บ้านเรียน โลกกว้างกว่าห้องเรียน
การปฏิเสธโรงเรียนออกมาจัดการศึกษาให้ลูกเองที่บ้านเกิดขึ้นเงียบ ๆ มาหลายสิบปีแล้ว แต่ในยุคแรกยังติดขัดข้อกฎหมายการศึกษาภาคบังคับ
กระทั่งเมื่อมีการปฏิรูปการศึกษาในปี ๒๕๔๒ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติเปิดช่องให้พ่อแม่จัดการศึกษาให้ลูกหลานได้เองโดยชอบธรรม โรงเรียนแบบทำเองที่บ้านหรือโฮมสกูลจึงเริ่มแพร่หลายขึ้นตั้งแต่ในเมืองไปจนถึงในท้องถิ่นทั่วประเทศ
สารคดีหยิบนำเรื่องราวของบางบ้านเรียนมาเปิดให้เห็นโลกของโฮมสกูลในเมืองไทยโดยสังเขป พอให้รู้ว่ายังมีทางเลือกอีกสายอยู่ในแวดวงการศึกษาของบ้านเรา
ห้องเรียนที่เปิดกว้าง หลากหลาย ไม่มีกรอบเกณฑ์ตายตัว แต่วัดประเมินผลได้ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ห้องเรียนนอกระบบโรงเรียนที่เรียกกันว่าโฮมสกูลหรือบ้านเรียน
แซนโฎนตา ช่วงเวลาคนตายสอนคนเป็น
สองปีแล้วที่เดือนสิบเป็นฤดูกาลสำคัญให้ต้องจดลงปฏิทินว่า
“กลับบ้าน”
ทั้งบ้านของเพื่อนในกัมพูชา และเพื่อนไทยเชื้อสายคแมร์ที่อีสานใต้บ้านเรา
บ้านของพวกเขามีประเพณีหนึ่งที่เคร่งครัดว่าลูกหลานในตระกูลต้องพร้อมหน้าใน ๑ วันสำคัญเพื่อร่วม “กอบบุญ” และ “กราบบรรพชน” แสดงความกตัญญู ตามคติว่าในรอบปีวิญญาณบรรพบุรุษในยมโลกจะได้รับการปลดปล่อยให้กลับโลกมนุษย์มารับส่วนบุญกุศลจากลูกหลาน
เข้าใจอย่างง่าย คล้ายประเพณีที่คนไทยภาคกลางเรียก “วันสารท” ภาคเหนือเรียก “บุญสลากภัต” (หรือตานก๋วยสลาก) ภาคอีสานเรียกบุญมหาชาติ (หรือบุญผะเหวด) และภาคใต้เรียก “บุญเดือนสิบ” (หรือบุญชิงเปรต) สำหรับลูกหลานชาวคแมร์พวกเขาเรียก “แซนโฎนตา”
พิเศษตรงมีระยะเวลายาวนับแต่วันที่ผีบรรพชนเดินทางถึงโลกมนุษย์ในวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๐ และอยู่จนวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ซึ่งเป็นวันที่พระจันทร์ค่อย ๆ หรี่แสงจนมืดสนิทอีกครั้งจึงกลับยมโลกในวันรุ่งขึ้น
ช่วง ๑๕ วันนั้นมีกิจกรรมสำคัญอย่างการไหว้วันสารทเล็ก (เบ็ณฑ์ตูจ), พิธีกันสงฆ์ (กันซ็อง), ทำก้อนข้าว (บายเบ็ณฑ์), ไหว้วันสารทใหญ่ (เบ็ณฑ์ธม), เทกระเชอโฎนตา (ก็อนเจอฺโฎนตา) จนถึงพิธีส่งวิญญาณกลับ
เรื่องราวระหว่างพิธีล้วนแฝงกุศโลบายให้ลูกหลานรู้จัก “คุณค่าของครอบครัว”
เพื่อเข้าใจ “ความหมายแท้จริง” ของการกลับบ้านผ่านเทศกาลแซนโฎนตา