จากบรรณาธิการ
นิตยสาร สารคดี ฉบับที่ 407 มกราคม 2562
ระหว่างเดินทางกลับเมืองงไทยจากเมืองหลวงลูซากา ประเทศ แซมเบีย เพื่อไปเปลี่ยนไฟลต์ที่ไนโรบี ประเทศเคนยา แล้วบินตรงมากรุงเทพฯ ผมพบกับหนุ่มชาวจีนที่ต้องเดินทางกลับบ้านเกิด คนเดียวเหมือนกัน
แต่หนุ่มจีนพูดภาษาอังกฤษไม่ได้เลย เจ้าหน้าที่เช็กอินกวักมือเรียกผมเข้าไปช่วย คงเพราะคิดว่าผมหน้าตาจีน ๆ คล้ายกัน ผมเลยอาสาช่วยเหลือตั้งแต่เช็กอินจนถึงพาขึ้นเครื่อง
ระหว่างนั่งรอ ผมคุยกับเขาโดยกดเทกซ์ผ่านเครื่องแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาจีนในแอปพลิเคชันมือถือ แต่บทสนทนาก็กระท่อนกระแท่น จับความได้ว่าไม่ได้มาเที่ยว แต่มาทำงานที่แซมเบีย อายุ ๒๐ ต้นๆ เท่านั้น
ผมได้แต่นึกในใจว่าถ้าสามารถทำงานในต่างประเทศโดยไม่ต้องพูดภาษาอังกฤษกับใคร แสดงว่าแต่ละวันเขาคงไม่ต้องติดต่อกับคนท้องถิ่นเท่ำไร ชุมชนชาวจีนที่นี่คงกว้างขวางพอช่วยเหลือเขาได้อย่างดี เรื่องนี้สอดคล้องกับภาพวันแรกที่ผมเดินทางมาถึงแซมเบีย ทั้งป้ายโฆษณาสินค้า ป้ายกิจการหลายอย่างในเมืองลูซากา ร้านอาหาร ธนาคาร งานก่อนสร้าง ล้วนบ่งบอกว่าดำเนินการโดยบริษัทจีน รวมถึงสนามบินนานาชาติของแซมเบีย ที่กำลังก่อสร้างปรับปรุงขยายอาคารใหม่เพื่อรองรับการขยายตัวของการท่องเที่ยว
เมื่อถามนักข่าวท้องถิ่นแซมเบียว่าทำไมรัฐบาลไม่จ้างบริษัทก่อสร้างของแซมเบียสร้างสนามบินเอง เขาตอบทีเล่นทีจริงว่าถ้าบริษัทท้องถิ่นเองอาจต้องใช้เวลา ๒ ปี แต่จีนจะสร้างเสร็จใน ๖ เดือน เพราะจีนสร้างทุกอย่างเร็วมาก
ที่สนามบิน ผมยังพบครอบครัวชาวจีนที่ลูกสาวลูกชายพาพ่อแม่อายุมากแล้วมาเที่ยวส่องสัตว์ซาฟารีและดูน้ำตกวิคตอเรียแบบชิลล์ๆ อย่างกับคนไทยพาครอบครัวไปเที่ยวญี่ปุ่น
บ่งบอกว่าภาพดินแดนแอฟริกาที่คนไทยหวาด ๆ กลัว ๆ ดูจะ แตกต่างจากภาพที่คนจีนมองแอฟริกาอย่างมาก
คนแอฟริกาท้องถิ่นผิวสีน้ำตาลเข้มหรือผิวดำเมี่ยมที่ผมเคยเจอและทักทาย นิสัยดี ร่าเริง มีความรู้ และพูดภาษาอังกฤษดีแทบทุกคน แม้แต่เด็กนักเรียนในชนบทห่างไกล ผมเองเสียอีกที่ต้องตะแคงหูฟังว่าเด็กพูดอะไร ด้วยความที่เราคุ้นชินกับการออกสำเนียงอังกฤษแบบไทย ๆ ทำให้เราฟังไม่เข้าใจแม้ศัพท์พื้นๆ ทำนองเดียวกับที่ภาษาไทยมีเสียงวรรณยุกต์ เปลี่ยนเสียงก็เปลี่ยนความหมายอย่าง มา กับ ม้า
สาวชาวกานานักจัดกรุ๊ปทัวร์ท่องเที่ยวแอฟริกาบ่นให้ผมฟังว่า ที่กานาบริษัทจีนเข้าไปทำเหมืองทองคำพร้อมกับสร้างปัญหามลพิษ ทั้งแบบลักลอบขุดเหมืองผิดกฎหมายและแบบถูกกฎหมาย รวมทั้ง คนจีนใช้วิธีเข้ามาแต่งงานกับสาวชาวกานาเพื่อจะได้ดำเนินธุรกิจ ในท้องถิ่นได้อย่างคล่องตัว
แซมเบียซึ่งเป็นแหล่งผลิตทองแดงใหญ่ที่สุดของทวีปแอฟริกาก็เคยมีปัญหามลพิษจากการทำสัมปทำนเหมืองแร่ของจีน ยิ่งกว่ำนั้น เมื่อ ๒-๓ ปีก่อนรัฐบาลยังเคยอนุญาตให้คนจีนทำหน้าที่เป็นตำรวจ แต่ถูกชาวแซมเบียประท้วงอย่างหนักจนต้องเลิกราไปในที่สุด
แม้ว่าแอฟริกาจะเต็มไปด้วยคนผิวดำ แต่เอาเข้าจริงก็ผสมผสานด้วยผู้คนหลากหลำย โดยเฉพาะแขกอำหรับ อินเดีย ที่เคยเข้ามา ติดต่อและแพร่อิทธิพลทั้งทางศิลปะและวัฒนธรรม หรือคนผิวขาว ชาวยุโรปจากสมัยล่าอาณานิคมที่เข้ามาปกครองเกือบทุกดินแดนและจับคนแอฟริกาไปเป็นทาส ก่อนที่ประเทศต่างๆ ในแอฟริกาจะได้รับอิสรภาพในเวลาไล่เลี่ยกันเมื่อราว ๔๕ ปีก่อน
ทุกวันนี้มีบริษัทจีนทำธุรกิจในแอฟริกำมำกกว่า ๑ หมื่นบริษัท และรัฐบาลจีนมีนโยบายกระชับความสัมพันธ์โดยให้ทุนการศึกษา แก่นักศึกษาชาวแอฟริกาปีละหลายพันคนไปเรียนต่อในประเทศจีน จนกลายเป็นประเทศที่เด็กแอฟริกาไปเรียนต่อมากที่สุด แซงหน้าจุดหมายเดิมอย่างอังกฤษและสหรัฐอเมริกา จะเป็นรองแค่ฝรั่งเศส ซึ่งคาดว่าคงอีกไม่กี่ปี
เช้ำวันหนึ่งที่อุทยานแห่งชาติเซาท์ลูอังวา เวลาอาหารมื้อเช้า ผมได้รับการจัดโต๊ะให้นั่งร่วมรับประทานกับครอบครัวชาวจีน โดยพนักงานเข้าใจผิดว่าผมเป็นสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัวนั้น
“หนีห่าว” เราอาจต้องหัดพูดภาษาจีนให้คล่องสักหน่อย หากต่อไปจะไปแอฟริกา
สุวัฒน์ อัศวไชยชำญ
บรรณาธิการบริหารนิตยสาร สารคดี
suwatasa@gmail.com