ชีวิตดี ๆ เริ่มนับ ๐ ในวัยหลัง ๖๐

แม้ทั่วไปจะถือว่าเลข ๐ ไม่มีค่าในเชิงปริมาณ

แต่มันก็ได้รับการออกแบบให้เป็นจำนวนเต็มก่อนหน้าเลข ๑ และใช้อธิบายการเริ่มต้นนับเวลาใหม่

เช่น เมื่อถึงนาทีสุดท้ายของวัน ก็จะเริ่มอีกครั้งที่ ๐๐.๐๐ นาฬิกา

หรือเมื่อครบ ๖๐ นาที ก็จะนับ ๐ ใหม่เสมอ

ชีวิตก็ใช่, ก้าวเข้าขวบปีที่ ๖๐ ก็เป็นเพียงช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านสู่วัยสุขุม

ชีวิตมหัศจรรย์-ความสุขที่เข้มแข็งยังรอทักทายผู้เปิดหู เปิดตา เปิดใจ

พวกเขาทั้งหกแบบอย่างสะท้อนว่าอายุไม่ใช่อุปสรรคของการเริ่มต้น

ความคิดทันสมัย-ประสบการณ์ใหม่ยังเกิดขึ้นได้ในวัยชรา

สำคัญที่ว่า ใครจะลงมือจัดการกับสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ รอบตัวให้มีคุณค่าหล่อเลี้ยงจิตใจอย่างไร

เรียนรู้คุณค่าชีวิต กับภารกิจค้นหาพืชพรรณ… นักพฤกษศาสตร์

ป่าฝนเขตร้อนในบ้านเราอุดมด้วยพรรณไม้ แต่คนส่วนใหญ่อาจรู้จักพืชพรรณเพียงจำกัด หากปราศจาก “นักพฤกษศาสตร์” ผู้เก็บองค์ความรู้จากป่ามารวบรวมไว้ในตำราอย่างเป็นระบบ

งานของพวกเขาสะท้อนองค์ความรู้เรื่องพืช อันเป็นเรื่องใกล้ตัวและเกี่ยวโยงกับชีวิตคนเราตั้งแต่เกิดจนตาย  ข้อมูลวิชาการด้านพืชพรรณไม่ได้ใช้จำเพาะแต่ในแปลงกสิกรรม หากแผ่คลุมกว้างไกลซึ่งสุดท้ายจะเวียนมาบรรจบที่ประโยชน์สูงสุดของมวลมนุษยชาติ  การทำความคุ้นเคยกับพืชพรรณให้ครอบคลุมทุกชนิดพันธุ์จึงเป็นความพยายามของนักพฤกษศาสตร์ทั่วโลก เช่นเดียวกับนักพฤกษศาสตร์ชาวไทยกลุ่มหนึ่งที่ ธันย์ชนก ธีรทรงธรรม กับ เมราณี สมัย-วิจิตรกร นักเขียนและช่างภาพรุ่นใหม่จากค่ายสารคดีครั้งที่ ๑๐ มีโอกาสได้ร่วมเดินทางไปเก็บสำรวจตัวอย่างพืชบนยอดดอยอินทนนท์ ก่อนนำมาตรวจสอบ วิจัย จัดหมวดหมู่ตามลำดับอนุกรมวิธานพืช

ส่วนเรื่องราวจากการสำรวจพรรณไม้ในแหล่งพันธุกรรมพืชที่อยู่สูงที่สุดของเมืองไทย รวมทั้งภาพชีวิตการงาน เหตุการณ์ ความรู้เกี่ยวกับนักพฤกษศาสตร์ ได้รวบรวมไว้ในสารคดีเรื่อง “เรียนรู้คุณค่าชีวิต กับภารกิจค้นหาพืชพรรณ… นักพฤกษศาสตร์” แล้วหากผู้อ่านใคร่จะทำความรู้จักกับพวกเขาในบัดนี้

จักรวาลชีวิตในคุ้งบางกะเจ้า 

การตะลุมบอนบางกะเจ้าภายใน ๒๔ ชั่วโมง บนพื้นที่ ๑๙ ตารางกิโลเมตร จะพาเราไปรู้จักเพื่อนบ้านได้มากหน้า (และอาจจะมี) หลายตาแค่ไหน ร่วมติดตามปฏิบัติการ BioBlitz สำรวจความหลากหลายทางชีวภาพครั้งแรกในประเทศไทย บนพื้นที่สีเขียวขนาดใหญ่ที่เปรียบเป็นปอดฟอกอากาศให้คนกรุงเทพฯ อย่างคุ้งบางกะเจ้า ที่ที่เป็นทั้งบ้านและแหล่งอาหารของสิ่งมีชีวิตหลากหลายสายพันธุ์ แต่วันนี้กลับมีอนาคตน่าเป็นห่วง เพราะการก่อสร้างอาคารซึ่งเริ่มรุกพื้นที่ธรรมชาติเข้าไปเรื่อย ๆ

หยิบแว่นขยายหรือกล้องส่องทางไกล เดินตามกลุ่มนักวิจัยทั้ง ๑๓ ทีมไปทักทายเพื่อนบ้านในจักรวาลชีวิต แล้วเราจะรู้ว่ามนุษย์ไม่อาจอยู่เพียงลำพัง