๑๐ ปีมรดกโลก เบื้องหลังเลนส์ สัตว์ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่
ผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ได้รับการประกาศเป็น “มรดกโลกทางธรรมชาติ” ของประเทศเมื่อปี ๒๕๔๗ จนถึงปีนี้นับเป็นเวลา ๑๐ ปีแล้ว วาระสำคัญนี้จุดประกายให้ช่างภาพถ่ายสัตว์ป่าระดับแนวหน้าของเมืองไทย คือ ณรงค์ สุวรรณรงค์ และเพื่อน วางแผนติดตามถ่ายภาพสัตว์ป่าในผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ โดยเริ่มเข้าถ่ายภาพตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ กว่าจะเรียนรู้ธรรมชาติและการดำเนินชีวิตของสัตว์ป่าแต่ละชนิดก็ใช้เวลาหลายปี แต่ละภาพอาศัยความเพียรพยายามอย่างหนักกับการติดตามและรอจังหวะเวลา เพื่อให้ได้ภาพถ่ายที่บอกเล่าเรื่องราวของสัตว์ชนิดนั้นได้ดีที่สุด ทั้งสัตว์ป่าหายากและสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ใกล้แหล่งทำกิจกรรมของนักท่องเที่ยว แต่คนส่วนใหญ่มักไม่เคยสังเกตหรือสนใจ ทั้ง ๆ ที่สัตว์ป่าก็มีชีวิตอยู่ในบริเวณนั้น
ติดตามเบื้องหลังการถ่ายภาพสัตว์ป่าซึ่งเป็นตัวแทนความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ที่ทำให้ผืนป่าแห่งนี้ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลก พร้อมกับย้อนตำนานเก่าแก่ของป่าดงพญาไฟ ป่าดงพญาเย็น ที่เคยเล่าขานด้วยความหวาดกลัวมานับแต่อดีตว่าแท้จริงแล้วเป็นอย่างไร และคำถามถึงอนาคตของผืนป่ามรดกโลกที่ยังคงถูกคุกคามจากการลักลอบตัดไม้ ล่าสัตว์ และปัญหาอื่น ๆ อีกมากที่อาจทำให้ฐานะความเป็น “มรดกโลก” ต้องมีการพิจารณาใหม่
ชาวอุยกูร์มีถิ่นฐานเดิมอยู่ใน “ทุ่งหญ้าที่สวยงาม” ระหว่างเทือกเขาอัลไตกับเทือกเขาเทียนซาน และต่อมาพวกเขาคือพลเมืองกลุ่มหลักของซินเจียง-มณฑลทางตะวันตกสุดของจีน
แต่ไม่มีอะไรให้เราต้องสนใจจะรู้จัก
จนกระทั่งเกิดเหตุวางระเบิดครั้งใหญ่ใจกลางกรุงเทพฯ เมื่อกลางเดือนสิงหาคม คนไทยจึงเริ่มคุ้นชื่ออุยกูร์ในฐานะกลุ่มก่อการร้าย ? คนเร่ร่อนหลบหนีเข้าเมือง ? มุสลิมหัวรุนแรง ? คนต่างด้าวไม่ทราบสัญชาติแน่ชัด ? ฯลฯ
แต่อุยกูร์มีแผ่นดิน ถิ่นฐานบ้านช่อง อาชีพ วัฒนธรรม มีสังคมชุมชน ชะตากรรมที่ต้องเผชิญ ซึ่งนักเขียนจากกองบรรณาธิการสารคดี ไปเห็นมาแล้ว และมีเรื่องราวจะเล่าให้ฟัง