วิชาสารคดี ๑๐๑ ศาสตร์ ศิลป์ เคล็ดวิธี ว่าด้วยการเขียนสารคดี
สายพรเป็นหนึ่งใน ๕๐ สมาชิกค่ายสารคดี ครั้งที่ ๑๓ ซึ่งเป็นที่น่าตื่นเต้นและน่ายินดีนักว่า ค่ายสารคดีครั้งล่าสุดนี้สมาชิกอยู่เรียนจนจบตลอดหลักสูตร ๔ เดือน ครบเต็ม ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ และส่งงานกันครบทุกคน นี้เป็นเรื่องที่ไม่เคยมีในค่ายครั้งก่อนๆ
สมาชิกค่ายมาจากทั่วประเทศ ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาหรือไม่มีสถานภาพศึกษาก็สมัครเข้าเรียนได้ ผู้สมัครจำนวนหนึ่งเป็นเยาวชนที่เรียนสายวารสารศาสตร์และอักษรศาสตร์ แต่อีกบางส่วนมาจากหลากสาขาวิชา ด้วยค่ายสารคดีไม่ได้จำกัดคุณสมบัติด้านพื้นฐานการศึกษา เพศสภาพ หน้าตา สัญชาติ เชื้อชาติ ศาสนา เพียงแต่อายุยังไม่เกิน ๒๕ ปีเท่านั้น
สายพรมาจากดอยบนเทือกเขาถนธงชัยตะวันตก เป็นเยาวชนเผ่าปกากะญอ ไม่มีนามสกุล เพราะเธอไม่มีสัญชาติ
ภาพโดย ภาณุรุจ พงษ์วะสา
ตอนผ่านรอบคัดเลือกและรอบสัมภาษณ์เข้ามาได้ อาจมีคนกังขาว่าเด็กดอยอย่างเธอผ่านมาได้ด้วยคะแนนความเห็นใจหรือเปล่า
สายพรเล่าว่าเธอเพิ่งรู้ภาษาไทยตอนเข้าโรงเรียนที่บ้านโพซอ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน บ้านเกิดของเธอเป็นหย่อมบ้านเล็กๆ ขนาด ๑๐ กว่าหลังคาเรือน อยู่ลึกเข้าไป เธอจึงต้องมาเป็นนักเรียนประจำตั้งแต่ชั้นอนุบาล
จบมัธยมต้นแล้วมาต่อ ม.ปลาย ที่ตัวอำเภอแม่สะเรียง จบแล้วไปสมัครสอบชิงทุนทันตสาธารณสุขของสมเด็จย่า เธอสอบติดแต่เข้าเรียนไม่ได้เพราะไม่มีสัญชาติ จึงเปลี่ยนมาสอบเข้าเรียนคณะมนุษยศาสตร์ เอกภาษาไทย ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การได้รับเลือกเข้าร่วมค่าย รุ่น ๑๓ ทำให้เธอได้เดินทางมากรุงเทพฯ คนเดียวเป็นครั้งแรก ได้ขึ้นรถไฟไฟฟ้าครั้งแรกจากหมอชิตมาต่อรถไฟใต้ดิน มายังสถานีลุมพินี สู่ห้องเรียนค่ายสารคดีที่ห้องประชุมเล็กประไพวิริยะพันธุ์ อาคารวิริยะประกันภัย
สายพรไม่มีสัญชาติจึงไม่มีบัตรประชาชน เธอมักแสดงสถานะบุคคลด้วยบัตรนักศึกษา ถ้าคนตรวจติดใจกับที่ว่างในช่องนามสกุล เธอต้องแสดงหนังสืออนุญาตเดินทางออกนอกพื้นที่ ซึ่งต้องขอทุกครั้งที่ต้องเดินทาง
สายพรเป็นนักเรียนที่มีวินัยของค่าย ตลอด ๔ เดือนเธอขาดเรียนเพียงครั้งเดียว เนื่องด้วยใช้เงินเก็บหมดไปกับการลงพื้นที่เก็บข้อมูล จนไม่เหลือพอเป็นค่ารถทัวร์มากรุงเทพฯ
ที่ค่ายสารคดีเรียนฟรีมีอาหารเลี้ยง แต่ผู้เรียนต้องเดินทางมาเอง
ภาพโดย วิจิตต์ แซ่เฮ้ง
ตอนผ่านรอบคัดเลือกและรอบสัมภาษณ์เข้ามาได้ อาจมีคนกังขาว่าเด็กดอยอย่างเธอผ่านมาได้ด้วยคะแนนความเห็นใจหรือเปล่า
สายพรเล่าว่าเธอเพิ่งรู้ภาษาไทยตอนเข้าโรงเรียนที่บ้านโพซอ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน บ้านเกิดของเธอเป็นหย่อมบ้านเล็กๆ ขนาด ๑๐ กว่าหลังคาเรือน อยู่ลึกเข้าไป เธอจึงต้องมาเป็นนักเรียนประจำตั้งแต่ชั้นอนุบาล
จบมัธยมต้นแล้วมาต่อ ม.ปลาย ที่ตัวอำเภอแม่สะเรียง จบแล้วไปสมัครสอบชิงทุนทันตสาธารณสุขของสมเด็จย่า เธอสอบติดแต่เข้าเรียนไม่ได้เพราะไม่มีสัญชาติ จึงเปลี่ยนมาสอบเข้าเรียนคณะมนุษยศาสตร์ เอกภาษาไทย ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การได้รับเลือกเข้าร่วมค่าย รุ่น ๑๓ ทำให้เธอได้เดินทางมากรุงเทพฯ คนเดียวเป็นครั้งแรก ได้ขึ้นรถไฟไฟฟ้าครั้งแรกจากหมอชิตมาต่อรถไฟใต้ดิน มายังสถานีลุมพินี สู่ห้องเรียนค่ายสารคดีที่ห้องประชุมเล็กประไพวิริยะพันธุ์ อาคารวิริยะประกันภัย
สายพรไม่มีสัญชาติจึงไม่มีบัตรประชาชน เธอมักแสดงสถานะบุคคลด้วยบัตรนักศึกษา ถ้าคนตรวจติดใจกับที่ว่างในช่องนามสกุล เธอต้องแสดงหนังสืออนุญาตเดินทางออกนอกพื้นที่ ซึ่งต้องขอทุกครั้งที่ต้องเดินทาง
สายพรเป็นนักเรียนที่มีวินัยของค่าย ตลอด ๔ เดือนเธอขาดเรียนเพียงครั้งเดียว เนื่องด้วยใช้เงินเก็บหมดไปกับการลงพื้นที่เก็บข้อมูล จนไม่เหลือพอเป็นค่ารถทัวร์มากรุงเทพฯ
ที่ค่ายสารคดีเรียนฟรีมีอาหารเลี้ยง แต่ผู้เรียนต้องเดินทางมาเอง
ตอนท้ายค่ายมีการสร้างความคึกคักและส่งเสริมกำลังใจให้เกิดความกระตือรือร้น ด้วยการจัดประกวดงานเขียนและภาพ ที่อาจถือเป็นเส้นชัยของช่วง ๔ เดือนที่ผ่านมา
งานเขียนของสายพรได้รับรางวัลที่ ๑ ด้วยคะแนนเด็ดขาดเอกฉันท์จากคณะกรรมการ ซึ่งเป็นที่ชัดเจนแน่นอนว่าวัดจากตัวชิ้นงานโดยไม่เกี่ยวกับตัวผู้เขียน
ในช่วง ๔ เดือนของค่ายถือว่าเธอก้าวได้ไกลกว่าเพื่อนในเมือง เพื่อนที่มีพื้นฐานแน่นหนามาก่อน เพื่อนที่มีความพร้อมรอบด้านมากกว่า ฯลฯ
ส่วนเส้นทางในวันข้างหน้าเป็นเรื่องที่ต้องรอเวลาจับตาดูกันต่อไป
สายพรพูดถึงเส้นทางการเขียนของตัวเองว่า “ช่วง ม.ปลาย ครูภาษาไทยชอบพาไปประกวดการเขียนที่โน่นที่นี่ ไม่เคยฝึกการเขียน แต่อยู่ในหมู่บ้านตอนพ่อคุยกับเพื่อน หนูชอบนั่งฟัง และหนูเขียนจากประสบการณ์ที่เจอมา แต่เขียนเป็นเรื่องแต่งซึ่งอิงจากเรื่องจริงทั้งหมด พอตอนนี้รู้จักสารคดีแล้ว คงสามารถทุ่มไปทางนี้ได้”
และพูดถึงก้าวต่อไปของเธอว่า
“ตอนนี้เขียนได้เยอะขึ้น ได้แรงบันดาลใจที่เขียนงานแล้วมีคนช่วยอ่าน และเมื่อลองเขียนออกมาแล้ว งานเราไม่ได้แย่นัก ถ้าฝึกต่อก็คงเขียนได้ต่อไป ขอบคุณค่ายที่ทำให้ความฝันของหนูมีพลังมีชีวิตขึ้นมา และในอนาคตหนูจะเป็นนักเขียนได้”
ราว ๒๐ ปีก่อนเมืองไทยได้รู้จักนักเขียนปกากะญอแห่งเทือกเขาถนนธงชัยนาม “พ้อเลป่า” ซึ่งบัดนี้นักเขียนผู้เฒ่าได้ลาจากโลกไปหลายปี และยังไม่มีนักเขียนเกิดใหม่จากยอดดอย
บางทีอีกไม่กี่ปีข้างหน้า วงการสารคดีไทยอาจได้ต้อนรับนักเขียนเลือดปกากะญอคนใหม่ นักเขียนสาวนาม สายพร จากดอยแม่สะเรียง