มะพร้าว : จากหัวกะทิถึงกากมะพร้าว ตามรอยพฤกษาสารพัดประโยชน์

โบราณกล่าวไว้ว่า หากมีทารกเกิด ๑ คน แล้วปลูกมะพร้าวไว้ ๑ ต้น เด็กคนนั้นจะแสวงประโยชน์จากมะพร้าวได้ตราบสิ้นอายุขัย  แทบทุกส่วนของมะพร้าวนำมาใช้ประโยชน์ได้ นั่นไม่ใช่เรื่องอวดอ้างเกินจริงแต่อย่างใด

ปี ๒๕๕๓ ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกมะพร้าว ๑,๔๐๐,๐๐๐ ไร่ มากเป็นอันดับ ๖ ของโลก  แต่แม้จะมีมะพร้าวปลูกอยู่ทั่วไป ก็มีเพียงไม่กี่จังหวัดที่ทำสวนมะพร้าวเป็นอาชีพหลักในพื้นที่ขนาดใหญ่ อีกทั้งในรอบ ๑ ปีที่ผ่านมายังเกิดวิกฤตมะพร้าวขาดตลาดจนมีการลักลอบนำเข้ามะพร้าวเถื่อนจากต่างแดน

สารคดี ลงพื้นที่สำรวจตั้งแต่ขนัดสวนมะพร้าวแถบลุ่มน้ำแม่กลองถึงป่ามะพร้าวลุ่มแม่น้ำตาปี จากกระบวนการคั้นกะทิบีบน้ำมันจนถึงกากมะพร้าว เพื่อทำความรู้จักพืชสารพัดประโยชน์ที่กำลังสุ่มเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์-ล่มสลายในเร็ววัน

ธรรมศาลา ครึ่งศตวรรษบนแผ่นดินใหม่ของทะไลลามะ และชาวทิเบตพลัดถิ่น

ธรรมศาลา เมืองแถบเทือกเขาหิมาลัยในแคว้นหิมาจัลประเทศ ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย  เป็นที่รู้จักของคนไทยและคนทั่วโลก นับแต่องค์ทะไลลามะที่ ๑๔ ประมุขทางการเมืองและผู้นำทางจิตวิญญาณของทิเบต เสด็จลี้ภัยมาประทับที่เมืองนี้ตั้งแต่ปี ๒๕๐๒ หลังจากกองทัพจีนแดงยาตราทัพเข้ารุกรานทิเบต

เหตุการณ์คราวนั้นถือเป็นวิกฤตและโศกนาฏกรรม แต่ขณะเดียวก็เป็นโอกาสให้พุทธศาสนาตันตระวัชรยานได้เผยแผ่ออกไปในวงกว้างอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน พุทธศาสนาแบบทิเบตกลายเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ทุกวันนี้ที่ธรรมศาลาคลาคล่ำไปด้วยศาสนิกจากทุกชนชาติ

กลางเดือนมีนาคม ๒๕๕๔ คณะผู้แสวงธรรมจากเมืองไทยกลุ่มหนึ่ง มีโอกาสได้เข้าเฝ้าสนทนาธรรมกับองค์ทะไลลามะอย่างใกล้ชิด  เรื่องราวเหล่านั้นได้ถูกนำเสนอใน สารคดี ฉบับนี้แล้ว