ป. พิบูลสงคราม “จอมพลตราไก่” เล่าใหม่หลังครึ่งศตวรรษ
เป็นเวลาหลายทศวรรษที่เรื่องราวของ “จอมพล ป.” ถูกเล่าในโทนเสียงเดียวคือ “ผู้เผด็จการ” และได้รับการอธิบายบทบาทรองลงมาในฐานะ “นักชาตินิยม” ขณะที่บทบาท “นักอภิวัฒน์” และ “ผู้นำคณะราษฎร” ผู้ให้กำเนิด “ระบอบประชาธิปไตยไทย” ถูกละเลย
นอกจากเรื่องเล่าเวอร์ชันดังกล่าว จนถึงทุกวันนี้ ผลจากการดำเนินนโยบายสมัยจอมพล ป. ยังอยู่รอบตัวคนไทยโดยที่หลายคนไม่รู้ตัว อาทิ อนุสาวรีย์ ถนน สิ่งก่อสร้าง กระทั่งสิ่งที่จับต้องไม่ได้อย่าง “วัฒนธรรมไทย” หลายอย่างก็มาจากยุค “เชื่อผู้นำ ชาติพ้นภัย” ทั้งสิ้น
ในวาระแห่งเดือนมิถุนายน ซึ่งมีทั้งวันเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔ มิถุนายน และวันจากไปของจอมพล ป. ครบ ๕๐ ปี สารคดี จึงชวนผู้อ่านทบทวน “ชีวิตจอมพล ป.” ซึ่งส่วนหนึ่งเดินคู่กันมากับ “พัฒนาการประชาธิปไตยไทย” อย่างมิอาจปฏิเสธ
นกที่บินข้ามเขาปาดไก่ ทางไท (พาเก) ในอินเดีย
ไทพาเก คนไทอีกสายที่แยกย้ายไปสร้างบ้านแปงเมืองอยู่แถบอัสสัม พร้อม ๆ กับที่ไทยเราตั้งกรุงสุโขทัย
แต่ที่นั่นยังเป็นเหมือนดินแดนที่กาลเวลาถูกหยุดเอาไว้ บ้านเรือนยังเป็นบ้านไม้ไผ่ พวกเขายังสวมใส่เสื้อผ้าที่ทอเอง ยังกินอยู่แบบคนไทยสมัยก่อน และยังใช้ภาษาไท ซึ่งเราพูดจากันรู้เรื่องเกือบทั้งหมด
และไม่ใช่แค่รูปร่างหน้าตากับวิถีความเป็นอยู่ที่พลเมืองของรัฐอัสสัมเหล่านี้ยังดูเป็นไท หากแต่บุคลิกนิสัย น้ำใจไมตรี รวมทั้งความเป็นผู้มีรอยยิ้มแจ่มใสอยู่ตลอดเวลา เหล่านี้ล้วนแต่สะท้อนความเป็นคนไทได้ดียิ่งกว่าสิ่งที่ปรากฏภายนอก