เมษายน ๒๕๕๗ นับเป็นเมืองหนังสือโลกลำดับที่ ๑๓
นอกเหนือจากการขับเคลื่อนของกรุงเทพมหานครตาม “พันธะสัญญา” ว่าเมืองที่ได้รับตำแหน่งต้องส่งเสริมการอ่านให้สมกับโอกาสและศักดิ์ศรีที่ได้รับ เหลียวมองไปในหลายพื้นที่ยังมีบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอีกไม่น้อยที่พยายามสร้างสังคมการอ่านขึ้นมาแล้ว เป็นความพยายามของคนตัวเล็ก ๆ ก่อนหน้าที่กรุงเทพฯ จะได้รับมอบตำแหน่งใหญ่ระดับโลกเสียอีก
สารคดีพิเศษฉบับนี้จะนำผู้อ่านเปิดโลกสังคมการอ่านของไทย แนะนำให้รู้จักผู้ที่กำลังทำงานด้วยความฝัน ความรัก ตามหนทางที่ตัวเองถนัดและเลือกแล้ว เพื่อให้คนไทยอ่านหนังสือกันมากขึ้น
“ปาย” (ประเทศ) ของเรา เรื่องเล่าจาก “พลเมืองปาย”
ช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเป็นที่รู้กันว่าเมื่อลมหนาวมาเยือนเมืองไทยช่วงปลายปี “ปาย” หรืออำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอนจะคลาคล่ำด้วยนักท่องเที่ยวทั้งไทยและเทศจำนวนมหาศาล
และช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเช่นกันที่นักวิชาการและคอลัมนิสต์มากมายนำเสนอผลการศึกษาวิจัย มุมมอง และรายงานหลายชิ้นต่อความเปลี่ยนแปลงของ “ปาย” อำเภอไกลปืนเที่ยงที่กลายเป็น “มักกะฮ์ของนักเดินทาง” ไม่ว่าด้านสังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม จนมาถึงข้อสรุปด้วยคำกล่าวว่า “ปายเละแล้ว”
ทว่าช่วง ๓ สัปดาห์นอกฤดูกาลท่องเที่ยวที่ สารคดี ทำความรู้จักเมืองปาย เรากลับพบโครงเรื่องที่มากกว่ารายงานเหล่านั้น โดยเฉพาะความเป็นมาของผู้คนหลากเชื้อชาติหลายดินแดนที่กลายเป็น “พลเมืองปาย” ในวันนี้
พวกเขาส่วนมากยืนยันว่า ปายยังคงเป็นสถานที่พิเศษของพวกเขาอยู่เสมอ
สารคดี ชวนผู้อ่านไปฟังเรื่องของพวกเขาเกี่ยวกับ “ประเทศปาย” มุมหนึ่งของโลกที่บังเอิญมาอยู่ในประเทศไทย