ธัชชัย วงศ์กิจรุ่งเรือง : รวบรวม
+ น้ำฝนสะสมเฉลี่ย ๑,๖๗๔ มิลลิเมตร – ปี ๒๕๕๔ มีปริมาณน้ำฝนสะสมสูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง ๓๐ ปีที่ผ่านมา ร้อยละ ๔๒ และสูงสุดนับตั้งแต่กรมอุตุนิยมวิทยาได้เริ่มเก็บข้อมูลสถิติน้ำฝนเป็นต้นมา
+ ปริมาณน้ำ ๒๑,๐๓๙ ล้าน ลบ.ม. – รวมปริมาณน้ำที่มาจากภาคเหนือและลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนบนที่ไหลลงมารวมที่ภาคกลาง ระหว่างเดือน ก.ย.-ต.ค. ๒๕๕๔
+ พื้นที่ประสบอุทกภัย ๖๕ จังหวัด – รวม ๖๘๔ อําเภอ ๔,๙๒๐ ตําบล ๔๓,๖๓๖ หมู่บ้าน กรุงเทพฯ ประกาศพื้นที่ประสบภัย ๓๗ เขต
+ ประชาชนประสบอุทกภัย ๑๓,๕๙๕,๑๙๒ คน – จำนวน ๔,๐๘๖,๑๓๘ ครัวเรือน
+ ผู้เสียชีวิต ๖๙๓ ราย – จมน้ำ ๕๘๐ ราย ไฟฟ้าช็อร์ต ๔๘ ราย น้ำพัด ๒๖ ราย เรือล่ม ๒๓ ราย และอื่นๆ ๑๖ ราย สูญหาย ๓ ราย (ข้อมูลวันที่ ๒๙ ก.ค. – ๑๓ ธ.ค. ๒๕๕๔) หากรวมอุทกภัยภาคใต้จะมีผู้เสียชีวิตรวมทั้งสิ้น ๗๐๓ ราย
+ ศูนย์อพยพ ๑,๗๓๙ ศูนย์ – จำนวนศูนย์อพยพทั่วประเทศ รับคนได้ทั้งหมด ๑,๘๒๐,๐๙๕,๙๓๑ คน
+ พื้นที่เกษตรเสียหาย ๑๒.๖๑ ล้านไร่ – ทั้งนาข้าว พืชไร่ พืชสวน บ่อปลา บ่อกุ้ง/ปู/หอย ฯลฯ
+ โรงงานอุตสาหกรรม ๙,๘๕๙ โรง – ในพื้นที่ ๘ จังหวัด เงินทุนรวม ๘ แสนล้านบาท คนงาน ๖ แสนคนได้รับผลกระทบ
+ นิคมอุตสาหกรรม ๑๓ แห่ง – จำนวนโรงงาน ๘๓๘ โรง เงินทุนรวม ๔๐๓,๗๘๔ ล้านบาท คนงาน ๓๘๒,๖๙๓ คนได้รับผลกระทบ
+ โรงเรียน ๓,๐๘๘ โรง – เป็นโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ๒,๖๕๒ แห่ง สังกัดกรุงเทพฯ ๔๓๖ แห่ง ส่งผลให้นักเรียนกว่า ๗๐๐,๐๐๐ คนได้รับผลกระทบจากการเลื่อนเปิดเทอม
+ โบราณสถาน ๓๑๓ แห่ง – ทั้งในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉพาะจังหวัดพระนคร-ศรีอยุธยาได้รับผลกระทบ ๑๓๐ แห่ง
+ การท่องเที่ยวสูญเสีย ๕๐,๐๐๐ ล้านบาท – จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ ๑๐ (มีจำนวน ๑๘.๕ ล้านคน) พลาดเป้าจากที่ตั้งไว้ ๑ ล้านคน
+ ปริมาณขยะใน กทม.๑๒,๔๖๓ ตัน/วัน – ปริมาณขยะที่ กทม. ต้องจัดเก็บจากเหตุการณ์น้ำท่วม คิดเป็นร้อยละ ๑๔๖.๖๒ ของปริมาณขยะในสภาวะปรกติ คือ ๘,๕๐๐ ตัน/วัน
+ ยอดเงินบริจาคไม่ต่ำกว่า ๒,๐๐๐ ล้านบาท – ผ่านทางกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี ๑,๐๙๑ ล้านบาท, มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ ๓๓๗ ล้านบาท, สภากาชาดไทย ๗๖๐ ล้านบาท, ครอบครัวข่าว ๓ ๒๘๘ ล้านบาท
+ มูลค่าความเสียหาย ๑.๔ ล้านล้านบาท – จากการประเมินของธนาคารโลก นับเป็นภัยพิบัติที่สร้างความเสียหายรองจากแผ่นดินไหวและสึนามิ ปี ๒๕๕๔ ในญี่ปุ่น, แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ฮันชินที่โกเบ ปี ๒๕๓๘ และพายุเฮอริเคนแคทรีนาที่สหรัฐอเมริกา ปี ๒๕๔๘ เท่านั้น
ข้อมูลจาก : เว็บไซต์ศูนย์สนับสนุนการอำนวยการและการบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศอส.) (disaster.go.th), เว็บไซต์กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, สำนักข่าวไทย, สำนักข่าวอิศรา, เว็บไซต์ครอบครัวข่าว, หนังสือพิมพ์ มติชน และ AccuWeather.com, Thaiflood.com