สุนันทา เฉลิมทิพย์ นักศึกษาฝึกงาน นิตยสารสารคดี : รายงาน

kimee04

kimee01

งานเปิดนิทรรศการ “กิหมี หมาจาก นมสิงห์” เปิดคลังความรู้ศัพท์ศิลปะ-หัตถกรรมไทย กับศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ(ราชบัณฑิต) โดยมีลูกชาย โน๊ต วัชรบูล ลี้สุวรรณ ร่วมถ่ายทอดการทำงานของคุณพ่อ พร้อมด้วยศรัณย์ ทองปาน พิธีกรนำบทสนทนา วันศุกร์ที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๐

เมื่อได้ยินคำว่า “กิหมี” “หมาจาก” “นมสิงห์” หลายคนคงเกิดความสงสัยว่าคำเหล่านี้คืออะไร และมีความหมายอย่างไร

ความเปลี่ยนแปลงของสังคม วิถีชีวิต และค่านิยม ทำให้หลายสิ่งหลายอย่างหายไปจากความคุ้นเคยของคนไทย หนึ่งในนั้นคือเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของคนรุ่นเก่า

ศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ (ราชบัณฑิต) ใช้เวลากว่า ๔๐ ปี ในการถ่ายภาพ เก็บรวบรวมข้าวของและข้อมูลของงานศิลปหัตถกรรมไทย จนนำมาสู่หนังสือชุดพจนานุกรมสามเล่มที่จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์เมืองโบราณ เพื่อให้เป็นแหล่งค้นคว้าความรู้ด้านศิลปะและหัตถกรรมไทยผ่านคำศัพท์ที่สะท้อนวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย ได้แก่ พจนานุกรมหัตถกรรมเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน พจนานุกรมผ้าและเครื่องถักทอ และพจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรมไทย

ข้อมูลบางส่วนจากหนังสือและเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้านจากกรุของ ศ.วิบูลย์ คลี่คลายมาสู่นิทรรศการ “กิหมี หมาจาก นมสิงห์  เปิดคลังความรู้ ศัพท์ศิลปะ-หัตถกรรมไทยกับศาสตราจารย์วิบูลย์ ลี้สุวรรณ” โดยความร่วมมือของหอสมุดเมืองกรุงเทพ ไทยพาณิชย์ SCB S&P และบริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน)kimee03

นอกเหนือจากจะรู้ว่า “กิหมี” เป็นสัตว์หิมพานต์ในจินตนาการของไทย “หมาจาก” เป็นเครื่องจักสานพื้นบ้านสำหรับตักน้ำ ยังมีความรู้อีกมากมายให้ได้ศึกษา หาคำตอบ

kimee02

นิทรรศการ “กิหมี หมาจาก นมสิงห์” เปิดคลังศัพท์ศิลปะ-หัตถกรรมไทย เปิดให้ชมจนถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๐ บริเวณลานเอนกประสงค์ ชั้น ๒ หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร ถนนราชดำเนิน

นอกจากจะได้รับรู้ว่า “กิหมี” เป็นชื่อสัตว์หิมพานต์ในจินตนาการของไทย ชื่อหมีแต่มีตัวเป็นหมา หน้าและตัวมีขนคล้ายสุนัขพันธุ์ปักกิ่ง หางเป็นพวง เท้าเป็นอุ้งซ่อนเล็บ “หมาจาก” เป็นเครื่องจักสานพื้นบ้านของภาคใต้ สำหรับตักน้ำ และ “นมสิงห์” เป็นชื่อเรียกองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ประดับอยู่ส่วนฐาน แล้ว ยังมีความรู้อื่นๆ อีกมากมายให้ได้ศึกษา หาคำตอบ เช่น กะเหล็บ แอบข้าว กะหมอง ซ้อนแซะ จั่นใย ร้อยรัก เป็นต้น

นิทรรศการ “กิหมี หมาจาก นมสิงห์” จะมีให้ชม ณ หอสมุดเมืองกรุงเทพ สี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนินกลาง กรุงเทพฯ จนถึงวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๐ ส่วนหนังสือชุดพจนานุกรมศัพท์ศิลปะ-หัตถกรรมไทย ทั้งสามเล่ม มีจำหน่ายที่ร้านริมขอบฟ้า ถนนราชดำเนินกลาง โทร. ๐ ๒๖๒๒ ๓๕๑๐ และร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป