ฐิติพันธ์ พัฒนมงคล : รายงาน
Jordan / แม้เป็นประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง แต่จอร์แดนไม่ได้มีแหล่งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติมากมายเหมือนประเทศเพื่อนบ้าน หนำซ้ำยังต้องนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิลสูงถึงร้อยละ ๙๖ ของความต้องการพลังงานทั้งหมด ความคิดริเริ่มในการติดตั้งโซลาร์-เซลล์ตามมัสยิดจึงเกิดขึ้นในราชอาณาจักรจอร์แดนซึ่งผู้คนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม
อะหมัด อะบู ซา (Ahmad Abu Saa) โฆษกกระทรวงพลังงานและทรัพยากรแร่ กล่าวว่า โครงการพลังงานหมุนเวียนชนิดต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่มีที่มาจากสายลมและแสงแดด มีปริมาณพลังงานรวม ๑,๘๐๐ เมกะวัตต์ จะได้รับการติดตั้งภายใน ค.ศ. ๒๐๑๘ โดยส่วนที่เริ่มปีนี้คือการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาหรือชั้นดาดฟ้าของมัสยิด
โฆษกกระทรวงระบุว่า ชุดแรกติดตั้งในมัสยิด ๑๒๐ แห่ง และจะต่อยอดไปยังมัสยิดทั้งสิ้น ๖,๐๐๐ แห่งทั่วประเทศในที่สุด
“มัสยิดเป็นสถานที่ที่ใช้ไฟฟ้ามาก ส่วนหนึ่งมาจากการละหมาดวันละห้าเวลา โครงการนี้จะช่วยลดค่าไฟลงถึง ๓๐๐ วันที่ได้รับแสงแดดตลอดปี”
ทางการจอร์แดนตั้งเป้าว่าถึง ค.ศ. ๒๐๒๐ จะต้องมีพลังงานหมุนเวียนใช้ในประเทศไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๑๐ •
http://cannundrum.blogspot.com/2015/03/abu-darwish-mosque-amman-jordan.html