ตามหา สีไทย จากครูช่างโบราณ ถึงงานดีไซน์ไทย ๆ
จากวัสดุธรรมชาติ ทั้งแร่ธาตุ พืชพรรณ และสัตว์ คนไทยโบราณได้สั่งสมภูมิปัญญาสรรหาสีสันสารพัดมาให้เหมาะแก่การใช้สอย ทั้งสีสำหรับย้อมเส้นด้ายฝ้ายไหมเพื่อถักทอเป็นพัสตราอันวิจิตร กับสีของนายช่างจิตรกรเพื่องานวาดภาพระบายสี ทว่าความเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรม และเทคโนโลยี ในช่วงกว่าศตวรรษที่ผ่านมา ทำให้องค์ความรู้เรื่องสีไทยเกือบขาดช่วงไป ยังดีที่มีผู้สนใจเสาะแสวงหาหนทางฟื้นฟูกระบวนการ “ปรุง” สีตามกรรมวิธีแบบโบราณจนทำได้สำเร็จ อีกทั้งยังมีนักวิชาการที่สนใจรวบรวมชื่อและโทนสีของไทย รวมถึงคิดค้นกรรมวิธีการผลิตในระดับอุตสาหกรรม เพื่อหาหนทางต่อยอดมรดกของบรรพชน สร้างเป็นเอกลักษณ์ไทยอย่างใหม่สำหรับงานออกแบบในศตวรรษนี้
๓ ปีหลังภัยพิบัติ บทเรียนจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟุกุชิมะ
สามปีแล้วนับจากเหตุการณ์วันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๔ เมื่อญี่ปุ่นเกิดแผ่นดินไหวขนาด ๙ ริกเตอร์ ตามด้วยคลื่นยักษ์สึนามิเข้ากวาดทำลายล้างบ้านเรือนและชีวิตผู้คน โดยเฉพาะโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิชิต้องเสียหายอย่างหนัก เกิดการระเบิดปลดปล่อยสารกัมมันตรังสีแพร่กระจายสู่พื้นที่โดยรอบ ผู้คนนับแสนต้องอพยพจากบ้านเกิดโดยไม่รู้ว่าจะได้กลับบ้านเมื่อไร หรือที่จริงแล้วควรจะกลับไปหรือไม่ เพราะอันตรายจากสิ่งที่มองไม่เห็นอาจยังอยู่ที่นั่น
ศุภรา จันทร์ชิดฟ้า อดีตผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ บางกอกโพสต์ ผู้ทุ่มเทให้แก่การทำงานด้านข่าวและสารคดีเชิงเจาะลึกมาเป็นเวลากว่า ๑๙ ปี ได้เดินทางไปที่ประเทศญี่ปุ่นในช่วงเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๕ ถึงมิถุนายน ๒๕๕๖ เพื่อติดตามความเป็นไปของชาวญี่ปุ่นผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่กระจายของสารกัมมันตรังสี
นี่คือรายงานจากผู้สื่อข่าวคนไทยที่เสี่ยงภัยเข้าถึงพื้นที่ซึ่งเข็มวัดสารกัมมันตรังสียังเคลื่อนไหวไม่หยุด เพื่อถ่ายทอดบทเรียนของชาวญี่ปุ่นให้เราคิดและเรียนรู้ก่อนตัดสินใจใด ๆ เกี่ยวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในบ้านของเราเอง