วิชาสารคดี ๑๐๑ ศาสตร์ ศิลป์ เคล็ดวิธี ว่าด้วยการเขียนสารคดี

ช่วงหลังๆ มานี้ หลายคนบ่นให้ได้ยินอยู่บ่อยๆ ว่า ที่เราทำค่ายสร้างนักสารคดีรุ่นใหม่กันอยู่นี้ จะให้พวกเขาไปแสดงฝีมือได้ที่ไหน ในเมื่อยุคนี้สื่อสิ่งพิมพ์มีแต่ตะซบเซาล้มหาย เราควรจะหันไปอบรบการสร้างเนื้อหาเพื่อสื่อออนไลน์กันดูบ้างไหม

ค่ายแรกของปีนึ้เราจึงเปิดศักราชใหม่ด้วยการทดลองทำค่ายอบรมการเขียนและถ่ายภาพเพื่อสื่อออนไลน์ ค่ายเล่าเรื่องด้วยภาพ บางจากสร้างนักเขียนเยาวชน รุ่นที่ 7 ระหว่างวันที่ 14-17 กุมภาพันธ์ 2562

เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าหน้ากระดาษออนไลน์ เป็น Platform (พื้นที่แสดง) ใหม่ที่เปิดกว้างสำหรับผู้สร้าง Content (เนี้อหา) ทุกคนเข้าถึงได้อย่างไม่จำกัด

แต่คอนเทนต์ที่หนักแน่นเข้มข้นด้วยสาระก็ยังจำเป็นและเป็นที่ต้องการของผู้เสพ
เพียงแต่ต้องรู้จักและมองหาแพลทฟอร์มให้สอดคล้องกับเนื้อหา

หน้ากระดาษออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ค จะลงงานเขียนสารคดียาวๆ เป็น 10 หน้า 20 หน้าได้อย่างไร
เล่าเรื่องด้วยภาพ หรือ Photo Essay จึงดูจะลงตัวสำหรับแพลทฟอร์มนี้

4 วัน กับ 3 ชิ้นงาน แบบไต่ขั้นบันไดพัฒนาฝีมือกันอย่างเข้มข้นรวบรัด เกิดผลงานจากพื้นที่บ้านไร่ อุทัยธานี เกือบ 150 ชิ้น

ยกตัวอย่างหน้าเปิดของงานบางเรื่อวมาแนะนำ หากสนใจเปิดเข้าไปอ่านต่อได้หน้าบ้านเจ้างาน ก็จะเข้ากับยุคสมัยหน้ากระดาษออนไลน์ อ่านผ่านจอได้ลงตัว


veeวีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง

นักเขียนประจำกองบรรณาธิการ นิตยสาร สารคดี ที่มีผลงานตีพิมพ์ทั้งในนิตยสาร และตีพิมพ์รวมแล่มมากมาย อาทิ แผ่นดินนี้ที่อีกฟากเขา และแสงใต้ในเงามรสุม และ อีสานบ้านเฮา