เรื่อง : สุเจน กรรพฤทธิ์

ข้อมูลพื้นฐาน ปราสาทพระวิหาร
ที่ตั้ง : เทือกเขาพนมดงแร็ก อำเภอจอมกระสาน จังหวัดพระวิหาร ประเทศกัมพูชา ยอดผาเป้ยตาดี ความสูง ๖๕๗ เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ห่างจากอำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ๑๑๐ กิโลเมตร
พิกัดภูมิศาสตร์ (Datum: WGS84) : ๑๔ องศา ๒๓ ลิปดา ๒๘.๒๖ ฟิลิปดาเหนือ
๑๐๔ องศา ๔๐ ลิปดา ๔๘.๙๒ ฟิลิปดาตะวันออก
อายุ : ประมาณ ๙๐๐-๑,๐๐๐ ปี
ระยะเวลาการก่อสร้าง : ประมาณพุทธศักราช ๑๔๓๖-๑๕๙๓ (รัชสมัยพระเจ้ายโศวรมันที่ ๑ ถึงพระเจ้าสุริยวรมันที่ ๑)
ผู้ครอบครอง :
พ.ศ. ๑๔๓๖-๑๗๒๓ เป็นเทวสถานศักดิ์สิทธิ์ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ
พ.ศ. ๑๗๒๔-๒๔๔๘ ถูกทิ้งร้าง
พ.ศ. ๒๔๔๙-๒๔๘๓ ถูกรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอินโดจีนของฝรั่งเศส
พ.ศ. ๒๔๘๔-๒๔๘๗ เป็นส่วนหนึ่งของดินแดนที่ไทยได้คืนจากฝรั่งเศส
พ.ศ. ๒๔๘๘-๒๔๙๖ เป็นส่วนหนึ่งของดินแดนที่ไทยคืนให้ฝรั่งเศส
พ.ศ. ๒๔๙๗-๒๕๐๕ ไทยส่งกำลังทหารเข้าไปครอบครอง
พ.ศ. ๒๕๐๕-ปัจจุบัน กัมพูชาครอบครองตามคำพิพากษาของศาลโลก
โบราณสถาน โบราณวัตถุบนเขาพระวิหารที่นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าเกี่ยวเนื่องกับตัวปราสาท
ภาพสลักบนหน้าผามออีแดง : ภาพสลักนูนต่ำรูปเทพบุรุษและสตรีในท่านั่งเรียงกัน ๓ องค์ และมีส่วนที่ยังสลักไม่เสร็จ
สถูปคู่ : เป็นสถูป ๒ องค์ ก่อสร้างด้วยหินทราย ลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยมลูกบาศก์สูง ๔.๒๐ เมตร ส่วนยอดมนข้างในมีโพรงบรรจุสิ่งของ คนท้องถิ่นเรียก “พระธาตุ” คาดว่าเป็นองค์ประกอบหนึ่งของปราสาทพระวิหาร
สระตราว : สระน้ำขนาดใหญ่ คาดว่ามีสถานะเทียบเท่าบาราย (แหล่งเก็บน้ำในอารยธรรมขอม มักสร้างใกล้ปราสาทหิน)บริเวณใกล้เคียงยังพบร่องรอยการตัดหินเพื่อนำไปสร้างปราสาท
ทั้งนี้ ยังมีโบราณสถานอีกจำนวนหนึ่งซึ่งพบในเขตอำเภอจอมกระสาน จังหวัดพระวิหาร ประเทศกัมพูชา
เส้นทางสู่ตัวปราสาท
ทิศเหนือ : ถนนหลวงหมายเลข ๒๒๑ จากอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
จากนั้นเข้าทางบันไดด้านหน้าจากอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ประเทศไทย
ทิศตะวันออก : ช่องบันไดหัก ไต่หน้าผาขึ้นจากอำเภอจอมกระสาน จังหวัดพระวิหาร ประเทศกัมพูชา
ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ : ถนนจากบ้านโกมุย อำเภอจอมกระสาน จังหวัดพระวิหาร ประเทศกัมพูชา

 

ย้อนประวัติศาสตร์ ‘รัก-ชื่น-ขื่น-ชัง’ กรณีปราสาทพระวิหาร

๑๓๔๕ สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ เขาพระวิหารมีสถานะเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์
๑๔๓๖ พระเจ้ายโศวรมันที่ ๑ สถาปนา “ศรีศิขเรศวร”
๑๘๙๓ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) สถาปนากรุงศรีอยุธยา
๑๙๗๔ กองทัพอยุธยาตีกรุงยโศธรปุระ (เมืองพระนคร) แตก
๒๔๐๖ กัมพูชาส่วนนอกตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส
๒๔๓๑ แคว้นสิบสองจุไทของสยามตกเป็นของฝรั่งเศส
๒๔๓๖ เหตุการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ สยามสละดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส โดยฝรั่งเศสยึดจันทบูร (จันทบุรี) ไว้เป็นประกัน
๒๔๔๒ เอกสารฝ่ายไทยระบุว่า กรมหลวงสรรพสิทธิ์ประสงค์ “ค้นพบ” ปราสาทพระวิหาร และสลักชื่อไว้ที่ผาเป้ยตาดีว่า “สรรพสิทธิ์ ๑๑๘'”
๒๔๔๖ สยามสละไชยะบุรี จำปาศักดิ์ และมโนไพร แลกจันทบูรกลับคืนมา โดยทำสนธิสัญญา
ค.ศ. ๑๙๐๔ ส่งผลให้มีการตั้งคณะกรรมการผสมสยาม-ฝรั่งเศสเพื่อปักปันเขตแดนระหว่างกัน
๒๔๔๙ สยามทำสนธิสัญญา ค.ศ. ๑๙๐๗ กับฝรั่งเศสสละเสียมราฐ พระตะบอง ศรีโสภณ แลกกับจันทบูรด่านซ้าย และยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของคนเอเชียในบังคับฝรั่งเศส
๒๔๗๒ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จเยือนปราสาทพระวิหาร
๒๔๘๓ พฤศจิกายน สงครามอินโดจีนระหว่างไทย-ฝรั่งเศส
๒๔๘๔ ต้นปี ไทยกับฝรั่งเศสทำ “อนุสัญญาโตกิโอ” เพื่อยุติสงคราม ส่งผลให้ไทยได้เสียมราฐ พระตะบอง และศรีโสภณ รวมถึงปราสาทพระวิหาร กลับมาอยู่ในอาณาเขต ก่อนที่กองทัพญี่ปุ่นจะยกพลขึ้นบกช่วงปลายปี ทำให้ไทยต้องเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ ๒ ในฐานะพันธมิตรญี่ปุ่น เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม ไทยต้องคืนจังหวัดที่ได้มาทั้งหมดกลับคืนฝรั่งเศสตามเดิม
๒๔๙๗ ไทยส่งทหารขึ้นไปที่ปราสาทพระวิหารจนถึงปี ๒๕๐๐ ระหว่างนี้มีการประท้วงจากฝรั่งเศส ๓ ครั้ง
๒๔๙๘ ๒๕ กุมภาพันธ์ กัมพูชาได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส
๒๕๐๑ สื่อมวลชนกัมพูชาโจมตีไทยเรื่องปราสาทพระวิหาร มีการเดินขบวนไปหน้าสถานเอกอัครราชทูตไทยในกัมพูชา ไทยประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินใน ๗ จังหวัดชายแดนติดกับกัมพูชา ในเดือนธันวาคม กัมพูชาประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย
๒๕๐๒ ๖ ตุลาคม กัมพูชายื่นฟ้องไทยต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก)
๒๕๐๕ ๑๕ มิถุนายน ศาลโลกตัดสินว่าปราสาทพระวิหารอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา รัฐบาลไทยปฏิบัติตามคำพิพากษาด้วยการออกมติคณะรัฐมนตรีสั่งให้ล้อมรั้วลวดหนามรอบปราสาทและถอนทหารออกมา
๒๕๐๙ ไทย-กัมพูชาสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอีกครั้งหลังหยุดชะงักไป ๓ ปี
๒๕๑๓ กัมพูชาเปิดเขาพระวิหารให้นักท่องเที่ยวขึ้นไปชมจากฝั่งไทย
๒๕๑๘ ปิดเขาพระวิหาร เนื่องจากเขมรแเดงยึดอำนาจ และเกิดสงครามกลางเมืองภายในกัมพูชา
๒๕๓๕ เปิดเขาพระวิหารหลังพรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) ของฮุนเซนชนะการเลือกตั้ง ทางฝั่งไทย จังหวัดศรีสะเกษสร้างประตูเหล็กบนสะพานข้ามลำห้วยอะมาเรียเพื่อควบคุมเส้นทางเข้าออกของนักท่องเที่ยว
๒๕๓๖ ปิดเขาพระวิหาร เนื่องจากกองกำลังเขมรแดงยึดครองพื้นที่เขาพระวิหาร และทำการต่อสู้กับทหารฝ่ายฮุนเซน
๒๕๔๑ กรกฎาคม ผู้บัญชาการกองกำลังสุรนารีเจรจากับผู้บัญชาการทหารของพรรคประชาชนกัมพูชาที่ดูแลเขาพระวิหาร ตกลงว่าจะทดลองเปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวเขาพระวิหาร ให้นักท่องเที่ยวเข้าชมปราสาทตั้งแต่ ๑ สิงหาคมเป็นต้นไป ต่อมาเกิดชุมชนกัมพูชาแห่งแรกบนเขาพระวิหาร ต่อมาขยายมาอยู่ด้านหน้าบันไดทางขึ้นปราสาท โดยแนวรั้วลวดหนามเดิมตามมติ ครม. ปี ๒๕๐๕ หายไป
๒๕๔๓ ไทยและกัมพูชาลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกไทย-กัมพูชา โดยคณะกรรมาธิการปักปันเขตแดนร่วม (Joint Boundary Committee-JBC)
๒๕๔๔ – ๓๑ พฤษภาคม กองกำลังสุรนารีมีคำสั่งให้ปิดจุดผ่านแดนเขาพระวิหาร เนื่องจากกัมพูชาไม่ให้ความร่วมมือแก้ปัญหาน้ำเสียที่ไหลมาฝั่งไทย ซึ่งเป็นปัญหามาหลายปี
– กรกฎาคม ไทยกับกัมพูชาตกลงในหลักการร่วมพัฒนาเขาพระวิหารให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว
๒๕๔๖ – ๓๑ พฤษภาคม ที่ประชุม ครม. ร่วมระหว่างไทย-กัมพูชาที่ จ. เสียมเรียบ มีมติตั้ง “คณะ
กรรมการร่วมมือเพื่อพัฒนาเขาพระวิหาร” เพื่อเปิดเขาพระวิหารเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกครั้ง
๒๕๔๗ เปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวเขาพระวิหารให้นักท่องเที่ยวขึ้นชมปราสาทอีกครั้ง
๒๕๔๘

  • มกราคม กระทรวงการต่างประเทศไทยประท้วงกัมพูชากรณีตั้งชุมชนบริเวณทางขึ้นปราสาทและสร้างอาคารที่ทำการหน่วยงานท้องถิ่นบนพื้นที่ทับซ้อน และในเดือนกันยายน ประท้วงกรณีการตัดถนนจากบ้านโกมุย จังหวัดพระวิหาร ขึ้นมาจนถึงตัวปราสาท
  • ๘ มีนาคม กัมพูชายื่นเอกสารขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกต่อยูเนสโก
    อย่างเป็นทางการ

๒๕๔๙

  • ๓๐ มกราคม ศูนย์มรดกโลกของยูเนสโกที่ปารีสขอให้กัมพูชายื่นเอกสารใหม่ในส่วนที่เกี่ยวกับเขตกันชนของปราสาทพระวิหาร และมีคำแนะนำให้ร่วมมือกับไทย
  • เมษายน กัมพูชาออก “พระราชกฤษฎีกากำหนดขอบเขตในการอนุรักษ์ปราสาทพระวิหาร” และใช้แผนที่กำหนดขอบเขตกินเข้ามาในพื้นที่ทับซ้อน

๒๕๕๐ กัมพูชายื่นเอกสารขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารอีกครั้ง ขณะที่ไทยยื่นบันทึกช่วยจำต่อเอกอัครราชทูตกัมพูชาและเสนอขึ้นทะเบียนร่วม (Transboundary property) แต่คณะกรรมการมรดกโลกสากลมีมติเลื่อนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารออกไป โดยให้ไทยกับกัมพูชาร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด

๒๕๕๑

  • ๒๒ พฤษภาคม นายนพดล ปัทมะ รมว. กระทรวงการต่างประเทศ ลงนามในร่างแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา กับนายสก อาน รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่ปารีส หลังหารือจนได้ข้อสรุปว่ากัมพูชาจะขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท และแก้ไขแผนผังบริเวณที่จะขึ้นทะเบียนโดยไทยจะให้การสนับสนุน
  • ๑๘ มิถุนายน นายนพดล ปัทมะ ลงนามในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา (Joint Communique)
  • ๒๓ มิถุนายน กัมพูชาปิดจุดผ่านแดนชั่วคราวเขาพระวิหารโดยไม่แจ้งล่วงหน้า พร้อมให้เหตุผลว่า มีม็อบไปประท้วงบริเวณทางขึ้นฝั่งไทยซึ่งอาจเป็นอันตรายต่อชาวกัมพูชา
  • ๒๗ มิถุนายน ศาลปกครองกลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวห้ามไม่ให้ใช้แถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา จนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น และในวันที่ ๘ กรกฎาคม ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชามีลักษณะเป็นหนังสือสัญญาที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน
  • ๘ กรกฎาคม คณะกรรมการมรดกโลกสากล ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
  • ๑๕ กรกฎาคม เกิดความตึงเครียดบริเวณเขาพระวิหาร ไทยและกัมพูชาเสริมกำลังพร้อมอาวุธหนักเข้าตรึงพื้นที่
  • ๒๘ กรกฎาคม รัฐบาลไทยส่งนายเตช บุนนาค รมว. กระทรวงการต่างประเทศคนใหม่ ไปเจรจากับนายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่เสียมเรียบ และกรณีพิพาทนี้ยังดำรงอยู่จนปัจจุบัน