สารคดี เจาะลึกสถานการณ์ โรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ที่ร้อนระอุด้วยสารคดีพิเศษสองเรื่องใหญ่ พร้อมพาผู้อ่านย้อนดู “ประวัติศาสตร์บาดแผล ‘โรงไฟฟ้าถ่านหิน’” ที่กลายเป็นปมแห่งความไม่ไว้วางใจมาถึงปัจจุบัน “จับตาโครงการโรงไฟฟ้าภาคใต้” ที่อาจเข้ามาในอนาคต และชวนค้นหาความกระจ่าง “จริงหรือไม่ คำตอบคือถ่านหินเท่านั้น”

385special1

ภาพ : Greenpeace

เอาถ่านไหม

ท่ามกลางสถานการณ์พลังงานไฟฟ้าสำรองที่ล้นเกินความต้องการใช้อยู่นับหมื่นเมกะวัตต์ ในปี ๒๕๕๘ หน่วยงานราชการด้านพลังงาน
ยังมีแผนที่จะสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มอีก โดยใช้ถ่านหินซึ่งคนทั่วโลกตระหนักร่วมกันแล้วว่าเป็นเชื้อเพลิงที่สกปรกที่สุด

โรงไฟฟ้าถ่านหินภาคใต้แห่งหนึ่งจะมาลงที่กระบี่ เมืองท่องเที่ยวทำรายได้อันดับ ๔ ของประเทศไทย ปีละกว่า ๖ หมื่นล้านบาท ปลูกปาล์มมากเป็นอันดับ ๒ เศษสิ่งชีวมวลเหลือใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าพอใช้ทั้งจังหวัด สอดคล้องกับแนวทางวิสัยทัศน์ กระบี่โกกรีน ที่กำหนดและดำเนินโดยท้องถิ่นมาแต่เดิม

โครงการที่คืบคลานเข้าสู่ที่ตั้งบนพื้นที่ชุ่มน้ำสำคัญระดับนานาชาติอย่างเงียบเชียบจึงถูกต่อต้านอย่างครึกโครมจากในพื้นที่จนถึงทำเนียบรัฐบาล
สถานการณ์สุกงอมกระทั่งช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งให้ยกเลิก EIA ที่ผ่านขั้นตอนมาแบบไม่ชอบ
ธรรม ให้ตั้งต้นจัดทำใหม่โดยเปิดกว้างการมีส่วนร่วมและฟังความเห็นอย่างรอบด้าน

โดยอาจตั้งต้นจากคำถามว่า คุณเอาถ่านไหม

385special2

Tales from Coal Mining
เหมืองถ่านหินข้ามชาติ บทเรียนจากอินโดนีเซีย

สู่ดินแดนที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ส่งออกถ่านหินรายใหญ่ของโลก อินโดนีเซีย

เฉพาะจังหวัดกาลีมันตันตะวันออก มีรายงานว่าพื้นที่ราวร้อยละ ๗๕ อนุมัติเป็นพื้นที่สัมปทานเหมืองถ่านหิน ให้เปิดหน้าดินแล้วใช้เครื่องจักรขุดลึกลงไป

ก้อนฟอสซิลที่หลับใหลมายาวนานถูกใช้เป็นเชื้อเพลิงในภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งผลิตไฟฟ้าในโรงไฟฟ้าถ่านหิน

ทุกวันนี้การลงทุนทำเหมืองถ่านหินในอินโดนีเซียเป็นธุรกิจข้ามชาติที่ดำเนินการโดยหลายประเทศ หนึ่งในนั้นมีทั้งรัฐวิสาหกิจและบริษัทเอกชนจากประเทศไทย

พักคำถามเรื่องการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศไทย ข้ามพรมแดนไปดูต้นทางของวัตถุดิบที่ใช้ในโรงไฟฟ้า