เรื่อง : ธัชชัย วงศ์กิจรุ่งเรือง

มิถุนายน
๑๓-๒๒  มิ.ย. กลุ่มเมฆปกคลุมหนาแน่นในภาคตะวันออกทำให้เกิดฝนตกหนัก และน้ำท่วมบริเวณจังหวัดตราดและจันทบุรี

๒๕-๒๗ มิ.ย. พายุโซนร้อนไหหม่า (Haima) เคลื่อนขึ้นฝั่งที่มณฑลกวางตุ้ง ประเทศจีน ทำให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมเฉียบพลันใน ๑๓ จังหวัดทางภาคเหนือตอนบนของไทย

กรกฎาคม
๒๕  ก.ค. พายุโซนร้อนนกเตน (Nock-Ten) ทำให้ฝนตกหนักบริเวณภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลางฝั่งตะวันตก ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก เกิดน้ำท่วมใน ๓๐ จังหวัด

สิงหาคม
๑๕  ส.ค. เขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ์ จ. กาญจนบุรี เปิดประตูระบายน้ำเต็มพิกัด เหตุจากแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติมีปัญหาจำเป็นต้องให้โรงไฟฟ้าพลังน้ำเดินเครื่องช่วยระบบไฟฟ้าของประเทศ ส่งผลให้น้ำในแม่น้ำแควใหญ่เอ่อท่วมบริเวณใกล้เคียง

๒๕  ส.ค. เขื่อนสิริกิติ์ปล่อยน้ำลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา หลังปริมาณน้ำในเขื่อนเพิ่มสูงเต็มปริมาณความจุของอ่างเก็บน้ำ

กันยายน
๑ – ๕  ก.ย. น้ำป่าจากเทือกเขาเพชรบูรณ์ไหลท่วมที่พักชั่วคราวของชุมชนชาวร่มเกล้า จ.พิจิตร / น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเริ่มมีระดับสูงเอ่อท่วมในหลายจุดของ จ.อ่างทอง

ก.ย. เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น เริ่มเปิดประตูระบายน้ำเพิ่ม ส่งผลกระทบต่อคนริมแม่น้ำพองและแม่น้ำชี

๑๘-๒๐ ก.ย. น้ำท่วมหนักในจังหวัดลพบุรี กาฬสินธุ์ พิจิตร นครสวรรค์ อุบลราชธานี และอุตรดิตถ์

๒๕ ก.ย. พายุโซนร้อนไห่ถาง (Haitang) เคลื่อนตัวสู่ประเทศเวียดนาม ลาว และไทย ทำให้มีฝนตกหนักต่อเนื่องจนถึงวันที่ ๒๘ กันยายน ส่งผลกระทบต่อจังหวัดในภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคอีสาน

๒๘ ก.ย. น้ำเหนือไหลบ่าลงมาทางคลองรังสิตประยูรศักดิ์จนเอ่อท่วม จ.ปทุมธานี

๓๐ ก.ย. – ๑ ต.ค. อิทธิพลจากพายุไต้ฝุ่นเนสาด (Nesat) ส่งผลให้มีฝนตกหนักในภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ตุลาคม
๕ ต.ค. เขื่อนภูมิพลต้องเปิดประตูระบายน้ำฉุกเฉินต่อเนื่องหลายวัน วันละเกือบ ๑๐๐ ล้าน ลบ.ม. / นิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร จ.พระนครศรีอยุธยา คันกั้นน้ำแตกทำให้น้ำท่วมโรงงาน ๔๖ แห่ง

ต.ค. พายุโซนร้อนนาลแก (Nalgae) ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักทุกภาค โดยเฉพาะภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก

ต.ค. รัฐบาลตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) มีศูนย์บัญชาการที่ท่าอากาศยานดอนเมือง

ต.ค. น้ำเริ่มทะลักคันกั้นน้ำเข้าท่วมนิคมอุตสาหกรรมโรจนะ จ.พระนครศรีอยุธยา วันต่อมาเข้าท่วมโรงงานทั้ง ๑๙๘ แห่ง /น้ำท่วมซอยพระเงิน จ.ปทุมธานี, ถ.ชัยพฤกษ์ – พระราม ๔ และ ถ.อ่อนนุช ช่วงลาดกระบัง

๑๐  ต.ค. ฝนตกและน้ำในแม่น้ำเริ่มเอ่อท่วม อ.บางบัวทอง  อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี / น้ำเหนือไหลบ่าเข้าท่วม อ.วังน้อย และนิคมอุตสาหกรรมไฮเทค อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา

๑๗ ต.ค. น้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรมนวนคร จ.ปทุมธานี และนิคมอุตสาหกรรมบางกะดี จ.ปทุมธานี / กรมโยธาธิการและผังเมืองขออาสาสมัครเสริมแนวคันกั้นน้ำริมคลองรังสิตประยูรศักดิ์ เพราะหากน้ำไหลเข้าคลองเปรมประชากรและคลองประปา จะส่งผลกระทบต่อกรุงเทพฯ / ฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมหลายอำเภอ
ใน จ.นครราชสีมา

๑๙ ต.ค. น้ำท่วมบริเวณ ถ.รังสิต – นครนายก, ในเขตชุมชน ต.บางกะดี และ ต.รังสิต อ.ธัญบุรี และบริเวณคลอง ๑ -๑๓ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ไหลบ่าลงสู่พื้นที่ อ.ลำลูกกา ซึ่งมีคลองหกวาสายล่างเป็นแนวกั้นน้ำสำคัญ

๒๐ ต.ค. การทางพิเศษแห่งประเทศไทยยกเว้นการเก็บค่าผ่านทางด่วน / น้ำเหนือไหลบ่าเข้าคลองเปรมประชากร และท่วม ถ.รังสิต – ปทุมธานี, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต, เขตหลักสี่ ดอนเมือง และประชาชื่น กรุงเทพฯ

๒๑  ต.ค. รัฐบาลออกคำสั่งเตือนภัยพิบัติร้ายแรง ตามมาตรา ๓๑ ของ พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. ๒๕๕๐ เพื่อให้การทำงานเป็นเอกภาพ / หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑  ถ.แจ้งวัฒนะ น้ำท่วมทั้งหมด

๒๒   ต.ค. คันดินกั้นน้ำแยกบางกระบือแตก ส่งผลให้น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อเข้าท่วม ถ. สามเสน กรุงเทพฯ / น้ำท่วม ถ.บางกรวย -ไทรน้อย จ.นนทบุรี ตลอดทั้งสาย และเข้าท่วมหมู่บ้านเมืองเอก จ. ปทุมธานี

๒๔ – ๒๖  ต.ค. น้ำท่วม ถ.วิภาวดีรังสิต ถึงสถานีรถไฟดอนเมือง เขตบางเขน  บางพลัดและสายไหม / น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อท่วม ถ. จรัญสนิทวงศ์  ส่วนเขตพระนคร น้ำท่วมขังบริเวณท่าพระจันทร์และท่าช้าง

๒๗ – ๓๑  ต.ค. รัฐบาลประกาศวันหยุดราชการเฉพาะพื้นที่น้ำท่วมตั้งแต่วันที่ ๒๗-๓๑ ต.ค. เนื่องจากเป็นช่วงน้ำทะเลหนุนสูงสุด / น้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเอ่อเข้าท่วมเขตสัมพันธวงศ์ ท่าน้ำวังหลัง ถ.อรุณอมรินทร์ / น้ำเหนือไหลบ่าข้ามคลองมหาสวัสดิ์ – ทวีวัฒนา เข้าท่วม อ.ศาลายา จ.นครปฐม และเขตตลิ่งชัน / น้ำจากแม่น้ำท่าจีนเอ่อล้นเข้าท่วม จ.สุพรรณบุรีเกือบทุกพื้นที่ และ จ.สมุทรสาครได้รับผลกระทบบางพื้นที่

๒๙  ต.ค. หลังจากน้ำทะลักเข้าท่วมขังภายในท่าอากาศยานดอนเมือง ศปภ. ตัดสินใจย้ายที่ทำการไปยังอาคารเอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ กระทรวงพลังงาน ถ.วิภาวดีรังสิต

๓๐  ต.ค. น้ำจากคลองบางเขนได้เอ่อล้นเข้าท่วมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และชุมชนหลังมหาวิทยาลัย / พนังกั้นน้ำริมคลองพระโขนงได้รับความเสียหายหลายจุด น้ำท่วมชุมชนซอยสุขุมวิท ๕๐

๓๑ ต.ค. สถานีขนส่งสายใต้ใหม่ ถ.บรมราชชนนี ย้ายไปที่ ถ. พระรามที่ ๒ ชั่วคราว

พฤศจิกายน
๑ พ.ย. การผันน้ำออกสู่ทะเลดีขึ้น ช่วยลดปริมาณน้ำเจ้าพระยาที่ล้นตลิ่งได้ถึง ๒๐ %

๑ – ๔  พ.ย. น้ำท่วมฝั่งธนบุรี, เขตมีนบุรี และเขตคันนายาว มวลน้ำจาก ถ.วิภาวดีรังสิต และ ถ.พหลโยธินไหลเอ่อจากท่อระบายน้ำเข้าแยกเกษตร แยกรัชโยธิน แยกวัดเสมียนนารี ห้าแยกลาดพร้าว

๗ – ๙ พ.ย. มวลน้ำจาก ถ.พหลโยธิน เข้าท่วมหน้าสวนจตุจักร, ถ.กำแพงเพชร, ถ.พระรามที่ ๖ และขยายวงสู่พื้นที่บริเวณใกล้เคียง โดยมีคลองบางซื่อเป็นแนวกั้นน้ำสำคัญ / ศปภ. นำกระสอบทรายยักษ์ หรือ Big Bag กั้นทางน้ำเป็นแนวระยะทางกว่า ๒๐ กิโลเมตร

๑๑ พ.ย. น้ำเริ่มท่วมในบริเวณ ถ.บางขุนเทียน และบางช่วงของ ถ.พระรามที่ ๒

๒๓ – ๒๔ พ.ย. อิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกําลังแรงพัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ทำให้เกิดฝนตกหนักและน้ำท่วมในหลายจังหวัดทางภาคใต้

ธันวาคม
๑๓ ธ.ค. ยังมีฝนตกต่อเนื่องในหลายจังหวัดทางภาคใต้ และมีพื้นที่ภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคเหนือที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมรวม ๑๐ จังหวัด อยู่ระหว่างฟื้นฟู ๕๕ จังหวัด ซึ่งหลายแห่งยังคงมีน้ำท่วมขัง

(อนึ่ง เนื่องจากพื้นที่ตีพิมพ์ในนิตยสารจำกัด เราจึงลำดับเฉพาะเหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับพื้นที่ใดได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมช่วงเวลาใดเป็นหลัก)

ข้อมูลจาก : หนังสือพิมพ์ ไทยรัฐ, กรุงเทพธุรกิจ, เว็บไซต์ไทยพีบีเอส, สำนักข่าวไทย, กรมชลประทาน และ Thaiflood.com, Floodthailand.net