๖.๓ ริกเตอร์สั่นสะเทือนเชียงราย แกะรอยแผ่นดินไหวภาคเหนือ
อย่างที่ไม่มีใครคาดคิด ๕ พฤษภาคม ๒๕๕๗ คลื่นแผ่นดินไหวขนาด ๖.๓ ริกเตอร์สั่นสะเทือนไปทั่วทั้งแผ่นดินล้านนา โดยมีศูนย์กลางกำเนิดแผ่นดินไหวอยู่ที่อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย (ตามข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา)
นับเป็นครั้งแรกในรอบ ๕๐ ปีที่จุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวนั้นอยู่ในประเทศไทย และมีขนาดใหญ่เกินกว่า ๖ ริกเตอร์ ขณะที่แผ่นดินไหวรุนแรงหลายต่อหลายครั้งที่ผ่านมา จุดศูนย์กลางนั้นล้วนอยู่ในประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบ
ภาพถนนทางหลวงทรุดพังทลายเป็นแถบยาว บ้านเรือนหลายหลังแตกร้าวและถึงขั้นพังทลาย ยอดเจดีย์หักรุ่งริ่ง คือความจริงที่คนไทยมิอาจปฏิเสธ มีสิ่งก่อสร้างจำนวนไม่น้อยที่ตั้งอยู่เหนือรอยแตกแยกของแผ่นดินใต้พื้นพิภพ ที่มีโอกาสขยับเคลื่อนอยู่ได้ทุกเมื่อ และอาจสร้างความเสียหายอย่างหนักเมื่อใดก็ตามที่ธรรมชาติปลดปล่อยพลังงานออกมา
สารคดี จะพาคุณผู้อ่านไปทำความรู้จักกับรอยแยกใต้พื้นพิภพที่เรียกกันว่า “รอยเลื่อน” ในภาคเหนือ พร้อมกับติดตามการทำงานของนักธรณีวิทยาเพื่อคลี่คลายคำถามว่า รอยเลื่อนในประเทศไทยมีพลังอำนาจเพียงใด และคนไทยควรเตรียมตัวอย่างไรต่อไปในอนาคต จากบทเรียนแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดของประเทศไทยครั้งนี้
“ทวาย” ในสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง
หลายปีที่ผ่านมาคนไทยคงได้ยินข่าว “โครงการท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย” หรือ “โครงการทวาย” บ่อยครั้ง
ตามข้อมูลที่ปรากฏ โครงการนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ โดยมีเอกชนไทยรายหนึ่งรับสัมปทานจากรัฐบาลพม่า เพื่อดำเนินโครงการที่มีขนาดใหญ่กว่านิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดถึง ๑๐ เท่า ก่อนรัฐบาลสองประเทศจะเข้ามายกระดับเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐ
ที่ผ่านมาข่าวเกี่ยวกับโครงการนี้มักออกมาในเชิงเศรษฐกิจและความคาดหวังว่าไทยจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง
ต้นปี ๒๕๕๗ สารคดี เดินทางข้ามเขาตะนาวศรีไปสำรวจทวาย เพื่อนำ “ความจริงจากพื้นที่” มานำเสนอ
ด้วยหวังว่าสังคมไทยจะมอง “โครงการทวาย” และเห็นชีวิต “ชาวทวาย” ในสายลมแห่งการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรอบด้านมากขึ้น