บทบาทของนักสารคดีคงไม่ใช่แค่การบันทึกความเคลื่อนไหวของสังคม หากยังรวมถึงการสืบเสาะค้นหาด้วย “ค่ายสารคดี” จึงเปลี่ยนหัวข้อประเด็นใหม่ทุกปี เพื่อให้เกิดเรื่องเล่าใหม่ๆ ใน มุมมองใหม่ โดยนักสารคดีรุ่นใหม่

หลังร่วมคิดร่วมเขียนร่วมเรียนรู้ด้วยกันมาตลอด 4 เดือน ในค่าย ได้รู้ทฤษฎี ฝึกปฏิบัติ หัดคิดหาประเด็นด้วยตนเอง ลงพื้นที่ ทำงานจริงหลายชิ้นงาน

ตอนท้ายค่ายทุกคนจะได้ทำงานชิ้นใหญ่ ซึ่งในค่ายสารคดีรุ่นที่ 14 ประจำปีนี้ ขอบเขตเนื้อหาว่าด้วยเรื่อง “Food/Fit” อาหาร และ สุขภาพ

จากงานสารคดี 25 ชิ้นงาน นี่คือ 10 ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกในรอบแรก ว่าเป็นงานสารคดีที่ดีเด่นในเรื่องและภาพ ซึ่งนอกจากรางวัลที่ได้รับ คือความภาคภูมิใจจากความมุ่งมั่นทำงานของนักสารคดีรุ่นใหม่

_____

#รางวัลงานเขียนสารคดีดีเด่น อันดับ 1 ได้แก่
ผลงานเขียนสารคดีเรื่อง ไทเก็ก : ที่ไม่ใช่แค่แอโรบิกคนแก่
โดย นางสาว นันทิศา แดงนรรักษ์รัศมี

#รางวัลงานเขียนสารคดีดีเด่น อันดับ 2 ได้แก่
ผลงานเขียนสารคดีเรื่อง โรงเล่น แด่ทุกวัยเด็ก และการเติบโต
โดย นาย อิทธิกร ศรีกุลวงศ์

#รางวัลงานเขียนสารคดีดีเด่น อันดับ 3 ได้แก่
ผลงานเขียนสารคดีเรื่อง เปลี่ยนได้เพราะปาก คนปากดีกับรถชำเปลี่ยนโลก
โดย นางสาว ธันยพร วงศ์ธิติโรจน์

#รางวัลชมเชย
อันดับ 1 สารคดีเรื่อง ได้ยินด้วยหัวใจ เชียร์หลีดดิ้งของเด็กไร้เสียง
โดย นาย นิติภัค วรนิติโกศล

อันดับ 2 สารคดีเรื่อง คนเลี้ยงหมู : จากหมูสารพิษสู่ตลาดสีเขียว
โดย นาย เกียรติก้อง เทียมธรรม
_____

#รางวัลชุดภาพสารคดีดีเด่น อันดับ 1 ได้แก่
ผลงานเขียนสารคดีเรื่อง คนเลี้ยงหมู : จากหมูสารพิษสู่ตลาดสีเขียว
โดย นาย สืบสาย สำเริง

#รางวัลชุดภาพสารคดีดีเด่น อันดับ 2 ได้แก่
ผลงานเขียนสารคดีเรื่อง ปะนาเระ: อนุรักษ์กินได้ – กินได้อนุรักษ์
โดย นาย ณภัทร เวชชศาสตร์

#รางวัลชุดภาพสารคดีดีเด่น อันดับ 3 ได้แก่
ผลงานเขียนสารคดีเรื่อง ได้ยินด้วยหัวใจเชียร์หลีดดิ้งของเด็กไร้เสียง
โดย นาย อานันท์ ชนมหาตระกูล

#รางวัลชมเชย
อันดับ 1 สารคดีเรื่อง สนามเด็กเล่นชาวมันนิ ชีวิตยิปซีกลางดงไพร
โดย นาย ธนกาญจน์ ชุ่มจิตต์

อันดับ 2 สารคดีเรื่อง SCA Thailand :ใส่เกราะ ออกประลอง จำลองชีวิตยุคกลาง
โดย นาย อติรุจ เจิดดีสกุล

ขอแสดงความยินดีกับนักเขียนและช่างภาพ ค่ายสารคดี ครั้งที่ 14 ที่ได้รับรางวัลทุกคน พร้อมติดตามผลงานที่จะถูกนำไปพัฒนาเพื่อเผยแพร่ทางสื่อของนิตยสารสารคดี ได้เร็วๆ นี้

รางวัลงานเขียนสารคดีดีเด่น อันดับ 1 ได้แก่
ผลงานเขียนสารคดีเรื่อง
ไทเก็ก : ที่ไม่ใช่แค่แอโรบิกคนแก่
โดย นางสาว นันทิศา แดงนรรักษ์รัศมี

สารคดีที่หนักแน่นด้วยข้อมูลเรื่องไทเก็ก ที่คนทั่วไปรู้จักและมักเห็นคนแก่เล่นกันอยู่ตามสวนสาธารณะ

แต่สารคดีเรื่องนี้จะทำให้คนอ่านได้รู้จักอย่างลึกซึ้งถึงหัวใจของไทเก็ก จากการลงพื้นที่ เข้ามีส่วนร่วม สัมภาษณ์ สัมผัส และค้นคว้าอ้างอิงของผู้เขียน

ออกแบบเรื่องเล่าไล่เรียงประเด็น แก้เกลา พัฒนาปรับปรุง เป็นแบบอย่างของการเรียนรู้และฝึกฝนการเขียนงานสารคดี

กระทั่งได้ชิ้นงานที่ถือเป็นแบบอย่างของนักเขียนผู้ทุ่มเทให้กับงานเขียน

รางวัลชุดภาพสารคดีดีเด่น อันดับ 1 ได้แก่
ผลงานเขียนสารคดีเรื่อง
คนเลี้ยงหมู : จากหมูสารพิษสู่ตลาดสีเขียว
โดย นาย สืบสาย สำเริง

นำเสนอภาพกระบวนการและการทำงานในฟาร์มเลี้ยงหมูระบบเกษตรอินทรีย์ ได้อย่างครบถ้วนและน่าสนใจ เป็นการสื่อสารกับผู้ชมได้รู้จักแนวคิดการเลี้ยงที่ให้หมูได้ใกล้ชิดกับธรรมชาติซึ่งต่างจากการเลี้ยงในระบบอุตสาหกรรม เป็นทางเลือกใหม่ให้ผู้บริโภคในการเลือกวัตถุดิบมาประกอบอาหาร

รางวัลงานเขียนสารคดีดีเด่น อันดับ 2 ได้แก่
ผลงานเขียนสารคดีเรื่อง
โรงเล่น แด่ทุกวัยเด็ก และการเติบโต
โดย นาย อิทธิกร ศรีกุลวงศ์

สารคดีที่ครบเครื่องด้วยข้อมูลทั้งในแง่ความหลากหลายและความครอบคลุม และวิธีการได้มาทั้งจากปากคำและการสัมผัส

นำมาเล่าผ่านกลวิธีและลีลาทางวรรณศิลป์เฉกเช่นนักเขียนที่เข้าใจงานสารคดี แล้วใช้ฝีมือนั้นนำเสนอประเด็นสำคัญของสังคมอย่างเรื่อง สนามเด็กเล่น

ให้ผู้อ่านได้เห็นภาพและตระหนักรู้ถึงความสำคัญ

รางวัลชุดภาพสารคดีดีเด่น อันดับ 2 ได้แก่
ผลงานเขียนสารคดีเรื่อง
ปะนาเระ: อนุรักษ์กินได้ – กินได้อนุรักษ์
โดย นาย ณภัทร เวชชศาสตร์

นำเสนอภาพปัญหาการจับปลาของเรือประมงพาณิชย์ในอุตสาหกรรมประมง เทียบกับการทำประมงเชิงอนุรักษ์ของประมงพื้นบ้าน จุดเด่นอยู่ที่การนำเสนอภาพที่มีมุมมองน่าสนใจ

รางวัลงานเขียนสารคดีดีเด่น อันดับ 3 ได้แก่
ผลงานเขียนสารคดีเรื่อง เปลี่ยนได้เพราะปาก คนปากดีกับรถชำเปลี่ยนโลก
โดย นางสาว ธันยพร วงศ์ธิติโรจน์

สารคดีทันสมัย ทั้งประเด็นและวิธีการเล่าเรื่อง

Food Truck หรือรถเปิดท้ายขายอาหาร กำลังเป็นกระแสและช่องทางหนึ่งในการเปลี่ยนโฉมหน้ารสนิยมการบริโภค ผสานเข้ากับแนวคิดเรื่องการกินอย่างใส่ใจโลก

ซึ่งผู้เขียนนำมาเล่าอย่างแพรวพราวด้วยรูปแบบการนำเสนอสุดล้ำ

รางวัลชุดภาพสารคดีดีเด่น อันดับ 3 ได้แก่
ผลงานเขียนสารคดีเรื่อง
ได้ยินด้วยหัวใจเชียร์หลีดดิ้งของเด็กไร้เสียง
โดย นาย อานันท์ ชนมหาตระกูล

จุดเด่นคือการใช้ภาษาภาพเล่าเรื่องการซ้อมเชียร์ของเด็กผู้พิการทางการได้ยินให้ผู้ชมได้รับรู้ และเข้าใจโลกคนพิการมากขึ้น

งานเขียนสารคดี รางวัลชมเชย
อันดับ 1 สารคดีเรื่อง
ได้ยินด้วยหัวใจ เชียร์หลีดดิ้งของเด็กไร้เสียง
โดย นาย นิติภัค วรนิติโกศล

สารคดีสะท้อนภาพชีวิตคนในโลกเงียบ ที่ไม่เพียงใช้ชีวิตได้เยี่ยงคนทั่วไป แต่ยังเคยออกไปแสดงความสามารถถึงต่างประเทศ

ผู้เขียนนำมาเล่าต่อได้อย่างและตัวและมองเห็นภาพน้ำเนื้อของชีวิตได้ชัดเจน

โดยเฉพาะการใช้ร่างกายที่แข็งแกร่งแต่อ่อนโยนในการสื่อสารพลังสู่สายตาของทุกคน รวมทั้งการสื่อสารกันภายในกลุ่มผ่านภาษามือ

งานภาพสารคดี รางวัลชมเชย
อันดับ 1 สารคดีเรื่อง
สนามเด็กเล่นชาวมันนิ ชีวิตยิปซีกลางดงไพร
โดย นาย ธนกาญจน์ ชุ่มจิตต์

จุดเด่นคือการเสนอภาพในวิถีชีวิตของเด็กๆชาวมันนิหรือชาวซาไกในป่าทางภาคใต้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งน้อยคนจะได้เห็น

งานเขียนสารคดี รางวัลชมเชย 
อันดับ 2 สารคดีเรื่อง คนเลี้ยงหมู : จากหมูสารพิษสู่ตลาดสีเขียว
โดย นาย เกียรติก้อง เทียมธรรม

สารคดีที่โดดเด่นด้วยการนำเสนอประเด็นที่นับได้ว่าเป็นต้นแบบ ความหวัง กำลังใจให้กับวงการอาหารอินทรีย์

เป็นรูปธรรมของคำยืนยันที่ว่าอาหารออแกนิกเป็นเรื่องเป็นไปได้ มีอยู่จริง เข้าถึงได้ไม่ไกลเกินเอื้อม

เป็นสารคดีที่เปิดโลกของผู้ผลิตเนื้อหมูอินทรีย์ไปจนถึงผู้บริโภค

ถือเป็นตัวอย่างของสารคดีที่มีคุณค่าต่อสังคม

งานภาพสารคดี รางวัลชมเชย
อันดับ 2 สารคดีเรื่อง
SCA Thailand :ใส่เกราะ ออกประลอง จำลองชีวิตยุคกลาง
โดย นาย อติรุจ เจิดดีสกุล

จุดเด่นคือการเลือกนำเสนอภาพกิจกรรมของกลุ่มผู้หลงไหลวัฒนธรรมประวัติศาสตร์ยุโรปยุคกลาง ผ่านกิจกรรมที่ดูแปลกตาด้วยมุมกล้องและจินตนาการที่ถ่ายทอดมาได้อย่างน่าสนใจ