๕ สกู๊ปหลักจากนิตยสารสารคดี ฉบับ ๓๙๒ ตุลาคม ๒๕๖๐
.
๒๔๗๐-๒๕๕๙ เก้าทศวรรษแห่งในหลวงรัชกาลที่ ๙
กองบรรณาธิการนิตยสารสารคดี
.
งานพระเมรุ : โบราณราชประเพณี และความเปลี่ยนแปลง
ศรัณย์ ทองปาน
.
ก่อนจะถึง “งานพระเมรุ”
กองบรรณาธิการนิตยสารสารคดี
.
“เมื่ออาทิตย์อัสดง” งานพระบรมศพบนแผ่นดินใหญ่อุษาคเนย์
สุเจน กรรพฤทธิ์
.
แคปซูลดินเผา-การฝังศพครั้งที่ ๒ : รอยอดีต “พระบรมโกศ”
สุชาดา ลิมป์
.
ทุ่งไหหิน : โลกหลังความตายในสุสานศิลา
รชฏ มีตุวงศ์
…..
นิตยสารสารคดี ฉบับ ๓๙๒ ตุลาคม ๒๕๖๐
นับจากวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙
วันแห่งความโศกเศร้าอาดูรสุดจะพรรณนาของปวงประชาราษฎร์
จวบถึงวันนี้ นับเวลา ๑ ปีที่ไม่มี “พ่อ”
และในอีกไม่ช้า คือวันที่มิอาจมีสิ่งใดหยุดยั้ง
งานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๐
อันหมายถึง กาลสิ้นสุดแห่งรูปสังขารที่พสกนิกรยึดเหนี่ยวพระองค์ไว้บนโลกนี้
…..
นิตยสารสารคดีขอร่วมน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้
ด้วยการจัดทำบทความเกี่ยวกับพระเมรุมาศ
ภูมิปัญญาอันมีมาแต่โบราณจนถึงปัจจุบันไว้อย่างครบถ้วน
และพระราชประวัติตลอดพระชนมพรรษา ๘๙ พรรษา
รวมทั้งบทความอื่นๆ ตลอดทั้งเล่มที่เกี่ยวเนื่องกับ “พ่อ”
* ชื่อฉบับและชื่อบทความทั้งหมด อาจปรับเปลี่ยนในภายหลัง
**นิตยสารสารคดีฉบับนี้จัดทำขึ้นระหว่างการสร้างพระเมรุมาศตลอดช่วงปีที่ผ่านมา จะไม่มีภาพและเนื้อหาในช่วงงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในเดือนตุลาคม ๒๕๖๐
**************
นิตยสารสารคดี ฉบับ ๓๙๒ ตุลาคม ๒๕๖๐
เปิดจองล่วงหน้าแล้วทางร้านหนังสือชั้นนำทั่วประเทศ
บีทูเอส B2S Thailand ร้านนายอินทร์ ร้านหนังสือริมขอบฟ้า Rimkhobfa และแผงหนังสือใกล้บ้านท่าน
ในราคาเล่มละ ๑๒๐ บาท
จนถึงวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๐ เท่านั้น
*หนังสือจะจัดพิมพ์เสร็จประมาณกลางเดือนตุลาคมนี้*
๒๔๗๐-๒๕๕๙ เก้าทศวรรษแห่งในหลวงรัชกาลที่ ๙
กองบรรณาธิการนิตยสารสารคดี
Timeline พระราชประวัติตั้งแต่แรกประสูติ ธันวาคม ๒๔๗๐ จนถึงวันสวรรคต ตุลาคม ๒๕๕๙
“ตลอดเท่าที่มีการบันทึกหลักฐาน งานพระเมรุย่อมถูกปรับเปลี่ยนมาโดยตลอด ตามความเปลี่ยนแปลงของสังคม ความก้าวหน้าทางวิทยาการ ความเหมาะสม งบประมาณ ตลอดจนพระราชนิยมของพระมหากษัตริย์ ทั้งที่ทรงล่วงลับไปแล้ว และพระองค์ผู้ซึ่งดูแลจัดการงานพระบรมศพของพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ งานพระเมรุจึงเป็นพิธีกรรมที่เป็นเสมือนเวทีแห่งเกียรติยศ พร้อมกับพื้นที่ของความเปลี่ยนแปลงเสมอมา”
งานพระเมรุ : โบราณราชประเพณี และความเปลี่ยนแปลง
ศรัณย์ ทองปาน
“ประติมากรรมที่ประดับโดยรอบพระเมรุมาศจึงต้องจัดวางเรียงเป็นลำดับชั้น ให้สอดคล้องกันกับคติเขาพระสุเมรุและเป็นสัญลักษณ์สะท้อนให้เห็นถึงสวรรค์ชั้นภูมิต่าง ๆ โดยมีจัดสร้างประติมากรรมมหาเทพ ได้แก่ พระพรหม พระนารายณ์ พระศิวะ พระพิฆเนศ และพระอินทร์ พร้อมด้วยเทวดาเชิญฉัตร บังแทรก และพุ่ม ประดับด้านในของพระเมรุมาศอันเป็นประดุจที่สถิตของปวงเทพยดา รายล้อมด้วยครุฑ ราชพาหนะที่จะเฝ้าติดตามองค์พระมหากษัตริย์ ส่วนชั้นนอกสุดเปรียบเสมือนป่าหิมพานต์ ซึ่งจะมีสัตว์มงคล คือ ช้าง ม้า โค สิงห์ ประจำอยู่ที่สระอโนดาต โดยมีท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่คอยดูแลอยู่สี่ทิศ”
ก่อนจะถึง “งานพระเมรุ”
กองบรรณาธิการ
“พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพยังถือเป็นงานที่ต้องใช้ทรัพยากรและกำลังคนจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างพระเมรุ หรือการจัดเตรียมกำลังคนสำหรับงานพระราชพิธี โดยทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้คติของศาสนาพุทธแบบเถรวาทผสมผสานกับความเชื่อแบบพราหมณ์ ที่ว่ากษัตริย์ทรงมีสถานะเช่นเดียวกับพระอินทร์ซึ่งสถิตย์อยู่ที่ยอดเขาพระสุเมรุ ศูนย์กลางจักรวาล
ไม่ว่าจะเป็นอังวะ ล้านนา สยาม ล้านช้าง หรือกัมพูชา ล้วนมีความเชื่อเช่นนี้ อย่างไรก็ตามยังมีรัฐโบราณบนแผ่นดินใหญ่อุษาคเนย์อีกแห่งหนึ่งคือเวียดนาม ซึ่งรับอารยธรรมจากจีน ทำให้ธรรมเนียมปฏิบัติมีรายละเอียดแตกต่างออกไป”
“เมื่ออาทิตย์อัสดง” งานพระบรมศพบนแผ่นดินใหญ่อุษาคเนย์
สุเจน กรรพฤทธิ์
ภาชนะ ทรงกระบอก ๒ ใบ ประกบกัน
ยาวรีคล้ายแคปซูล โดยหันปากภาชนะประกบกันแล้วใช้เศษภาชนะชิ้นใหญ่ค้ำยันระหว่างรอยต่อ วางฝังในแนวนอน บางใบที่ขุดพบมีการเจาะรูกลมบริเวณด้านข้างและก้นภาชนะด้วย
พบตัวอย่างหนึ่งเก็บรักษา-จัดแสดงที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ร้อยเอ็ด ทางสำนักศิลปากรที่ ๑๐ ร้อยเอ็ด เก็บจากแหล่งโบราณคดีในพื้นที่ราบลุ่มทางตอนล่างของจังหวัดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ “ทุ่งกุลาร้องไห้”
เป็นแคปซูลที่มีขนาดใหญ่มาก บรรจุกระดูกผู้ใหญ่ได้ทั้งโครง จัดวางในแนวนอน แล้วตั้งรูปฉากด้านหลังวัตถุโบราณเป็นรูปพื้นที่ราบแอ่งกระทะกว้าง เลียนแบบบริเวณตั้งถิ่นฐานของคนในสังคมเกษตรกรรมยุคก่อน
ภาชนะดินเผาบรรจุกระดูกรูปแบบนี้เป็นข้อสันนิษฐานว่าคือ “ต้นเค้า” ของ “พระโกศ-บรรจุศพของชนชั้นสูง” ในเวลาต่อมา
แคปซูลดินเผา-การฝังศพครั้งที่ ๒ : รอยอดีต “พระบรมโกศ”
สุชาดา ลิมป์