ประเวช ตันตราภิรมย์ : ถ่ายภาพ
“สวัสดีคร้าบ…ขอต้อนรับเข้าสู่ ‘เจาะข่าวตื้น’ กับนายจอห์น วิญญู นะฮาว์ฟฟ”
นาทีนี้คงไม่มีใครไม่รู้จักรายการ “เจาะข่าวตื้น” ทาง iHere.tv ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในทีวีอินเทอร์เน็ตช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ยืนยันได้จากจำนวนผู้คลิกเข้าชมรายการมียอดรวมทะลุ ๑๔ ล้านครั้งไปแล้ว มีผู้ “ถูกใจ” หน้าเฟซบุ๊ก iHere TV ถึง ๑๐๖,๒๖๓ คน (สถิติวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๔) ยังไม่นับว่ามีการ “แชร์” ลิงก์ของรายการและบอกต่อ ๆ กันจนสร้างปรากฏการณ์ใหม่ในโลกไซเบอร์ “…นะฮาว์ฟฟ” คำพูดติดหูบวกกับเนื้อหาเสียดสีเหน็บแนมอย่างชาญฉลาดที่มาพร้อมมาดยียวนโดนใจวัยโจ๋ ทำให้นายจอห์น วิญญู ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางในฐานะคนรุ่นใหม่ที่น่าจับตามอง จอห์น วิญญู วงศ์สุรวัฒน์ วัย ๒๕ ปี รูปลักษณ์ภายนอกก็ไม่ต่างจากวัยรุ่นทั่วไป ทรงผมสั้นตั้งตรงโฉบเฉี่ยว สวมแว่นตาดำ ใบหน้าหล่อเหลา แต่งตัวนำแฟชั่น แต่กับบทบาทพิธีกรรายการ “เจาะข่าวตื้น” รายการเล่าข่าวทางเว็บไซต์ iHere.tv นั้นทำให้เขาต่างจากดาราวัยรุ่นคนอื่น ๆ เพราะข่าวที่เขานำมาเล่าไม่ใช่เรื่องเบาสมองเลยสักนิด จอห์นหยิบยกปัญหาสังคมตั้งแต่เรื่องข้อสอบ O-NET, A-NET การทุจริตคอร์รัปชัน ไปจนถึงความขัดแย้งทางการเมือง ด้วยรูปแบบการเล่าข่าวที่แหวกขนบจากรายการคุยข่าวทั่ว ๆ ไปตามสถานีโทรทัศน์ฟรีทีวี นำเสนอประเด็นต่าง ๆ อย่างวิพากษ์วิจารณ์ได้เต็มที่และตรงไปตรงมา อีกทั้งสนุกและเข้าถึงง่าย ภายใต้การเสียดสีเจ็บ ๆ คัน ๆ สร้างเสียงหัวเราะจนเผลอจุกของเด็กหนุ่มวัย ๒๕ ปีคนนี้ ทำให้หลายคนฉุกคิดถึงปัญหาต่าง ๆ มากกว่าแค่อ่านข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์แล้วผ่านไป นั่นย่อมไม่ได้มาจากความคึกคะนองเพียงอย่างเดียว แต่เพราะการสั่งสมความรู้ ติดตามข่าวสาร และผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์มาอย่างดี เป็นผลให้ในที่สุดรายการของเขาได้รับความนิยมล้นหลามแม้จะเผยแพร่เฉพาะสื่ออินเทอร์เน็ตก็ตาม จอห์น วิญญู วงศ์สุรวัฒน์ เป็นบุตรคนเล็กของ รศ. ดร. โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมารดาชาวอเมริกันอดีตอาจารย์ประจำภาควิชาทฤษฎีศิลป์ คณะจิตรกรรมฯ ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร หลายคนอาจคุ้นหน้าเขาผ่านจอโทรทัศน์ทั้งในฐานะนายแบบโฆษณา มิวสิกวิดีโอ พิธีกรรายการวัยรุ่นหลายรายการอย่าง WakeClub, รถโรงเรียน และทางเคเบิลทีวี Bang Channel รวมถึงรายการวิทยุคลื่น Hotwave ปัจจุบันเขากำลังศึกษาระดับปริญญาตรีที่คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง บทบาทใหม่ของจอห์น วิญญู เริ่มต้นขึ้นเมื่อพี่สาว โรซี่ วงศ์สุรวัฒน์ ที่เปิดบริษัทเฮลิแพด รับงานอัดเสียง ผลิตรายการโทรทัศน์ และตัดต่อวิดีโอต่าง ๆ เปิดเว็บไซต์อินเทอร์เน็ตทีวีชื่อ iHere.tv ขึ้นในเดือนเมษายน ๒๕๕๐ แล้วชักชวนเขามาร่วมทำรายการ จอห์น วิญญู ทำหน้าที่พิธีกร ๒ รายการคือ “เจาะข่าวตื้น” และ “เก้าอี้เสริม” (ร่วมกับดีเจพล่ากุ้ง-วรชาติ ธรรมวิจินต์) จากเดิมที่เคยคิดลองทำสนุก ๆ ก็เริ่มจริงจังขึ้นจนเวลานี้เขาถือมันเป็นงานในอาชีพไปแล้ว ขณะเดียวกันฐานผู้ชมรายการก็เพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงปี ๒๕๕๓ จนถึงปัจจุบัน ในฐานะสื่อออนไลน์ที่กำลังมาแรง สารคดี ชวนเขามาเปิดความคิดในประเด็นต่าง ๆ โดยเฉพาะสถานการณ์สื่อและคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน ตอนนั้นคิดหนักไหมครับ อีกปีเดียวก็จบแล้ว เคยคิดจะไปศึกษาต่อต่างประเทศไหมครับ คุณพ่อก็ไม่ค่อยชอบที่คุณมาทำงานในวงการบันเทิงสักเท่าไร แล้วคุณเข้าสู่เส้นทางสายบันเทิงไม่ว่าจะถ่ายแบบหรือพิธีกรได้อย่างไร ทำเพราะอยากได้เงินใช้ หรือคิดว่ามันเป็นงานที่เท่ดี |
ความคิดหลักของการทำเว็บไซต์ iHere.tv คืออะไร เริ่มจากความชอบส่วนตัว อยากทำช่องอิสระของเราเองผ่านทางฟรีมีเดีย คำย่อ iHere มาจาก Independent Here ก็มีคนตีความว่า iHere นี่เป็นคำหยาบ ซึ่งเราก็ตั้งใจให้มันดูดาร์ก คุณอาจจะมองอีกแบบก็ได้ มันก็อาจจะเป็นมุมมองของวัยรุ่นวัยคะนองอย่างพวกผมที่เปิดเว็บขึ้นมา รายการ “เจาะข่าวตื้น” เป็นความชอบส่วนตัวหรือเปล่า แล้วเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ชื่อรายการ “เจาะข่าวตื้น” ดูเหมือนจงใจล้อรายการคุยข่าวของฟรีทีวี แล้วยังมีคำสร้อยว่า “ดูถูกสติปัญญา” มีที่มาอย่างไรครับ แสดงว่าคุณเป็นคนอ่านข่าว ติดตามวิเคราะห์ข่าวอยู่ก่อนแล้ว ดูข่าวทีวีแล้วรู้สึกขัดใจมากไหม คุณคิดว่าตอนนี้รายการประเภทคุยข่าวมีมากเกินไปไหม คุณเห็นว่าข่าวทีวีควรเจาะลึกมากกว่านี้ คนเริ่มตอบรับรายการเจาะข่าวตื้นตอนไหนครับ เพราะวิธีการเล่าข่าวที่เสียดสีประชดประชันและตลก แล้วความตั้งใจแรกของคุณคืออะไรครับ |
หลังจากนั้นได้พูดคุยกันไหมว่าจะปรับปรุงรายการไปในแนวทางใด คุยกันว่ากระแสที่ได้รับการตอบรับดี คือการหยิบเรื่องราวที่เกิดขึ้นในเวลานั้น ๆ มานำเสนอ คนเจออยู่ทุกวัน เช่น โดนตำรวจจับก็พับแบงก์ให้มันบาง ๆ หรือขับผ่านโฮปเวลล์ทุกวันมันก็แล้วไงวะ เกิดขึ้นอยู่ทุกวัน เจอมันมา ๑๐-๒๐ ปี อยู่ไปอีก ๕๐ ปีก็ไม่เป็นไรหรอก มันเป็นเรื่องที่ทุกคนชาชินไปแล้ว พอเทปนั้นได้รับการตอบรับขึ้นมาก็เลยคิดออกแล้วว่าจะทำออกมาแนวไหนดี ก็เลือกหยิบเรื่องที่อยู่ในกระแส อย่างเทปถัดมาคือเรื่อง เสื้อเหลือง-เสื้อแดง (ตอน “เจาะกีฬาสีเหลืองแดง !!”) ตอนนั้นกลัวเหมือนกันว่าจะทำดีหรือเปล่า เราก็คอยมอนิเตอร์ข่าวช่วงนั้น พบว่าไม่มีเรื่องไหนโดนเท่าเรื่องนี้ มันต้องเรื่องนี้ แต่ท้ายที่สุดมันเยอะจนแบบ…อ๊าก ! (กุมขมับ) หัวจะแตกแล้ว ไอ้ฝั่งนี้ก็แว้ก ๆๆ ไอ้ฝั่งนี้ว้าก…ตรงกลางก็เอาไงก็ไม่รู้ เราต้องการจะนำเสนอว่าทั้งสองฝั่งพูดถึงเรื่องอะไร เขามีประเด็นหรือหัวข้ออะไรที่เป็นหัวหอกในการจะชนะใจประชาชนที่ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ เราก็พยายามนำเสนอโดยตรวจสอบรายละเอียดให้ครบถ้วนว่าสิ่งที่เขาต้องการมีอะไรบ้าง แล้วนำเสนอทั้งส่วนที่เราเห็นด้วยและส่วนที่เรารู้สึกไม่เห็นด้วย แต่ไม่ว่าจะยังไงก็ตามเราได้ย่อยข่าวให้คุณแล้วนะ คุณไปตัดสินใจเองว่าอันไหนมีเหตุและผลที่คุณรับได้หรือรับไม่ได้ การที่คุณเป็นขวัญใจวัยรุ่นมาก่อนเป็นดาบสองคมไหม โตขึ้นยังไงครับ มีการด้นสดมากน้อยแค่ไหนในการทำรายการแต่ละเทป การอ่านหนังสือช่วยให้คุณมีมุมมองต่างจากนักเล่าข่าวทั่ว ๆ ไป |
![]() ข่าวที่นำมาวิเคราะห์ในรายการบางทีมองข้ามไปอีกระดับเลยว่าข่าวบางข่าวเป็นการสร้างข่าวกลบกระแสของรัฐบาล เช่นตอน “ทุจริต ชิมิฮาว์ฟฟ” มีข้อมูลอ้างอิงรองรับหรือเปล่า ดูเหมือนว่าถ้าเลือกได้คุณอยากทำอาชีพด้านข่าวมากกว่าหรือเปล่า วัยรุ่นเลือกไม่ดูข่าวเพราะเป็นเรื่องไกลตัวและน่าเบื่อ เพราะเหตุนี้จึงเลือกช่องทางอินเทอร์เน็ตหรือเปล่าครับ |

คุณเคยพูดว่าการเซ็นเซอร์ตัวเองคือการเซ็นเซอร์ที่อันตรายที่สุด อย่างไรครับ พอเริ่มรู้สึกว่าสิ่งที่ตนนำเสนอเป็นสิ่งที่ผิดหรือคนอื่นคงไม่ชอบ มันก็เป็นที่มาของการเซ็นเซอร์อื่น ๆ ด้วย ผมยอมรับว่าเคยมีคำขอมา (ตอน ศอฮ.กับ เสธ.ไก่อบ) ว่าขอให้เอาออกได้ไหม ตอนนั้นรู้สึกปวดใจมากที่ต้องทำ มันเป็นเรื่องความเกรงใจด้วยครับ แต่ผมบอกตัวเองมาตลอดรวมทั้งทีมงานและพี่สาวด้วยว่าเราจะไม่ทำอย่างนี้อีกแล้วนะ เราทำแค่ครั้งเดียว เพราะรู้สึกว่าถ้าเราเริ่มอย่างนี้เราก็จะรู้สึกไปตลอดว่า เอ๊ะ ข่าวนี้ควรพูดไหม เดี๋ยวมันจะไปกระทบใครไหม ท้ายที่สุดจุดยืนที่มีอยู่มันจะหายไปหมด สิ่งเหล่านี้เกิดจากคุณอึดอัดกับการทำรายการโทรทัศน์มาก่อนหรือเปล่า มันชัดเจนว่าเกิดขึ้นแต่เราต้องเลือกที่จะไม่พูด ยอมรับครับว่าอึดอัด แต่ก็เข้าใจวัฒนธรรมและความอยู่รอดขององค์กรและบุคลากรในองค์กร ถ้าเกิดไม่พอใจกันขึ้นมาทั้งคลื่น ทั้งรายการถูกถอด คนก็ตกงานไม่มีรายได้กันพรึ่บ แต่ผมเห็นว่าเรามีช่องทางฟรีมีเดียอยู่ ถ้ายังตามมาปิดเว็บจะยิ่งเป็นเรื่องใหญ่ไปอีกว่าสังคมไทยมันเกิดการเซ็นเซอร์ได้ขนาดนี้เลยหรือ ปัจจุบันมีการปิดเว็บไซต์จำนวนมากเป็นแสนเว็บ คุณเห็นอย่างไร มีคนบอกว่าถ้าอย่างนั้นเว็บโป๊ก็ ไม่ควรจะปิดด้วย แสดงว่าไม่เห็นด้วยกับการรณรงค์ทำนองว่า “ให้เหล้า = แช่ง” หรือ “จน เครียด กินเหล้า” ไม่ต่างอะไรกับการเซ็นเซอร์ภาพยนตร์ คน ๕ คนมีสิทธิ์อะไรมาเซ็นเซอร์ นิยามคำว่าคนรุ่นใหม่ของคุณเป็นอย่างไร คนรุ่นใหม่ก็คือคนที่อยู่ในช่วงเพิ่งเข้าทำงาน อยากรวยเร็ว ทำธุรกิจอะไรต่อมิอะไร อยากประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว แต่ต้องเจอแนวขวางกั้นของความอยุติธรรมอยู่ ต้องส่วยนิดก่อน อยากประสบความสำเร็จต้องยัดเงินก่อน เราต้องเปลี่ยนตรงจุดนั้น เราร้องเรียนได้ไหมเพื่อให้ความคิดสะดวกสบายจากความไม่ถูกต้องหมดไป เราต้องยอมที่จะลำบาก ยอมไม่สะดวกสบายสักนิด ผมเข้าใจว่ามันลำบาก มันยาก ถ้าทำได้มันจะเป็นการแสดงพัฒนาการของสังคมอย่างแท้จริง ดูเหมือนคุณจะให้ความสำคัญกับการโกงกินมาก ปัญหาที่คนรุ่นใหม่ยุคนี้ต้องเผชิญมีอะไรบ้างครับ ถ้าสมมุติว่าฟรีทีวีบางช่องให้ไปจัดรายการ “เจาะข่าวตื้น” จะทำไหมครับ เท่าที่อ่านความคิดเห็นในอินเทอร์เน็ต มีบางคนตำหนิว่ารายการของคุณนำเสนอความจริงแค่บางด้าน คุณมองอย่างไร
|
ช่วงแรกก็เสียความรู้สึกบ้าง ตอนหลังเริ่มปรับตัวเองได้ ถ้าให้ทุกคนชอบคงเป็นไปไม่ได้ บางคนก็ไม่เข้าใจการเสียดสีของเรา อย่างบอกว่า Gripen มาแบบป๊อง ๆ กิ๊ง ๆ เปล่า ! เราแค่จะเปรียบเทียบ เหมือนกับรถที่ออกจากอู่ เราก็อยากได้ของที่ อ็อปชันเยอะ ๆ แต่มันอ็อปชันอย่างนี้จริงเหรอ บางคนก็ไปคิดเป็นจริงเป็นจัง หรือพูดเสียดสีเรื่องรถถัง (ข่าวเมื่อ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๓ กองทัพไทยร่วมกับกองทัพบกระดมรถถังเก่าที่ไม่ใช้งานเพื่อจัดสร้างเป็น ปะการังเทียม ในโครงการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเลอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ. ปัตตานีและนราธิวาส) โอย ! เอารถถังไปปล่อยเป็นปะการังหมดเลย ฮุนเซนอยากสั่งรถถังใหม่มาสั่งเราก็ได้ เรามีเยอะจนเรายังเอาไปโยนทะเล (เปลี่ยนเสียงเป็นเสียงคนอื่น) พูดแบบนี้ได้ไง รถถังมันปลดประจำการแล้ว มันเป็นการช่วยสิ่งแวดล้อม…เฮ้ย ไม่เข้าใจเหรอว่าล้อเล่น มันซื้อมาเยอะเกินแล้วมันใช้การไม่ได้…แรก ๆ ก็เซ็งเหมือนกันที่คนไม่เก็ต แต่ช่วงหลังก็ไม่ได้คิดอะไรมากแล้ว
วัฒนธรรมการวิจารณ์บ้านเราต้องค่อย ๆ ปรับมากกว่านี้ คุณพ่อดูรายการแล้วรู้สึกยังไงบ้างครับ ก่อนทำรายการแต่ละตอนมีไหมครับที่พอถกเถียงกันแล้วความคิดเราเปลี่ยนไป ยุคที่ข้อมูลข่าวสารล้นทะลักอย่างทุกวันนี้ คนจะรับข้อมูลข่าวสารจากการแชร์ผ่านทวิตเตอร์ เฟซบุ๊ก บีบี ฯลฯ แล้วเราจะรู้เท่าทันข่าวเหล่านี้ได้อย่างไร แสดงว่าไม่ได้ให้ความสำคัญกับเครือข่ายสังคมออนไลน์มากนัก แล้วปรากฏการณ์แห่เข้าคิวซื้อโดนัทคริสปี้ครีม คุณมองยังไง รายการรวมทั้งตัวคุณถือว่ามีอิทธิพลต่อวัยรุ่นไม่น้อย อย่างคำว่า “ชิมิฮาว์ฟฟ” ก็มีคนใช้เลียนแบบในสังคมออนไลน์อย่างกว้างขวาง นี่เป็นการรับอิทธิพลบางด้านโดยลืมสารที่คุณต้องการสื่อหรือเปล่า คิดจะแตกแขนงไปทำงานสื่ออื่นหรือเปล่าครับ อย่างเขียนหนังสือหรือทำสื่อแขนงอื่น ๆ |
- (รายการเจาะข่าวตื้นออกอากาศทุก ๒ สัปดาห์ทาง iHere.tv)
- ตีพิมพ์ใน นิตยสาร สารคดี ฉบับ 313 มีนาคม 2554