เรื่อง : อมรกิตติยา สิทธิชัย

นี่เป็นเรื่องเล่าจาก “เวฟ” นักศึกษาของวิทยาลัยแห่งหนึ่งย่านบางนา ผู้ทำอาชีพ GrabFood หารายได้ในช่วงเวลาปิดเทอม (หมายเหตุ : บทสัมภาษณ์นี้เกิดขึ้นก่อนเหตุการณ์โควิด-19)

เรามักเข้าใจง่ายๆ ว่า GrabFood เป็นแค่พนักงานส่งอาหาร

แต่จริงๆ มันมีรายละเอียดขั้นตอนมากกว่าแค่ส่งอาหาร

ตั้งแต่ขั้นตอนการรับออเดอร์ที่เวฟจะได้รับแจ้งเตือนว่ามีงานที่ทางแอปกระจายมาให้ จากนั้นก็ควบรถมอเตอร์ไซต์คู่ใจออกไปต่อคิวซื้ออาหารตามร้านที่ลูกค้าออเดอร์มา

บางครั้งอาหารร้านที่ลูกค้าออเดอร์จะมีพนักงาน Grab Food มาต่อคิวซื้ออาหารเหมือนกับที่เขาได้รับออเดอร์มา ซึ่งพนักงานแต่ละคนอาจมีออเดอร์ถึง 4-5 จานต่อ 1 ครั้ง ทำให้บางครั้ง GrabFood ต้องรอคิวกว่า 4-5 คิว นานถึง 2 ชม.

เมื่อเขาได้อาหารตามออเดอร์มาแล้ว ก็วิ่งไปจัดส่ง

การส่งอาหารแต่ละครั้งได้เงินมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับระยะทางที่ไปส่งอาหาร เริ่มต้นที่ 6-7 กิโลเมตรแรกจะได้ 60 บาท ถ้าเกิน 7 กิโลเมตรก็จะได้เงินตามข้อตกลงที่ทางบริษัทกำหนดไว้ แต่ใช่ว่าเวฟจะได้เงิน 60 บาทต่อการส่ง 1 ครั้งทั้งหมด ทางบริษัทจะหักค่าเครดิตเหมือนเป็นค่าเรียกงาน

ในการทำงานทุกงานย่อมมีปัญหา หน้าที่ของเขาก็เช่นกัน

บางครั้งปัญหาก็มาในรูปแบบที่โดนลูกค้ายกเลิกออเดอร์ เพราะทางร้านมีออเดอร์เยอะ ทำให้การทำออเดอร์ล่าช้า และลูกค้ารอสินค้านานเกินไป แต่เขาก็ใช้วิธีการถ่ายรูปอาหารแล้วส่งให้ลูกค้าดูและถามว่า ซื้อสินค้าได้แล้วจะให้ยกเลิกจริงหรือไม่

ถ้าลูกค้ายังจะยกเลิกก็ต้องยกเลิกตามความต้องการของลูกค้า

เมื่อถูกยกเลิก เขาสามารถเลือกได้ว่าจะเก็บอาหารจานนั้นไว้ หรือจะเอาไปเบิกเป็นเงินที่บริษัทใหญ่ของ Grab ที่ตั้งอยู่ที่ชั้น 30 อาคารธนภูมิ แขวงมักกะสัน

แต่ไม่ว่าจะทางไหน ก็มีแต่เสียกับเสีย

บางครั้งปัญหาก็มาในรูปแบบฟ้าฝนไม่เป็นใจที่ทำให้การทำงานต้องหยุดชะงักลง หรือมาในรูปการจราจรติดขัดทำให้ส่งสินค้าได้อย่างล่าช้า

พนักงานแต่ละคนสามารถทำงานได้มากกว่า 1 หน้าที่ สามารถทำได้ทั้ง GrabFood ควบไปกับ GrabBike หรือจะควบ GrabExpress ไปด้วยก็ได้

ยิ่งทำหลายหน้าที่ก็ยิ่งมีงานเยอะ และได้เงินเยอะตามลำดับ

แต่เวฟเองเลือกทำแค่ส่งอาหารเพราะแค่นี้ก็เปลี่ยนเวลาหลังเลิกเรียนให้เป็นเงินได้แล้ว ซึ่งเวฟจะเริ่มทำงานตั้งแต่ 5 โมงเย็นจนถึง 4 ทุ่ม ได้รับออเดอร์ประมาณ 3-4 รอบต่อวัน ถ้าบางวันโชคดีก็อาจจะได้ 4-5 รอบต่อวัน

การจะมาเป็นพนักงานของ Grab ได้นั้นจะต้องกรอกใบสมัครในแอปพลิเคชั่น แล้วทางบริษัทจะส่งจดหมายให้ผู้สมัครไปอบรมสิ่งที่พนักงานควรรู้และควรปฏิบัติตามกฎของบริษัท สิ่งสำคัญ คือผู้สมัครต้องมีอายุ 18 ขึ้นไป ถ้าบริษัทจับได้ก็จะส่งจดหมายระงับการทำงานมาถึงประตูบ้านเลยทีเดียว

เวฟเล่าว่าจุดประสงค์ของเขาที่มาทำงานนี้ คืออยากใช้เวลาว่างหลังทำงานประจำในช่วงปิดเทอมให้เป็นประโยชน์ เปลี่ยนเวลาที่ว่างให้เป็นเงิน เป็นงานอิสระ และยังเป็นงานที่ยิ่งขยันยิ่งได้เงิน และอย่างน้อยสิ่งสำคัญที่เขาได้เรียนรู้จากการทำงานคือ มารยาทในการคุยกับลูกค้า

ปัจจัยที่ทำให้เกิดการขยายการให้บริการส่งสินค้า คงเป็นภาวะเศรษฐกิจของเมือง ความต้องการของผู้บริโภค ความสะดวกสบายในการใช้งาน ความปลอดภัยในการใช้บริการ คำแนะนำจากคนใกล้ชิด รวมไปถึงการพัฒนาของบริษัทที่ทำหน้าที่นี้ จะเป็นส่วนที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้งานของผู้บริโภคต่อไป

Grab มีผู้ร่วมก่อตั้ง 2 คน ได้แก่ นาย Anthony Tan และ นางสาว Hooi Ling Tan โดยเปิดให้บริการครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2555 ที่ประเทศมาเลเซีย ได้รับความนิยมเป็นอย่าง มากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปัจจุบัน Grab เปิดให้บริการแล้วใน 6 ประเทศ มาเลเซีย สิงคโปร์ พิลิปปินส์ ไทย เวียดนาม และอินโดนีเซีย ทั้งหมด 22 เมืองทั่วเอเชีย