ผลงานจากค่ายสารคดี ครั้งที่ 14
งานภาพดีเด่น
พันธิตรา ขันธรักษ์ : เรื่อง
สรณ์ศิริ ปฐมสุริยะพร : ภาพ
bookshop นอกจากร้านใหญ่ตามห้างแล้ว มีร้านไหนอีกบ้างที่นึกถึง?
สำหรับเราคงเป็นร้าน Fathom (ฟาท่อม) ร้านหนังสืออิสระขนาดหนึ่งคูหา สูงสี่ชั้น ที่อยู่ในพื้นที่ที่เราไม่คิดว่าจะมีร้านหนังสืออิสระมาตั้งอยู่ตรงนี้ได้อย่างซอยสวนพลู–สาทร ย่านนี้ถ้าเสิร์ชหาข้อมูลดูก็คงจะเจอแต่ร้านอาหาร ตลาด คอนโดฯ และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง Fathom ถูกขนาบข้างด้วยร้านแว่นตาและธนาคาร ฝั่งตรงข้ามคือสถานีตำรวจทุ่งมหาเมฆที่ใช้อาคารร่วมกับสถานีตำรวจบางโพงพาง
เรายืนอยู่หน้า Fathom Bookspace เพราะมีนัดกับเจ้าของร้านวันนี้ ด้านหน้าร้านเป็นกระจกบานใหญ่ที่ทำให้คนเดินผ่านสามารถมองเห็นเข้าไปในร้านได้ชัดเจน เสียงกระดิ่งที่แขวนอยู่ตรงประตูทางเข้าเมื่อเราเปิดเข้าไปในร้านทำให้เจ้าของร้านทั้งสองคนหยุดสิ่งที่ทำอยู่แล้วหันมายิ้มให้เรา
Fathom Bookspace : พื้นที่ของความธรรมดาขนาดหนึ่งคูหา บนเส้นทางสวนพลู-สาทร
Fathom Bookspace : พื้นที่ของความธรรมดาขนาดหนึ่งคูหา บนเส้นทางสวนพลู-สาทร
โลกอีกใบในร้านหนังสือ ทันทีที่ก้าวเข้ามาภายในร้านแห่งนี้ ความสงบอบอุ่นเข้ามาทักทาย ตามด้วยคำต้อนรับจากเจ้าของร้านและการเชิญชวนของเหล่าหนังสือมากมาย
ขนิษฐา ธรรมปัญญา (กุ๊กไก่) และ ภัทรอนงค์ สิรีพิพัฒน์ (ป่าน) เจ้าของร้านหนังสือ Fathom Bookspace
ภัทรอนงค์ สิรีพิพัฒน์ (ป่าน) หญิงผมสั้นตัวเล็ก และ ขนิษฐา ธรรมปัญญา (กุ๊กไก่) สาวผมฟูตัวสูงเจ้าของร้าน Fathom Bookspace มานั่งพูดคุยกับเราถึงความเป็นมาว่าทำไมจากคนที่เคยทำงานอยู่สำนักพิมพ์และอีกคนที่ทำงานกระบวนการด้านสังคมถึงมาเปิดร้านหนังสือกันได้
“เรารู้สึกว่าคุณภาพในการใช้ชีวิตของเรามันต่ำลง อึดอัด ทำอะไรไม่ได้ สิ่งแวดล้อมแย่ อาหารไม่อร่อย หนังสือดีๆต้องถูกลดราคา ทุกอย่างมันไม่ได้ถูกจัดการด้านคุณภาพชีวิต มันเลยทำให้เกิดคำถามนะ หรือเป็นเพราะเราไม่ได้เห็นคนอื่น เพราะถ้าเจอแบบนี้เราก็ไม่ชอบเราก็จะไม่ทำกับคนอื่นพอเป็นแบบนี้เราก็จะไม่สร้างผลเสียให้กับสังคม”ป่านบอกเชิงระบายไปด้วย
ไอเดียในการแลกเปลี่ยนของทั้งสองคนในตอนนั้นมีหลากหลายสุดๆ อยากจัดทำอีเวนต์เกี่ยวกับการเรียนรู้ แต่ก็อยากมีพื้นที่ของตัวเอง เพื่อที่ให้คนได้เข้าใจตัวเอง เข้าใจคนอื่นและโลกมากขึ้น ทุกไอเดียเลยมาจบที่สิ่งที่ทั้งสองคนสนใจและคิดว่าทำได้ดี นั่นก็คือหนังสือ
“ซึ่งเราอยากให้ร้านเรามีทั้งหนังสือ กระบวนการเรียนรู้ ศิลปะการขายหนังสือ ชวนคนอ่านหนังสือ เวิร์กช็อป มีละคร ดนตรี ภาวนา” ป่านพูดถึงสิ่งที่เคยฝันไว้ถึงร้านของตัวเอง
“คนอื่นต้องการขายหนังสือ แนะนำหนังสือ อินกับหนังสือ แต่เราต้องการตึกที่มีมากกว่าหนึ่งชั้น เพราะต้องการพื้นที่เวิร์กช็อปด้วย” กุ๊กไก่ช่วยยืนยันถึงสิ่งที่ทั้งสองคนตั้งใจจะสร้างขึ้นมา
“ตอนหาร้านเราตั้งเกณฑ์ในการเลือกไว้สามข้อ เดินทางสะดวก มีความเป็นชุมชน และผู้คนที่หลากหลาย อย่างคนทำงาน นักเรียนนักศึกษาอยู่ในพื้นที่แถวนี้ เพราะถ้ามีกิจกรรมอะไรเราว่าน่าจะได้การแลกเปลี่ยนที่หลากหลาย” ป่านเสริมถึงเรื่องพื้นที่ในการเลือกบ้านให้กับ Fathom
“ส่วนชื่อนี่เลือกไว้เยอะมากจนมาจบที่ Fathom ออกเสียงน่ารักดี ความหมายคือหน่วยวัดความลึกของใต้ทะเล ให้กลิ่นอายการผจญภัยดี แล้วก็ยังหมายถึงความเข้าใจหยั่งรู้หยั่งถึง เข้าใจกับธรรมชาติบางสิ่ง แถมยังแปลว่าโอบกอดได้อีกด้วย” กุ๊กไก่นำเสนอที่มาของชื่อร้านให้กับเราด้วยความภาคภูมิใจ
“สำหรับ Fathom เราอยากให้เป็นเหมือนบ้านเพื่อน ลูกค้าที่เข้ามาสามารถดูแลตัวเองได้ อยากกินอะไรก็บอก อยากอ่านอะไรก็บอก อ้อ… แล้วก็อยากให้เป็นพื้นที่ที่สามารถคุยกับคนแปลกหน้าได้ด้วย เราเลยมีโต๊ะใหญ่อยู่ตรงนั้น ไว้ให้คนแปลกหน้าได้อ่านหนังสือใกล้ๆ แบบมีระยะห่างกัน ” ป่านมองไปตรงโต๊ะหน้าร้านที่ทุกคนต้องเดินผ่านเมื่อมาที่นี่แล้ว
“แต่มันก็มีบรรยากาศแบบอื่นๆ ที่ถูกเติมเข้ามานะ อย่างเวลาคนมาที่ร้านแล้วบอกว่ารู้สึกผ่อนคลาย แต่มันไม่ได้เกิดเพราะเราอยากเปิดร้านบำบัดไง แต่อาจเป็นเพราะเพลง กลิ่น อุณหภูมิ เสียงกระดิ่งตรงประตู ที่เราเลือกมาแล้วว่าควรเป็นแบบนี้” ซึ่งเราเองก็รู้สึกอย่างที่ป่านพูดจริงๆ กลิ่นหอมอ่อนๆ และเสียงเพลงบรรเลงคลอเบาๆ ทำให้เรารู้สึกหลุดออกจากความวุ่นวายด้านนอกแล้วมีสมาธิอยู่กับตรงนี้
ใส่ใจในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ
เปียโนสาธารณะ เปียโนตัวนี้ตั้งตระหง่านเชิญชวนผู้คนให้แวะเวียนไปสร้างสรรค์บทเพลงในฝัน
ภัทรอนงค์ สิรีพิพัฒน์ (ป่าน) กับเปียโนหลังโปรด
ให้หนังสือโอบกอด มุมหนังสือบริการให้เลือกอ่านมากมาย
หนังสือดีสักเล่มกับกาแฟสักแก้ว แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว
นอกจากความเป็นร้านหนังสืออิสระที่มีพื้นที่ให้คนอ่านสามารถนั่ง นอน เลือกหนังสือได้แล้ว ก็ยังมีเครื่องดื่มด้วย เพราะป่านบอกกับเราว่า “เวลาไปเลือกหนังสือก็อยากมีที่ให้นั่งอ่านพร้อมจิบเครื่องดื่มไปด้วยระหว่างเลือก” ที่นี่ก็เลยมีทุกอย่างที่ป่านอยากให้เป็น ทั้งสองคนยังใช้พลังและความสร้างสรรค์ที่มีมาจัดเป็นนิทรรศการของร้าน และเปลี่ยนธีมนิทรรศการในร้านทุกๆ 2 เดือนอีกด้วย ความน่ารักและความใส่ใจของป่านและกุ๊กไก่อยู่ในทุกรายละเอียดของร้าน รวมไปถึงการจัดวางหนังสือ ที่มีชั้นวางเพิ่มเติมขึ้นมาเรื่อยๆ จากที่เรามาครั้งแรก ชั้น 2 ที่เป็นโซนยืมอ่านจากความตั้งใจของกุ๊กไก่ ที่หลงรักในหนังสือภาพ และอยากให้คนอื่นได้มีโอกาสสัมผัสหนังสือภาพแบบกุ๊กไก่บ้าง
“แต่เด็กๆ บางคน หรือนักศึกษาบางคน ไม่ได้มีกำลังพอที่จะซื้อหนังสืออ่านไง ถ้าใครอยากอ่านหนังสือ แต่ไม่สามารถเข้าถึงการซื้ออ่านได้ตลอด ก็มายืมกลับไปอ่านได้” กุ๊กไก่เล่าถึงเหตุผลที่ร้านหนังสือแห่งนี้มีโซนให้ยืมหนังสือด้วย และการที่จะยืมอ่านก็ต้องสมัครสมาชิกให้เป็นระบบระเบียบเรียบร้อยกันก่อน
ความสนุกของการมาร้านหนังสืออิสระคือการที่เราสามารถปรึกษากับเจ้าของร้าน หรือให้เจ้าของร้านช่วยแนะนำหนังสือกับเราได้ เราสงสัยเลยถามป่านกับกุ๊กไก่ถึงเทคนิคในการเลือกหนังสือให้ลูกค้า
“โห ตอบยากจัง มันไม่มีทฤษฎีอะ แต่อยากลองตอบ” ป่านใช้เวลาคิดอยู่สักครู่หนึ่ง
“ก็ขึ้นอยู่กับหลายอย่างนะ อยู่ที่ว่าอะไรโดดเด่นแล้วพอจะประกอบกันได้ อย่างบุคลิกภาพ การแต่งตัว วิธีพูดคุยกับเรา อารมณ์ของเขา สิ่งที่เขาบอกเราเลยว่าอยากได้อะไร หรือหนังสือที่เขาเคยอ่าน หนังสือที่เขาชอบ อาชีพการงาน แล้วแต่คนนะ ทุกอย่างมันแล้วแต่คนหมด ว่าอะไรมันมีผล เช่น บางคนเข้ามาด้วยหน้าที่การงานที่ดูโดดเด่นมาก เราก็รู้สึกว่า เฮ้ย… เขาอาจจะสนใจแนวนี้ แต่บางคนเข้ามาด้วยอินเนอร์ของอารมณ์ที่พลุ่งพล่านบางอย่าง เขาก็อาจจะต้องการแนวนี้ หรือบางคนเข้ามาด้วยคาแรกเตอร์ที่เฉพาะตัวมากๆ เรารู้สึกว่าเฮ้ย เล่มนี้อาจจะชอบ ดูจากบุคลิกแล้ว หรือบางคนต้องให้เขาอยู่กับร้านไปก่อนสัก 10 นาที อย่าเพิ่งไปยุ่งอะไรตั้งแต่แรก แล้วค่อยไปแย็บๆ ดู แต่บางคนก็ต้องการความช่วยเหลือตั้งแต่ก้าวเข้าร้านมาเลย เอาจริงๆ ก็ผสมหลายอย่างนั่นแหละ ใช้ทักษะของกระบวนกรมาก แต่ใช้ไม่ได้ทุกครั้งนะ บางครั้งก็เดาผิด”
จากที่ฟังป่านเล่ารู้สึกว่าเหมือนเป็นภารกิจบางอย่างที่เจ้าของร้านหนังสือจะต้องทำให้สำเร็จลุล่วงให้ได้ แต่ก็ไม่ได้เสมอไป ภารกิจล้มเหลวบ้างก็มี เราเองก็เป็นอีกหนึ่งคนที่เจ้าของร้านได้ทำสำเร็จ
ป่านและกุ๊กไก่ชอบหนังสือมากขนาดนั้นเลยเหรอ
“หนังสือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่ทำให้เราเจออะไรบางอย่าง เราสนใจหนังสือในแง่นั้น เราไม่ได้เก่งว่านี่คือโครงสร้างวรรณกรรมที่ดีมาก นู่นนี่ โหย… แต่เรารู้สึกว่าหนังสือเล่มนี้แม่งโคตรมีพลังกับเรามากๆ ในตอนนี้ เวลาที่เขาบอกว่าหนังสือดี เราคุยกันหลายครั้งมากกับการนิยามว่าหนังสือดี ถ้าพวกเราแค่รู้สึกว่าเหมาะกับเราในช่วงเวลานั้น ซึ่งรางวัลอะไรใหญ่โตอาจจะอ่านตอนนี้แต่ไม่เก็ตอะไรเลย ไม่แมตช์กันแค่นั้น”
แต่เราชอบอ่านหนังสือรางวัล” ป่านบอกทันทีที่กุ๊กไก่พูดจบ
“อืม” กุ๊กไก่รับคำแค่นั้นก่อนจะหันมาเล่าเรื่องความสงสัยของเธอให้ฟัง
กุ๊กไก่บอกคนส่วนใหญ่ไม่ชินกับร้านหนังสือ ไม่คุ้นเคยกับคำว่า bookshop มีคนเคยเข้ามาถามในร้านว่าหนังสือพวกนี้ขายเหรอ หรือว่าอ่านฟรี เขาไม่รู้ว่าหมายถึงอะไร ถ้าไม่ใช่ซีเอ็ดไม่เข้าใจ ทำไมถึงมีที่นั่ง ให้อ่านฟรีเหรอ นี่ coworking space เหรอ แต่ก็มีกลุ่มคนอ่านเยอะกว่าที่ทั้งสองคิด กลุ่มคนที่เข้ามาร้านเพื่อถามหาหนังสือแบบเจาะจงเลยก็มี หรือคนรุ่นใหม่ที่เริ่มอ่านหนังสือก็เยอะ เพราะเขาอยู่ในช่วงที่ไม่แน่ใจกับชีวิต ลองหาเครื่องมือที่จะตอบโจทย์บางอย่าง เขาบอกว่าไม่รู้มาก่อนว่าอ่านหนังสือแล้วสนุกมาก น่าค้นหา
พอบทสนทนาของเราเริ่มผ่านเรื่องราวความสุขมาได้ไม่นานป่านพูดถึงความกังวลใจของเธอ อย่างเรื่องสัญญาค่าที่ที่กำลังจะครบในอีกไม่นานนี้ ว่าจะทำยังไงให้เจ้าของไม่ขึ้นค่าเช่าเพิ่มตามความเปลี่ยนแปลงของสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นความกังวลใจของกุ๊กไก่ด้วยเช่นกัน
“ที่โปแลนด์ ทางรัฐบาลเขามีการจัดหาพื้นที่ให้กับร้านหนังสืออิสระนะ แถมช่วยจ่ายค่าเช่าให้ด้วย ซึ่งจริงๆ แค่นี้ก็พอแล้วสำหรับร้านหนังสืออิสระ ที่เหลือเราจัดการเองได้” กุ๊กไก่เล่าให้ฟังหลังจากที่มีหนุ่มจากโปแลนด์แวะมาที่ร้านและได้พูดคุยกับเธอ
พอมานึกดูดีๆ แล้วประเทศไทย การที่จะทำงานเกี่ยวกับหนังสือ การอ่าน นักเขียน สำนักพิมพ์ ต้องฟันฝ่าด้วยตัวเองมากๆ อย่างที่ป่านบอกว่าจริงๆ แล้วคนเราถ้าจะเลือกประกอบอาชีพจากความถนัด ฉันทำมันได้ ชอบ เลี้ยงตัวเองได้ นี่คืออาชีพ ไม่ต้องการอุดมการณ์ขนาดนั้น มันต้องอยู่ได้สิ แต่กลายเป็นพอใครทำต้องมีอุดมการณ์สูงส่ง ซึ่งจริงๆ มันไม่ควรที่จะเป็นอย่างนั้นเลย เพราะมันเป็นสิ่งที่รัก ไม่ถึงกับต้องทำเพื่อประเทศชาติ แค่ตัวเองมีความสุข คนรอบข้างมีความสุข ก็น่าจะทำให้อะไรดีขึ้นเยอะ แล้วมันน่าจะเป็นสิ่งที่ทุ่มเทแบบปรกติได้
“เราอยู่กับความไม่ปรกติจนมันกลายเป็นปรกติไปแล้ว ทั้งๆ ที่เราควรมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่านี้ แต่เราอยู่กับความย่ำแย่ ความไม่เท่าเทียมกันจนชิน ซึ่งความชินจนเป็นปรกติแบบนี้มันน่ากลัว มันกลืนกินเราไปขนาดไหน เราต้องอยู่กับความปรกตินี้ไปอีกนานแค่ไหน เราเลยอยากทำพื้นที่แบบนี้ ตรงนี้ขึ้นมา” คำพูดของป่านชวนให้เราคิดว่าเราต้องอยู่กับความปรกตินี้ไปอีกนานแค่ไหน ป่านและกุ๊กไก่ก็ให้คำตอบกับเราไม่ได้ แต่อย่างน้อยเราก็ได้แต่หวังให้มีพื้นที่แบบนี้เกิดขึ้นมาอีก
จากที่เราบอกว่าทำไมร้านหนังสือถึงมาตั้งอยู่ตรงนี้ได้ จนถึงตอนนี้เรารู้สึกว่ามันไม่แปลก เพราะเมื่อเราเข้าใจ รู้ว่านี่คือความธรรมดาและสิ่งที่มันควรจะเป็น มันก็กลายเป็นความปรกติที่ควรจะเป็นของมันนั่นแหละ
นอกจากความเป็นร้านหนังสืออิสระที่มีพื้นที่ให้คนอ่านสามารถนั่ง นอน เลือกหนังสือได้แล้ว ก็ยังมีเครื่องดื่มด้วย เพราะป่านบอกกับเราว่า “เวลาไปเลือกหนังสือก็อยากมีที่ให้นั่งอ่านพร้อมจิบเครื่องดื่มไปด้วยระหว่างเลือก” ที่นี่ก็เลยมีทุกอย่างที่ป่านอยากให้เป็น ทั้งสองคนยังใช้พลังและความสร้างสรรค์ที่มีมาจัดเป็นนิทรรศการของร้าน และเปลี่ยนธีมนิทรรศการในร้านทุกๆ 2 เดือนอีกด้วย ความน่ารักและความใส่ใจของป่านและกุ๊กไก่อยู่ในทุกรายละเอียดของร้าน รวมไปถึงการจัดวางหนังสือ ที่มีชั้นวางเพิ่มเติมขึ้นมาเรื่อยๆ จากที่เรามาครั้งแรก ชั้น 2 ที่เป็นโซนยืมอ่านจากความตั้งใจของกุ๊กไก่ ที่หลงรักในหนังสือภาพ และอยากให้คนอื่นได้มีโอกาสสัมผัสหนังสือภาพแบบกุ๊กไก่บ้าง
“แต่เด็กๆ บางคน หรือนักศึกษาบางคน ไม่ได้มีกำลังพอที่จะซื้อหนังสืออ่านไง ถ้าใครอยากอ่านหนังสือ แต่ไม่สามารถเข้าถึงการซื้ออ่านได้ตลอด ก็มายืมกลับไปอ่านได้” กุ๊กไก่เล่าถึงเหตุผลที่ร้านหนังสือแห่งนี้มีโซนให้ยืมหนังสือด้วย และการที่จะยืมอ่านก็ต้องสมัครสมาชิกให้เป็นระบบระเบียบเรียบร้อยกันก่อน
ความสนุกของการมาร้านหนังสืออิสระคือการที่เราสามารถปรึกษากับเจ้าของร้าน หรือให้เจ้าของร้านช่วยแนะนำหนังสือกับเราได้ เราสงสัยเลยถามป่านกับกุ๊กไก่ถึงเทคนิคในการเลือกหนังสือให้ลูกค้า
“โห ตอบยากจัง มันไม่มีทฤษฎีอะ แต่อยากลองตอบ” ป่านใช้เวลาคิดอยู่สักครู่หนึ่ง
“ก็ขึ้นอยู่กับหลายอย่างนะ อยู่ที่ว่าอะไรโดดเด่นแล้วพอจะประกอบกันได้ อย่างบุคลิกภาพ การแต่งตัว วิธีพูดคุยกับเรา อารมณ์ของเขา สิ่งที่เขาบอกเราเลยว่าอยากได้อะไร หรือหนังสือที่เขาเคยอ่าน หนังสือที่เขาชอบ อาชีพการงาน แล้วแต่คนนะ ทุกอย่างมันแล้วแต่คนหมด ว่าอะไรมันมีผล เช่น บางคนเข้ามาด้วยหน้าที่การงานที่ดูโดดเด่นมาก เราก็รู้สึกว่า เฮ้ย… เขาอาจจะสนใจแนวนี้ แต่บางคนเข้ามาด้วยอินเนอร์ของอารมณ์ที่พลุ่งพล่านบางอย่าง เขาก็อาจจะต้องการแนวนี้ หรือบางคนเข้ามาด้วยคาแรกเตอร์ที่เฉพาะตัวมากๆ เรารู้สึกว่าเฮ้ย เล่มนี้อาจจะชอบ ดูจากบุคลิกแล้ว หรือบางคนต้องให้เขาอยู่กับร้านไปก่อนสัก 10 นาที อย่าเพิ่งไปยุ่งอะไรตั้งแต่แรก แล้วค่อยไปแย็บๆ ดู แต่บางคนก็ต้องการความช่วยเหลือตั้งแต่ก้าวเข้าร้านมาเลย เอาจริงๆ ก็ผสมหลายอย่างนั่นแหละ ใช้ทักษะของกระบวนการมาก แต่ใช้ไม่ได้ทุกครั้งนะ บางครั้งก็เดาผิด”
จากที่ฟังป่านเล่ารู้สึกว่าเหมือนเป็นภารกิจบางอย่างที่เจ้าของร้านหนังสือจะต้องทำให้สำเร็จลุล่วงให้ได้ แต่ก็ไม่ได้เสมอไป ภารกิจล้มเหลวบ้างก็มี เราเองก็เป็นอีกหนึ่งคนที่เจ้าของร้านได้ทำสำเร็จ
ป่านและกุ๊กไก่ชอบหนังสือมากขนาดนั้นเลยเหรอ
“หนังสือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตที่ทำให้เราเจออะไรบางอย่าง เราสนใจหนังสือในแง่นั้น เราไม่ได้เก่งว่านี่คือโครงสร้างวรรณกรรมที่ดีมาก นู่นนี่ โหย… แต่เรารู้สึกว่าหนังสือเล่มนี้แม่งโคตรมีพลังกับเรามากๆ ในตอนนี้ เวลาที่เขาบอกว่าหนังสือดี เราคุยกันหลายครั้งมากกับการนิยามว่าหนังสือดี ถ้าพวกเราแค่รู้สึกว่าเหมาะกับเราในช่วงเวลานั้น ซึ่งรางวัลอะไรใหญ่โตอาจจะอ่านตอนนี้แต่ไม่เก็ตอะไรเลย ไม่แมตช์กันแค่นั้น”
แต่เราชอบอ่านหนังสือรางวัล” ป่านบอกทันทีที่กุ๊กไก่พูดจบ
“อืม” กุ๊กไก่รับคำแค่นั้นก่อนจะหันมาเล่าเรื่องความสงสัยของเธอให้ฟัง
กุ๊กไก่บอกคนส่วนใหญ่ไม่ชินกับร้านหนังสือ ไม่คุ้นเคยกับคำว่า bookshop มีคนเคยเข้ามาถามในร้านว่าหนังสือพวกนี้ขายเหรอ หรือว่าอ่านฟรี เขาไม่รู้ว่าหมายถึงอะไร ถ้าไม่ใช่ซีเอ็ดไม่เข้าใจ ทำไมถึงมีที่นั่ง ให้อ่านฟรีเหรอ นี่ coworking space เหรอ แต่ก็มีกลุ่มคนอ่านเยอะกว่าที่ทั้งสองคิด กลุ่มคนที่เข้ามาร้านเพื่อถามหาหนังสือแบบเจาะจงเลยก็มี หรือคนรุ่นใหม่ที่เริ่มอ่านหนังสือก็เยอะ เพราะเขาอยู่ในช่วงที่ไม่แน่ใจกับชีวิต ลองหาเครื่องมือที่จะตอบโจทย์บางอย่าง เขาบอกว่าไม่รู้มาก่อนว่าอ่านหนังสือแล้วสนุกมาก น่าค้นหา
พอบทสนทนาของเราเริ่มผ่านเรื่องราวความสุขมาได้ไม่นานป่านพูดถึงความกังวลใจของเธอ อย่างเรื่องสัญญาค่าที่ที่กำลังจะครบในอีกไม่นานนี้ ว่าจะทำยังไงให้เจ้าของไม่ขึ้นค่าเช่าเพิ่มตามความเปลี่ยนแปลงของสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นความกังวลใจของกุ๊กไก่ด้วยเช่นกัน
“ที่โปแลนด์ ทางรัฐบาลเขามีการจัดหาพื้นที่ให้กับร้านหนังสืออิสระนะ แถมช่วยจ่ายค่าเช่าให้ด้วย ซึ่งจริงๆ แค่นี้ก็พอแล้วสำหรับร้านหนังสืออิสระ ที่เหลือเราจัดการเองได้” กุ๊กไก่เล่าให้ฟังหลังจากที่มีหนุ่มจากโปแลนด์แวะมาที่ร้านและได้พูดคุยกับเธอ
นิทรรศการของร้าน เป็นพื้นที่แสดงตัวตน แสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนมุมมอง ระหว่างคนที่ไม่เคยรู้จัก แต่หลงรักสิ่งเดียวกัน
ร้านที่เป็นเหมือนบ้าน โต๊ะตัวใหญ่ตรงหน้าร้านจึงเป็นเสมือนโต๊ะรับแขกและที่พักกายพักใจสำหรับคนทุกเพศทุกวัย
พอมานึกดูดีๆ แล้วประเทศไทย การที่จะทำงานเกี่ยวกับหนังสือ การอ่าน นักเขียน สำนักพิมพ์ ต้องฟันฝ่าด้วยตัวเองมากๆ อย่างที่ป่านบอกว่าจริงๆ แล้วคนเราถ้าจะเลือกประกอบอาชีพจากความถนัด ฉันทำมันได้ ชอบ เลี้ยงตัวเองได้ นี่คืออาชีพ ไม่ต้องการอุดมการณ์ขนาดนั้น มันต้องอยู่ได้สิ แต่กลายเป็นพอใครทำต้องมีอุดมการณ์สูงส่ง ซึ่งจริงๆ มันไม่ควรที่จะเป็นอย่างนั้นเลย เพราะมันเป็นสิ่งที่รัก ไม่ถึงกับต้องทำเพื่อประเทศชาติ แค่ตัวเองมีความสุข คนรอบข้างมีความสุข ก็น่าจะทำให้อะไรดีขึ้นเยอะ แล้วมันน่าจะเป็นสิ่งที่ทุ่มเทแบบปรกติได้
“เราอยู่กับความไม่ปรกติจนมันกลายเป็นปรกติไปแล้ว ทั้งๆ ที่เราควรมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่านี้ แต่เราอยู่กับความย่ำแย่ ความไม่เท่าเทียมกันจนชิน ซึ่งความชินจนเป็นปรกติแบบนี้มันน่ากลัว มันกลืนกินเราไปขนาดไหน เราต้องอยู่กับความปรกตินี้ไปอีกนานแค่ไหน เราเลยอยากทำพื้นที่แบบนี้ ตรงนี้ขึ้นมา” คำพูดของป่านชวนให้เราคิดว่าเราต้องอยู่กับความปรกตินี้ไปอีกนานแค่ไหน ป่านและกุ๊กไก่ก็ให้คำตอบกับเราไม่ได้ แต่อย่างน้อยเราก็ได้แต่หวังให้มีพื้นที่แบบนี้เกิดขึ้นมาอีก
จากที่เราบอกว่าทำไมร้านหนังสือถึงมาตั้งอยู่ตรงนี้ได้ จนถึงตอนนี้เรารู้สึกว่ามันไม่แปลก เพราะเมื่อเราเข้าใจ รู้ว่านี่คือความธรรมดาและสิ่งที่มันควรจะเป็น มันก็กลายเป็นความปรกติที่ควรจะเป็นของมันนั่นแหละ
พันธิตรา ขันธรักษ์
ชื่อฝ้าย ถ้าเฉพาะเจาะจงหน่อยก็เรียก ฝ้ายแท็ก
ชอบเดินทาง และแสวงหาของกินอร่อย ๆ มีความสุขกับการใช้ชีวิตในตอนนี้ดี
……
สรณ์ศิริ ปฐมสุริยะพร
สวัสดีครับ ผมชื่อ สรณ์ศิริ ปฐมสุริยะพร ชื่อเล่น เกื้อกูล อายุ 23 ปี
รักการถ่ายภาพ รักเด็ก และก็รักการเดินทาง ใฝ่ฝันอยากจะทำให้สิ่งที่เรารักหลายๆอย่างมันไปด้วยกันได้ อยากบอกเล่าความเป็นตัวเราให้คนอื่นได้รับรู้ สะท้อนผ่านมุมมอง ผ่านการถ่ายภาพ ผ่านผลงานของเรา