ครูบาศรีวิชัย ศรัทธา อภินิหาร  การเมือง

ทุกวันนี้คนทั่วไปรู้จัก “ครูบาศรีวิชัย” ในฐานะผู้สร้างถนนขึ้นดอยสุเทพ

อนุสาวรีย์ของท่านที่เชิงดอยถือเป็นหนึ่งในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ผู้มาเยือนเชียงใหม่ต้องแวะกราบสักการะ  หากแต่ในช่วงชีวิต ๖๐ ปีของครูบาศรีวิชัย (พ.ศ. ๒๔๒๑-๒๔๘๑) ยังมีเรื่องราวเกิดขึ้นมากมาย

พระสงฆ์ร่างเล็ก ผิวขาว ผอมบาง จากอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน รูปนี้เป็นที่นับถือกันอย่างกว้างขวางทั่วทั้งดินแดนล้านนา จนสามารถเป็นผู้นำการปฏิสังขรณ์ปูชนียสถานนับร้อยแห่ง  แต่ในอีกด้านท่านเคยถูกเพ่งเล็งว่ามีพฤติการณ์เข้าข่าย “กบฏ” จนถูกเรียกตัวไปสอบสวนที่กรุงเทพฯ หลายครั้ง แต่ก็พ้นข้อกล่าวหานั้นไปได้ด้วยความบริสุทธิ์ กลายเป็นที่มาของสำนวนที่ว่า “มารบ่มี บารมีบ่เกิด”

มนตร์เพลงชนเผ่า “ฮอร์นบิลล์เฟสติวัล” และการเดินทางครั้งใหม่ของนาคาแลนด์

ในอดีตอันไม่ไกล นาคาแลนด์เคยเป็น “รัฐอิสระ” ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย ระหว่างรัฐอัสสัมกับพม่า ในวงล้อมเนปาล ภูฏาน จีน บังกลาเทศ

ด้วยความแตกต่างจาก “เมนแลนด์” (main land) หรือ “อินเดียแผ่นดินใหญ่” ทั้งเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม แผ่นดินของคนนาคาจึงกลายเป็นพื้นที่ปิดมาร่วมครึ่งศตวรรษ รัฐบาลอินเดียไม่ปรารถนาให้คนภายนอกรับรู้เรื่องราวภายในรัฐนาคาแลนด์

จนเมื่อมีการจัดเทศกาลนกเงือก หรือ “ฮอร์นบิลล์เฟสติวัล” ก็เหมือนช่วยประชาสัมพันธ์ เปิดประตูลี้ลับสู่อาณาจักรอันห่างไกล ด้วยมนตร์เพลงชนเผ่า การละเล่นพื้นบ้าน เหล่านี้คือหนึ่งในวิถีทางที่จะประกาศให้โลกรู้ว่าคนนาคาอยู่ตรงนี้