ชาวเลอันดามัน ชาติพันธุ์ที่ถูกลืม
ทะเลอันดามันเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงโด่งดังระดับโลกในฐานะแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ท้องทะเล ชายหาด รวมถึงเกาะแก่งน้อยใหญ่ตั้งแต่จังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ถึงสตูล มีโอกาสรองรับนักท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยในแต่ละปี
แต่คงมีน้อยคนนักจะรับรู้หรือสนใจว่าพื้นที่แถบนี้ยังเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลซึ่งมีภาษาและวัฒนธรรมแตกต่างจากเรา อันประกอบด้วยสามกลุ่มหลัก ได้แก่ มอแกน มอแกลน และอูรักลาโว้ย
เมื่อเดินทางไปท่องเที่ยวแถบนั้นเราอาจเดินปะปนกับกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล ผู้ที่วันนี้ส่วนหนึ่งเลิกงมหอย หาปลา หันมาขับเรือรับนักท่องเที่ยว หาทางปรับตัวเข้ากับสังคมสมัยใหม่ แต่อีกไม่น้อยต้องตกอยู่ในสถานะผู้ถูกคุกคามทางสังคมและวัฒนธรรมจนแทบไม่มีที่ยืน
ยุคสมัยที่ผู้คนให้ความสนใจแก่การพัฒนาพื้นที่เพื่อความเจริญ น่าสนใจว่ายังมีพื้นที่เหลือพอให้แก่กลุ่มชนเผ่าดั้งเดิมซึ่งอาศัยอยู่ในแถบอันดามันมานานนับร้อย ๆ ปีอย่างกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลหรือไม่
ความหวังที่โบยบินกลับมาของนกแต้วแล้วท้องดำ
๒๖ ธันวาคม ๒๕๕๘…วันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้จัดลำดับสัตว์ป่าเมืองไทยที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งนกแต้วแล้วท้องดำ ๑ ในสัตว์ป่าสงวน ๑๕ ชนิดของไทยครองอันดับ ๑ เนื่องจากไม่พบรายงานการสำรวจตั้งแต่ปี ๒๕๕๖
ก่อนหน้านี้ในเดือนกรกฎาคม ๒๕๕๘ มีการประชุมหารือทางออกวิกฤตนกแต้วแล้วท้องดำ ณ ศาลากลางจังหวัดกระบี่ สรุปเป็นมติสำคัญเจ็ดข้อที่จะช่วยปิดประตูแห่งการสูญพันธุ์นกชนิดนี้
ความจริงแล้วเกิดอะไรขึ้นกับนกแต้วแล้วท้องดำนับตั้งแต่มีการสำรวจพบนกที่หายากชนิดนี้ในปี ๒๕๒๙
สารคดี ลงไปติดตามการดำเนินงานของมติแห่งความหวังทั้งเจ็ดข้อ ว่าจะ “มีหวัง” สำหรับนกแต้วแล้วท้องดำมากน้อยแค่ไหน…