เรื่อง : A.J. Lynam
ภาพ : A.J. Lynam/WCS, A.Rabinowitz/WCS
แปล : กุลธิดา สามะพุทธิ

เมื่อหมอก เริ่มจาง และลอยตัวสูง เหนือแมกไม้ ปลักที่กระจัด กระจาย อยู่เจ็ดแห่ง บนเนินเขา กลางผืนป่าดงดิบ ก็ปรากฏ ให้เห็นชัดขึ้น ความชุ่มชื้น และกลิ่นอับ ๆ จากพวกเห็ดรา ปกคลุมไปทั่ว ปลักเหล่านี้มีลักษณะ เป็นบ่อโคลนตื้น ๆ ขอบปลักบางแห่ง มีร่องรอย ของนอสัตว์ ที่ถูกทิ่มลงไป ซ้ำแล้วซ้ำเล่า อยู่ชัดเจน วันหนึ่ง ๆ เจ้าสัตว์ชนิดนี้ จะเที่ยวกลิ้งเกลือก อยู่ในปลักโน้นที ปลักนี้ที เพื่อเสริมความหนา ให้แก่ เสื้อคลุม ขี้โคลนสีแดง ซึ่งช่วยปกป้องมัน จากการรบกวน ของเหลือบ และยุงร้าย ร่องรอย ที่พบตามเส้นทาง หากินของมัน ก็คือ กิ่งไม้ที่ถูกบิด จนหักไป และต้นไม้ ที่โดนมันถูไถ จนเปลือกไม้ถลอก ออกมาหมด

เรากำลังพูดถึง กระซู่ (Sumatran rhinoceros) ซึ่งคาดว่า เคยมาเยือน ปลักในบริเวณนี้ เมื่อหนึ่งหรือสองปีก่อน เราจะบอกว่า กระซู่ยังมีอยู่ ก็ต่อเมื่อ เจอรอยตีนใหม่ ๆ กับกองมูล ของมันเท่านั้น และเมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๔๐ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ไทย เจ้าหน้าที่ด้านสัตว์ป่า ของมาเลเซีย และนักวิจัย ของสมาคมอนุรักษ์ สัตว์ป่า จาก นิวยอร์ก (Wildlife Conservation Society– WCS) โดยความช่วยเหลือ จากตำรวจ ตระเวนชายแดน ได้ออกสำรวจ สัตว์ป่าในป่า ฮาลา-บาลา ซึ่งอยู่ไกลออกไป ถึงแนวชายแดนไทย- มาเลเซีย เป็นครั้งแรก แล้วเรา ก็พบสิ่ง ที่เรากำลังตามหา บนเขาหันกุด– เขาสูง ที่เป็นสันปันน้ำ ระหว่าง สองลุ่มน้ำใหญ่ ด้านเหนือ คือ คลองฮาลา ในเขตไทย ด้านใต้ คือ สุไหงเคนารอง ในเขตป่า เบลุม ของมาเลเซีย เทือกเขา ตามแนวชายแดน ภาคใต้ของไทย แห่งนี้ มีกระซู่อาศัยอยู่ อย่างแน่นอน และบางที อาจจะมี อีกหนึ่ง หรือสองตัว หลบอยู่ตามป่าเขา ที่ไหนสักแห่ง ในประเทศ แต่ที่แน่ ๆ คือ พวกมันกำลังสูญพันธุ์ สายเกินไปแล้ว ที่เราจะอนุรักษ์ กระซู่ในเมืองไทย สารคดีเรื่องนี้ จะชี้ให้เห็นว่า ทำไมกระซู่ จึงสาบสูญไป และเราได้บทเรียนอะไร จากอดีต ที่ผิดพลาดนี้บ้าง

เรื่องราวของ กระซู่ในดินแดน เอเชียตะวันออก เฉียงใต้ นั้นออกจะ เป็นเรื่องลึกลับ กระซู่ส่วนใหญ่ หายตัวไป จากถิ่นอาศัย ดั้งเดิม ของพวกมัน มีชาวบ้านไม่กี่คน เคยเห็นมัน ตัวหนึ่งนอกสวนสัตว์ กระซู่เป็นสัตว์ขี้ตื่น หากมีคนบุกรุก เข้าไปในถิ่น ที่อยู่ ตามธรรมชาติ จะรบกวน การหากิน และการสืบพันธุ์ของมัน เป็นอย่างมาก ครั้งหนึ่ง ประเทศไทย เคยมีแรด อยู่สองชนิด คือ แรดนอเดียว หรือ แรดชวา (Lesser one-horned หรือ Javan rhino) เรียกสั้น ๆ ว่า “แรด” และ แรดสองนอ (Asian two-horned หรือ Sumatran rhino) ที่รู้จักกันว่า “กระซู่” ซึ่งเป็น สัตว์ตระกูลแรด ที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ สูง ๑-๑.๔ เมตร หนัก ประมาณ ๑ ตัน มีขนยาวสีน้ำตาล มีนิ้วตีนสามนิ้ว รอยตีนกว้าง ๑๗-๒๓ เซนติเมตร แตกต่างจาก รอยตีนสมเสร็จ ซึ่งตีนหน้ามีสี่นิ้ว ตีนหลังมีสามนิ้ว และกว้างไม่เกิน ๑๖ เซนติเมตร กระซู่ เคยถูกพบ ในบังกลาเทศ เรื่อยไป จนถึงพม่า ไทย และมาเลเซีย รวมทั้ง เกาะบอร์เนียว และเกาะสุมาตรา ส่วนแรดชวา มีขนาดใหญ่กว่ากระซู่ โดยหนักกว่า ถึงสองเท่า และสูงกว่า เล็กน้อย มีพับหนังที่หนา ไม่มีขน รอยตีนแรดชวา มีความกว้าง ไม่ต่ำกว่า ๒๕ เซนติเมตร แรดชวา เคยอาศัย อยู่ทั่วไป ในแถบอินโดจีน และเกาะชวา

นอเป็นอวัยวะ ที่ทำให้ สัตว์ตระกูลแรด โดดเด่นจากสัตว์ป่า ชนิดอื่น ๆ กระซู่ มีสองนอ นออันหน้า ยาวประมาณ หนึ่งไม้บรรทัด นอหลัง ยาวพอ ๆ กับแท่งดินสอ นอของแรดชวา สั้นกว่ากระซู่ คือ ยาว ๑๕๐ มิลลิเมตร โดยเฉลี่ย นอจะงอก ยาวขึ้นเรื่อย ๆ ตลอดชีวิตของมัน ทั้งยังงอก ขึ้นมาใหม่ ถ้าหากว่า นออันเดิมหักไป แรดที่พบ ในทวีปแอฟริกา ใช้นอในการต่อสู้ ป้องกันตัวเอง แต่แรด ในแถบเอเชีย ใช้ฟันหน้าอันแหลมคม ในการต่อสู้ แทนที่จะใช้นอ หน้าที่ของนอแรด พันธุ์เอเชียนั้น ไม่ปรากฏแน่ชัด สันนิษฐานว่า มันใช้นอ ช่วยกรุยทาง ในป่ารกทึบ ซึ่งเป็นถิ่นอาศัย ของมัน

น่าเศร้าใจ ที่การเป็นเจ้าของนอ ทำให้แรด และกระซู่ ต้องตกเป็นเหยื่อ ชิ้นโบแดง ของนายพราน นอของมัน ได้รับการพิสูจน์ว่า มีคุณสมบัติเป็นยา หมอยาจีน สาธยายสรรพคุณ ของนอแรดว่า เป็นยาแก้ปวด แต่ไม่ได้เป็นยา บำรุงทางเพศ หรือยาโด๊ป เหมือนกับอวัยวะเพศ ของเสือ อย่างที่คนส่วนมาก เชื่อกัน ส่วนเนื้อ กระดูก เลือด และฟัน ของเจ้าสัตว์ชนิดนี้ ก็เชื่อว่า เป็นยาอายุวัฒนะ และ สามารถรักษาโรค ได้หลายชนิด ชายชาวกะเหรี่ยงวัย ๑๑๐ ปีคนหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ ในเขตเทือกเขา ตะนาวศรี ยืนยัน กับญาติพี่น้อง และพวกชาวบ้านว่า เขาอายุยืน ได้ขนาดนี้ ก็เพราะกินเลือด และเนื้อของแรด ที่ตนออกล่า เมื่อครั้ง ยังเป็นหนุ่ม ปี ๒๕๑๓ พรานชาวไทย ขายนอแรดน้ำหนัก ๖๐๐ กรัม ในราคากรัมละ ๕๐ เซนต์ หกปีหลังจากนั้น ราคาขึ้นเป็นกรัมละ ๒ เหรียญสหรัฐฯ ปี ๒๕๔๐ นอแรด มีราคาพุ่งไป ถึงกรัมละ ๘๐๐ เหรียญสหรัฐฯ หรือภายในเวลา ๓๐ ปี มูลค่านอแรด ในตลาดมืด ของไทย เพิ่มขึ้นมากกว่า ๑,๐๐๐ เท่า ทุกวันนี้ นอแรด และกระซู่ จำนวนมาก อยู่ในมือ ของนักสะสม ของป่า และบรรดา หมอยาทั้งหลาย

ความต้องการนอ เพื่อนำมาปรุง เป็นยาในตลาด ฮ่องกง ไต้หวัน จีน และกรุงเทพฯ ทำรายได้อย่างงาม ให้แก่กลุ่มพราน ที่มีความชำนาญ ในการค้นหา แกะรอย และฆ่าแรด หรือกระซู่ ปลายทศวรรษ ๑๙๙๐ ผมมีโอกาส ออกแกะรอย เสือในเขตป่าฝน เขตร้อนตอนใต้สุด ของไทย ร่วมกับพรานกลุ่มหนึ่ง ซึ่งจะขอ ไม่เอ่ยชื่อในที่นี้ เรื่องราว เกี่ยวกับอาชีพ ที่พวกเขา เข้าไปพัวพัน คือการล่าสัตว์ และเก็บของป่า รวมทั้ง การดำรงชีพในป่า ของคนกลุ่มนี้ น่าสนใจมาก ชาวบ้าน ในจังหวัดจันทบุรี ตราด และสระแก้ว มีรายได้จากการ เก็บไม้กฤษณา หรือไม้หอม เรื่อยมา จนถึง ปลายทศวรรษ ๑๙๘๐ บางครั้ง ไม้กฤษณา ซึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aquilaria จะมีเชื้อรา ที่ทำให้ไม้ นั้นกลายเป็นสีเหลือง นักเก็บไม้หอม ที่ชำนาญ จะรู้ได้ทันทีว่า ไม้ต้นไหน มีเชื้อรา ดังกล่าว พวกเขาจะ โค่นมันลง ทั้งต้น หรือไม่ก็ ตัดบางส่วน มาสับ เป็นชิ้น ๆ ยัดลงกระสอบข้าวสาร แล้วแบกออกจากป่า

น้ำมันหอม ที่กลั่นจาก ไม้กฤษณา มีราคาสูงมาก ในตลาด ตะวันออกกลาง และญี่ปุ่น ราคาน้ำมันหอม บรรจุขวด ขนาด ๑๒ มิลลิลิตร ที่วางขาย ตามร้านค้าเล็ก ๆ ย่านสุขุมวิท มีราคาสูงถึง ๑๒๐ เหรียญสหรัฐ ไม้ดิบ ที่ยังไม่ได้กลั่น เอาน้ำมันออกมา ก็ขายได้เหมือนกัน โดยลูกค้า จะเอามัน ใส่กระเป๋าเดินทาง ขนขึ้นเครื่อง กลับประเทศ ในขณะที่ การเก็บไม้กฤษณา ในเขตป่าของไทย เป็นสิ่งผิดกฎหมาย เช่นเดียวกับ การลักลอบ นำเข้ามา จากป่า ในเขตประเทศ เพื่อนบ้าน อย่างลาว กัมพูชา พม่า และมาเลเซีย แต่การ ต้มกลั่นน้ำมันหอม เป็นอุตสาหกรรม ในครัวเรือน กลับทำได้ โดยไม่ผิดกฎหมาย ถ้ามีใบอนุญาต จากประเทศที่เป็นเจ้าของ ไม้หวงห้ามชนิดนี้ ทั้งที่ในความเป็นจริง เราไม่สามารถ เอาผิด กับผู้ประกอบการ ได้เลย เนื่องจาก ขณะนี้ ยังไม่มีวิธีการ ทางวิทยาศาสตร์ ที่พิสูจน์ได้ว่า ไม้กฤษณา ที่อยู่ใน ความครอบครองนั้น เป็นของไทย หรือนำเข้า จากประเทศเพื่อนบ้าน ปัจจุบันหมู่บ้าน ที่อยู่รายรอบ เขตป่าอนุรักษ์ หลายแห่ง หารายได้ จากการต้มกลั่น น้ำมันหอม เช่น อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ในเขตจังหวัด นครนายก และปราจีนบุรี

เมื่อไม้กฤษณา ในเขตผืนป่า ตะวันออก หายากขึ้นทุกที นักเก็บของป่า บางคน ก็เลยต้อง ออกแสวงโชค ในป่าที่อยู่ไกล ออกไปเรื่อย ๆ เริ่มจากบริเวณ ชายแดนไทย- กัมพูชา โดยนั่งเรือหาปลา จากตราด ไปถึงเกาะกง จากนั้นเดินย้อน ขึ้นไปทางต้นน้ำ ผ่านป่าโกงกาง เข้าสู่พื้นที่อันตราย ซึ่งเต็มไปด้วย โจรป่า และกับระเบิด การเผชิญหน้า กับความตาย ซึ่งอาจมาถึงได้ทุกเมื่อ ทำให้บางคน ถึงกับถอดใจ แต่บางคน กลับเห็น เป็นเรื่องสนุก ตื่นเต้น และท้าทาย นักเก็บของป่า คนหนึ่ง ที่ผมพบ ใช้เวลาสองปี ไปกับ การเดิน ตามหาไม้กฤษณา ในแถบเทือกเขา คาร์ดามอม ของกัมพูชา ป่าผืนนี้ เต็มไปด้วย ละมั่ง หมูป่า และเก้ง ซึ่งเป็นอาหารชั้นยอด สำหรับการเดินทาง อันหฤโหดเช่นนี้ เขากับพรรคพวก ล่าสัตว์ ด้วยอาวุธปืน ทันสมัย ที่ขอยืมมาจาก ทหารกัมพูชา แต่ในที่สุด นักเก็บของป่ารายนี้ ก็ตัดสินใจวางมือ หลังจากที่ เพื่อนสามคน ของเขาต้องสูญเสียขา ไปจากการ เหยียบกับระเบิด และในการบุกป่า ครั้งสุดท้าย เขาเองก็ เดินเฉียด กับระเบิดไปเพียงไม่กี่เซนติเมตร เห็นเพื่อน ที่เดินตามหลังมา กระเด็นด้วยแรงระเบิด ไปต่อหน้า ต่อตา โดยที่เขา ช่วยอะไรไม่ได้เลย

ผืนป่าภาคใต้ ในเขตจังหวัด สงขลา ตรัง ยะลา และนราธิวาส ซึ่งเต็มไปด้วย ไม้กฤษณา ก็มีกับระเบิด ฝังอยู่เช่นกัน ตอนนั้นไม้หอม ยังมีให้เก็บ ทุกหนแห่ง ไม้หอมคุณภาพดี เพียงไม่กี่กิโลกรัม ทำกำไรให้คนเก็บ หลายหมื่นบาท พวกเขาจะทิ้งมัน ไว้ให้แห้ง ในป่า แล้วก็พากัน มุ่งหน้า สู่พม่า และมาเลเซีย การบุกป่าฝ่าดง ข้ามเขตแดน ซึ่งกินเวลานาน นับเดือน เพื่อตามล่า ไม้มีค่าชนิดนี้ นับว่าอันตรายมาก แต่ผลกำไร เป็นกอบเป็นกำ ได้ทำให้ ความตายจากไข้ป่า การถูกโจรป่า และทหารต่างชาติ จับตัวไป รวมทั้ง เหตุการณ์ร้าย ๆ ทั้งหลาย กลายเป็นเรื่อง คุ้มค่าพอที่ จะเอาชีวิตเข้าเสี่ยง

นักเก็บไม้หอมบางคน เป็นพรานมือหนึ่ง ไปด้วยในตัว เพราะพวกเขาจำเป็น ต้องใช้ปืนไรเฟิล ได้อย่างเชี่ยวชาญ และ รู้วิธีการใช้ กับดัก เป็นอย่างดี เพื่อที่จะมีชีวิตรอด อยู่ในป่า ตลอดระยะเวลา อันยาวนาน คนเก็บของป่า ส่วนมาก รู้จักการล่าสัตว์ เล็ก ๆ อย่าง เก้ง หมูป่า ค่าง และ ชะนี หรือไม่ก็จับกบ จับปลาในลำธารมากิน กับข้าวคลุกน้ำปลาพริก พรานอีสานบางพวก มักจะพ่วง เอาการล่าสัตว์ใหญ่ ที่มีราคา อย่างช้าง และแรด เข้ากับอาชีพ เก็บไม้หอม ของพวกเขา สัตว์ทั้งสองชนิดนี้ พบในป่า แถบจังหวัดยะลา นราธิวาส และ สงขลา สภาพพื้นที่ ที่เป็นเขาสูง ยากต่อการเข้าถึง ของป่าผืนนี้ เป็นปราการธรรมชาติ ให้พวกมันได้อย่างดี ช้าง สีออกแดง ๆ รูปร่างประหลาด ขนาดเล็กที่เรียกว่า “ช้างแคระ” ก็ถูกพบ ที่อำเภอ สะบ้าย้อย จังหวัด สงขลา ซึ่งเชื่อมต่อ กับผืนป่า ของมาเลเซีย เช่นกัน การต่อสู้ ระหว่าง ผู้ก่อการร้าย คอมมิวนิสต์ กับทหาร และตำรวจ ที่ยืดเยื้อ อยู่หลายปี ทำให้ป่า ตามแนวชายแดน ผืนนี้ เป็นพื้นที่อันตราย สำหรับนักท่องเที่ยว แม้แต่พราน ก็ไม่กล้าเข้าใกล้ ซึ่งเท่ากับช่วยปกป้อง ช้างป่า และแรด จากการถูกรบกวน ไปด้วยในตัว เมื่อสถานการณ์ ทางการเมือง คลายความตึงเครียดลง คนเก็บไม้หอม เป็นพวกแรก ที่กลับเข้าไปในป่า ฮาลา- บาลาอีกครั้ง ในตอนปลายทศวรรษ ๑๙๘๐ พวกเขาพบช้างป่า และแรด เป็นจำนวนมาก พรานสามคน ที่ผมได้คุยด้วย เล่าว่า แค่ช่วงเวลาสั้น ๆ ระหว่างปี ๒๕๓๗ ถึง ๒๕๔๐ เขาฆ่าแรด ไปทั้งหมด ๑๙ ตัว และช้างอีกเป็นโหล ๆ พรานจะพรางตัว ด้วยการสวมหัวแรด แล้วนั่งห้าง อยู่บนต้นไม้ เหนือปลัก นานเป็นอาทิตย์ รอจังหวะ ลั่นกระสุน จากปืนอัตโนมัติ และปืนไรเฟิล เข้าใส่เหยื่อผู้โชคร้าย พรานบางคน ก็วางกับดัก ที่ทำจากลวด ขนาดยักษ์ ไว้ใกล้ ๆ ปลักโคลน พวกเขายังล่าช้างแคระ เพื่อตัดงา ขนาดกะทัดรัด ของมันไปขายอีกด้วย

การล่ากระซู่ อย่างไม่บันยะบันยัง ซึ่งเป็นผล มาจากความต้องการ นอที่เพิ่มขึ้น ทำให้จำนวนกระซู่ ในผืนป่า ภาคใต้ และป่าส่วนอื่น ๆ ของประเทศ ลดลงอย่างน่าวิตก โดยเรา ไม่เคยทราบจำนวน ที่แน่นอน ของกระซู่ ที่ถูกล่านี้เลย พวกมันหายตัว ไปจากป่า เมืองไทย ตั้งแต่ก่อน จะมีการประกาศ เขตป่าอนุรักษ์ แห่งแรก และ ก่อนการสำรวจ จำนวนประชากร กระซู่ อย่างเป็นทางการ เสียอีก ช่วงกลางทศวรรษ ๑๙๗๐ มีกระซู่ เหลืออยู่อีก เพียงสามตัว นอกเหนือจากตัวที่ อาศัยอยู่ในป่า ฮาลา- บาลา ตัวหนึ่งอยู่ในเขต เทือกเขา ตะนาวศรี ทางภาคตะวันตก ของไทย ตัวหนึ่ง อยู่ในจังหวัด สุราษฎร์ธานี และ อีกตัวหนึ่ง พบที่ จังหวัดชัยภูมิ พื้นที่เหล่านี้ มีลักษณะเดียวกับ ผืนป่าบริเวณชายแดน ภาคใต้ คือ เต็มไปด้วยภูเขา ที่มีระดับความสูง ไม่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐ เมตร เคยถูกยึดครอง โดยกลุ่มต่อต้านรัฐบาล ได้แก่ กองกำลังกะเหรี่ยง ตามแนวชายแดน ไทย- พม่า, ผู้ก่อการร้าย คอมมิวนิสต์ ทางภาคใต้ และชาวม้ง ที่เข้าร่วมกับ พรรคคอมมิวนิสต์ ในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ความขัดแย้ง และ สถานการณ์รุนแรง ในอดีต ที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้ผืนป่า รอดพ้น จากการถูกคนรบกวน มานานนับสิบปี ซึ่งเท่ากับช่วยให้ กระซู่ไม่สูญพันธุ์ ก่อนเวลาอันควร ไปด้วยในตัว

ป่าดิบบริเวณชายแดน ไทย- มาเลเซีย เป็นบริเวณที่ สันนิฐานว่า มีกระซู่อาศัยอยู่

ป่าดิบบริเวณชายแดน ไทย- มาเลเซีย เป็นบริเวณที่ สันนิฐานว่า มีกระซู่อาศัยอยู่

ปัจจุบันนี้ กระซู่รุ่นสุดท้าย ที่เหลือเพียงไม่กี่ตัว ในเมืองไทย อยู่กันอย่าง กระจัดกระจาย รายงาน การพบร่องรอย ของกระซู่ ซึ่งอาศัยอยู่ ตามลำพัง ในป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ครั้งล่าสุด ถูกบันทึกไว้เมื่อปี ๒๕๓๙ หลังจากนั้น มีรายงาน อย่างไม่เป็นทางการ ว่าเจอกองมูลของมัน ที่จังหวัด สุราษฎร์ธานี มีการพบ รอยกระซู่ ครั้งสุดท้าย บริเวณบางหัวราด ซึ่งต่อมา ได้รับการประกาศ เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ เขาสก เมื่อปลายทศวรรษ ๑๙๘๐ ด้านป่าตะวันตก มีการยืนยันว่า กระซู่อาศัยอยู่บน เทือกเขาตะนาวศรี ในตอนปลายทศวรรษ ๑๙๗๐ อย่างแน่นอน และเมื่อเร็ว ๆ นี้ ก็มีข่าวว่า พบกระซู่ อยู่ทางทิศตะวันตก ของด่านเจดีย์สามองค์ และ บริเวณอุทยานแห่งชาติ ไทรโยค แถบเทือกเขา คาร์ดามอม ในกัมพูชา ก็พบกระซู่เช่นกัน บนแหลม มลายู ของมาเลเซีย คาดว่ามีกระซู่ อยู่ราว ๆ ๓๐-๔๐ ตัว แต่คนเก็บไม้หอม ก็บุกเข้าไปล่าสัตว์ กันถึงที่นั่นแล้ว อุปสรรคของพราน กลุ่มนี้ มีเพียง การเผชิญหน้า กับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ มาเลเซีย ซึ่งไม่มีอาวุธปืน ติดมือ ขณะลาดตระเวนเลย ! มีดที่เจ้าหน้าที่ พกติดตัว จะไปสู้อะไรได้กับ AK-๔๗ เมื่อเรา ไม่สามารถ จัดการกับพรานได้ หนทางเดียว ที่จะยุติ การเข่นฆ่า กระซู่ จนกระทั่ง มันสูญพันธุ์ ไปจากผืนป่า ในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ ก็คือ กวาดล้าง ธุรกิจซื้อขาย นอ และอวัยวะส่วนอื่น ๆ ของมัน

ในปี ๒๕๔๐ พวกพรานบอกกับผมว่า ป่าฮาลา- บาลา น่าจะยังมีกระซู่ เหลืออยู่ราว ๆ สามตัว โดยเคลื่อนย้าย ไปมา ระหว่างปลัก บนเขาสูง แต่ไม่เคย ลงมาหากิน ในพื้นราบ ซึ่งครั้งหนึ่ง เคยเป็นอาณาบริเวณ ที่ปลอดภัย สำหรับพวกมัน สุวัฒน์ แก้วศรีสุข หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ฮาลา-บาลา รายงานว่า พบปลัก กระซู่อีกแห่งหนึ่ง อยู่ห่าง จากเขาหันกุด ไปทางทิศตะวันออก ๓๐ กิโลเมตร แต่คาดว่า เจ้าของรอย คงถูกนายพราน ยิงไปแล้ว ดูเหมือนว่า เราหมดโอกาส ที่จะอนุรักษ์ กระซู่ ไว้เป็นสัตว์ประจำถิ่น ของไทยเสียแล้ว นับจากนี้ไป คงมีเพียง กระซู่ ที่ยังเหลือ อยู่ในประเทศ เพื่อนบ้าน ข้ามเขตแดน มาเยี่ยมเรา เป็นครั้งคราวเท่านั้น รอยกระซู่ในปลัก บนเขาหันกุด ที่เราเห็น เมื่อยามเช้าวันหนึ่ง ของเดือนมีนาคม ที่ผ่านมา เป็นเครื่องบ่งบอก อันลางเลือน ถึงการดำรงอยู่ ของกระซู่ ในป่าฝนเขตร้อน ซึ่งตอนนี้ ได้พากันอันตรธาน เข้าไปในป่าลึก ของมาเลเซีย

………………..

เชิงอรรถ

กระซู่เป็นสัตว์ ตระกูลเดียวกับ แรด ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด ห้าชนิด เป็นแรดแอฟริกัน สองชนิด และเป็นแรดเอเชีย สามชนิด ในประเทศไทย เคยมีแรด สองชนิด คือ

  • แรดนอเดียว หรือแรดชวา ซึ่งเรียกง่าย ๆ ว่าแรด (Lesser one-horned หรือ Javan rhinoceros )
  • แรดสองนอ หรือ กระซู่ (Asian two-horned หรือ Sumatran rhinoceros)

ความแตกต่าง ที่ชัดเจน ระหว่างแรด สองตระกูลนี้ คือ นอ กระซู่มีนอสองนอ เรียงกันอยู่ บนสันจมูก นอหน้า ยาวประมาณ ๒๕ เซนติเมตร นอหลัง ยาวประมาณ ๑๐ เซนติเมตร ในตัวเมีย นอหลัง อาจนูนขึ้นมา เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ส่วนแรด มีนอเพียงนอเดียว อยู่เหนือจมูก นอของตัวผู้ มีความยาว ประมาณ ๑๕-๒๕ เซนติเมตร แต่นอ ของตัวเมีย จะสั้นมาก จนเกือบมองไม่เห็น มีเพียงเนื้อนูนขึ้นมา เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ผิวของกระซู่ จะเรียบหนา มีขนสั้น ๆ แข็ง ๆ สีดำ ปกคลุม อยู่ตามลำตัว โดยเฉพาะ ขนที่ใบหู จะยาวกว่าที่อื่น ๆ ต่างจากผิว ของแรด ซึ่งมีลักษณะ เป็นจุดนูน ทั่วตัว หนังหนา มีสีดำเทา และไม่ค่อยมีขน ลำตัวมีรอยพับ อย่างชัดเจนสามรอย คือ บริเวณหัวไหล่ หลังขาหน้า และ เหนือสะโพก แต่รอยพับของกระซู่ ไม่ปรากฏ ชัดเจนนัก ที่เห็นชัดที่สุด คือรอยพับ บริเวณขาหน้า

ขากระซู่ ค่อนข้างสั้น อ้วน มีนิ้วสามนิ้ว ปลายนิ้ว เป็นกีบ โดยกีบตรงกลาง ใหญ่ที่สุด คล้ายๆรอยสมเสร็จ และลูกช้าง แต่มีขนาด ใหญ่กว่า ความกว้าง ของรอยกระซู่ ประมาณ ๒๐-๒๒ เซนติเมตร เล็กกว่าแรด ที่มีความกว้าง ๒๕ เซนติเมตร ส่วนรอยสมเสร็จ ๑๔-๑๗ เซนติเมตร และ ลักษณะนิ้วตีน จะแหลมกว่า

พฤติกรรม

กระซู่ชอบอาศัย และ หากินอยู่ตาม ป่าเขาสูง ที่มีดงหนาม รกทึบ รวมทั้ง ป่าลุ่มต่ำ และ ป่าพรุ เช่นเดียวกับ แรด ออกหากิน ตอนกลางคืน ส่วนกลางวัน ชอบนอนแช่ ในปลัก โคลนตม หนองน้ำ เพื่อไม่ให้หนังแตก และ ถูกแมลงรบกวน กระซู่มักใช้เส้นทางเดิม และหนองน้ำ สำหรับลงนอนปลัก เป็นประจำ ทั้งยังชอบ ถ่ายมูล ไว้ในที่เดียวกัน คล้ายสมเสร็จ เวลาหากิน กระซู่จะกัดกิน พืชอาหาร บริเวณนั้น จนเหี้ยนเตียน เป็นพื้นที่กว้าง ทางที่กระซู่เดิน จะไม่มีอะไรขวาง หรือถ้าหากมี มันก็จะดัน สิ่งกีดขวาง ให้พ้นทาง แม้แต่ท่อนไม้ ขนาดใหญ่ พฤติกรรมเหล่านี้ สังเกตเห็น ได้โดยง่าย จึงเป็นเหตุ ให้กระซู่ถูกดักล่า ได้ง่ายจนใกล้สูญพันธุ์ กระซู่ไม่ได้ใช้นอ สำหรับขวิด คู่ต่อสู้ แต่มีไว้สำหรับขวิด จอมปลวก หรือ กิ่งไม้ ที่ขวางหน้า มากกว่า

กระซู่มีตาเล็ก และ สายตาไม่ดีนัก แต่ประสาทหู และ ประสาทรับกลิ่นดีมาก เช่นเดียวกับ แรด มันมักจะเชิดจมูก เวลาดมกลิ่น เพื่อให้ประสาทสัมผัส รับกลิ่นได้เต็มที่นั่นเอง เวลากระซู่ตกใจ มันจะส่งเสียง แปลก ๆ กึ่งเสียงสุนัข กึ่งเสียงเป็ด แต่ขณะนอนปลัก ซึ่งหมายถึงว่า มันอาจกำลังสบายใจ มันจะส่งเสียง “ฮัม”

พฤติกรรมทางสังคม ของกระซู่ แตกต่างจาก แรดชวา คือ ตัวเมีย จะมีถิ่นอาศัย ที่แน่นอน ตัวผู้ จะเป็นฝ่าย ที่เดินหาตัวเมีย ในช่วงฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งอยู่ระหว่าง เดือนกรกฎาคม ถึง เดือนตุลาคม ตัวเมียตั้งท้อง นานถึง ๗-๘ เดือน และ ตกลูก ครั้งละตัว ลูกที่เกิดมา จะมีน้ำหนักราว ๒๕ กิโลกรัม และมี อัตราการเจริญ เติบโต เร็วกว่าแรดชวา โดยใช้เวลา เพียง ๒ ปี ๗ เดือน ก็จะมีขนาด เท่ากับแม่ วัยเจริญพันธุ์ของกระซู่ ตัวเมียเริ่ม เมื่ออายุประมาณ ๓ ปี ตัวผู้เริ่ม เมื่ออายุประมาณ ๖ ปี กระซู่ในกรงเลี้ยง มีอายุถึง ๓๒ ปี ๗ เดือน

แผนที่แสดงพื้นที่ ที่คาดว่า ยังมีกระซู่ หลงเหลืออยู่ ในสภาพธรรมชาติ

สถานการณ์ปัจจุบัน

  • กระซู่อยู่ในสถานการณ์ ใกล้สูญพันธุ์ ในประเทศพม่า มีอยู่ ๑๗-๒๔ ตัว ในมาเลเซีย ๑๑ -๑๒ ตัว ในซาบาห์ ๖ ตัว และในสุมาตรา ๔๕-๘๕ ตัว
  • สำหรับในประเทศไทย เมื่อประมาณปี ๒๕๒๖ คาดว่า ยังมีเหลืออยู่ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ภูเขียว ทางทิศเหนือ แถบบริเวณลำโดก ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณถ้ำครอบ และ ทิศตะวันออกเฉียงใต้บริเวณยอดห้วยทู่ มีอยู่ประมาณ ๔-๕ ตัว
  • ปี ๒๕๒๘-๒๕๒๙ มีผู้พบซากกระซู่ ที่ถูกล่าจากป่า ฮาลา-บาลา จังหวัดยะลา ติดชายแดนไทยมาเลเซีย ๑ ตัว คาดว่า ยังมีเหลือ อยู่ในป่าดังกล่าวอีก
  • ปี ๒๕๓๐ มีรายงาน การพบร่องรอย กระซู่ในป่าเทือกเขา ตะนาวศรี บริเวณอุทยานแห่งชาติ แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี และ จากการสำรวจ บริเวณอุทยานแห่งชาติ เขาสก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า คลองแสง จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบปลักโคลน และ ร่องรอยกระซู่
  • ปี ๒๕๓๑ เดือนมกราคม มีการสำรวจพบ บึงน้ำ และ โป่งน้ำซับ ขนาดใหญ่ บริเวณลุ่ม ห้วยแม่น้ำจัน และแม่กลอง ในเขต รักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร จังหวัดกาญจนบุรี ต่อมา คณะสำรวจ จากกองอนุรักษ์สัตว์ป่า และคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ ได้เดินทาง เข้าไปสำรวจ บริเวณดังกล่าว ในเดือนกุมภาพันธ์ พบร่องรอย กระซู่ทั้งปลักโคลนเก่า กองมูล และ รอยสีตัว กับต้นไม้ ซึ่งคาดว่าเป็นร่องรอย หลังจากฝนตก ในช่วงฤดูฝน ที่ผ่านมา จึงทำให้เชื่อว่า ยังคงมีกระซู่ เหลืออยู่ในลุ่มน้ำ แควใหญ่ บริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ทุ่งใหญ่นเรศวร
  • ปี ๒๕๓๙ พบร่องรอยกองมูลของกระซู่ซึ่งอาศัยอยู่เพียงลำพังในป่าภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
  • ปี ๒๕๔๐ คาดว่าคงเหลือกระซู่ อยู่ประมาณ ๓ ตัว บริเวณปลัก บนภูเขาสูง ในป่า ฮาลา-บาลา

……………….

Sumatran Rhinoceros: Ghosts of the Rainforest

Mystery surrounds the rhinoceros in Southeast Asia as they have disappeared from their former range and few people today have seen one outside a zoo. Rhinos are particularly sensitive to human presence in their wild habitats which disturbs their feeding and breeding activities. The Asian two-horned or Sumatran rhino, known as kraasu in Thai, is the smallest of rhinos, standing 1-1.4 meters high, weighing up to a metric ton, and covered with long brown fur. Its pair of horns, with proven medicinal properties, is what has made the rhino a prized target for humans. Traditional Chinese medicine practitioners prescribe it as a painkiller. Also, the flesh, bone, blood, and teeth of the animal supposedly cure a range of diseases and improve health. In 1976, rhino horn could be sold for US$2 per gram. In 1997, a little over a decade later, it was US$800, more than enough to outweigh fear of landmines and the law.

Some northeastern hunters, collecting aloewood (Aquilaria) in demand for their fragrant oils, made the rhino their extra source of income. They tracked the unfortunate beasts by covering themselves with rhino feces and sitting in trees above mud wallows for a week in order to shoot their prey with automatic weapons and high power rifles. There was little opposition from rangers who do not have weapons to bear on patrols. A machete is no match for an AK-47 in a confrontation. Years of conflict between communist insurgents, the army and the police made these border forests of the south unsafe and kept out hunters. By the late 1980s, when political tensions eased, they were the first to reenter.

Today Thailand sustains a fragmented and doomed population of Sumatran rhinos. In 1997, hunters told me that three rhinos were presumed still alive at Balahala, never venturing down into the lowlands which used to be their sanctuary. These rhinos will be found and shot by hunters if not already. We have probably lost the chance to save Sumatran rhinos as a resident species in Thailand. Back on the ridge at Khao Han Kut that March morning, our survey group could see just their fading signs; the ghosts of the rainforest, now vanished into the deepest jungles of Malaysia.