เรื่อง วันชัย ตัน
ภาพประกอบ DIN-HIN
คนส่วนใหญ่เดินทาง ข้ามทะเล โดยใช้เรือ เป็นพาหนะ น้อยคน ที่จะว่ายน้ำข้ามทะเล
ยิ่งคนที่เดินตีนเปล่า ข้ามทะเล ด้วยแล้วละก็ ยิ่งหายาก… แต่ใช่ว่าจะไม่มี !!
การเดินข้ามทะเล ด้วยสองเท้าของคุณนั้น ทำได้ ในทะเลเหนือ ระหว่างแผ่นดินใหญ่ของ เนเธอร์แลนด์ กับเกาะ Frisian แผ่นดินทั้งสอง ห่างกันหลายไมล์ แต่ระดับน้ำทะเลแถบนั้น ตื้นพอที่จะ เดินข้ามไปได้
ชาวดัตช์ได้คิดค้นกิจกรรม เดินย่ำไปบนพื้นโคลน ในน้ำลึกระดับเอว เพื่อให้ได้ชื่อว่า ข้าพเจ้า สามารถข้ามทะเล ด้วยตีนเปล่า มาแล้วขอรับ
ที่ผ่านมา มีผู้คนเข้าร่วมกิจกรรม เดินตีนเปล่า ข้ามทะเล ปีละไม่ต่ำกว่า ๒ หมื่นคน
ความฮิตของกิจกรรมนี้ ไม่ได้จำกัดอยู่แต่ใน หมู่นักนิยมธรรมชาติ ที่ชอบผจญภัย ในเส้นทางโหด ๆ เท่านั้น
“พวกวัยรุ่นหนุ่มสาว มักเกี่ยวก้อยกันมา เดินลุยโคลน อย่างสนุกสนาน พวกทหาร นิยมมาฝึก ยกพลขึ้นบกที่นี่ และชาวต่างชาติเอง ก็พิสมัยกับ เส้นทางนี้ไม่น้อย ชาวออสซี่ ชาวเยอรมัน อเมริกัน และชาวญี่ปุ่น ต่างชมชอบกับ การเดินลุยโคลน ในทะเลเหนือ กันมาแล้วทั้งนั้น” มัคคุเทศก์ จาก ศูนย์อำนวยการ ลุยโคลน กล่าว
ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงตุลาคม ซึ่งถือเป็นช่วงที่ดี ในการลุยทะเล มัคคุเทศก์ประจำศูนย์ อำนวยการลุยโคลน ใน Pieterburen ห่างจากอัมสเตอร์ดัม ไปทางทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ ๑๕๐ กิโลเมตร จะวุ่นวายอยู่กับ การนำนักท่องเที่ยว นับพันคน เดินข้ามทะเล ไปบนเส้นทางที่ เต็มไปด้วยโคลนตม
อันที่จริง การเดินลุยโคลนนี้ มีมานานแล้ว สมัยก่อน คนโบราณ มักจะต้อนฝูงวัว เดินลุยโคลน เพื่อไปยังทุ่งหญ้า อันอุดมสมบูรณ์ อีกฝั่งหนึ่ง พอถึงยุคซิกตี้ การเดินข้ามทะเลโคลน ก็กลายเป็น กิจกรรมยอดนิยม ในหมู่นักท่องเที่ยว ที่ชอบทรมานสังขาร เดินลุยโคลน และน้ำเย็นยะเยือก ไม่ต่ำกว่า ห้าชั่วโมง
“มันเป็นการเยียวยา รักษาจิตใจ การมุ่งหน้า ออกสู่ทะเล เท่ากับเป็นการ ทิ้งปัญหา และเรื่องยุ่ง ๆ ไว้เบื้องหลัง” มัคคุเทศก์คนหนึ่ง พยายามหา ปรัชญา มาอธิบาย
แต่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ ไม่ค่อยคิดมาก มาลุยอย่างเดียว โดยขั้นแรก ต้องเตรียมตัวให้ดี คือสวมถุงเท้าสองชั้น เพื่อป้องกัน เปลือกหอย หลุดเข้าไปใน รองเท้า เอาครีมกันแดด และเสบียงไปด้วย ที่จะลืมไม่ได้คือ ถุงกันน้ำ ไว้ใส่กล้องถ่ายรูป เนื่องจาก บางช่วงระดับน้ำ อาจสูงถึง หน้าอก
มัคคุเทศก์ ที่เดินนำหน้า นักท่องเที่ยว (บางกลุ่ม มีจำนวนกว่า ๑๐๐ คน) จะถือท่อนไม้สีแดง ยาวประมาณ ๑ เมตร ไว้ตลอดเวลา ท่อนไม้นี้ มีไว้สำหรับ วัดความลึก ของน้ำ บางครั้ง ก็ใช้เป็นหลักพักพิง ให้แก่สมาชิก ที่ชักจะหมดแรง
พอเริ่มออกเดินทาง บรรดาขาลุย ก็ย่ำลงบนโคลนสีดำปี๋ ส่งกลุ่นเหม็นคลุ้ง สูงระดับหัวเข่า
“เส้นทางนี้ มีโคลนทุกชนิด รอคุณอยู่ ทั้งโคลนที่ลึกสุด ๆ โคลนเหลวสุด ๆ ชนิดที่ย่ำลงไปแล้ว คุณจะจมลงไป ถึงหัวเข่า บางที คุณก็อาจจะเจอ พื้นทรายแข็ง ๆ เหมือนกับ เดินอยู่บนชายหาด ด้วยเหมือนกัน” มัคคุเทศก์คนหนึ่งบอก
ตลอดห้าชั่วโมง ของการเดินทาง จะมีการหยุดพัก เป็นระยะ ถ้าโชคดี ผู้ร่วมขบวน อาจได้เห็นฝูงแมวน้ำ นอนเล่นอยู่บนเนินทราย กลางทะเล นอกจากนี้ ยังมีสัตว์ และพืชมากมาย ให้พบเห็นตลอดทาง ทั้งนก ปลา แมงกะพรุน และไม้เลื้อย พันอยู่รอบ ๆ เปลือกหอย
ช่วงที่นักลุยโคลน มีความสุขที่สุด น่าจะเป็นตอนจบ ที่พวกเขาเดินขึ้นบก ไปถึงฟาร์ม พักดื่มน้ำ ให้ชื่นใจ ได้ล้างโคลนเกรอะกรัง ออกจากท่อนขา อันเหนื่อยล้า
“แรงจูงใจ ของการเดินทาง ข้ามทะเลโคลน อยู่ตรงที่ เราได้พิชิต ได้เอาชนะมัน ส่วนผืนน้ำ และแผ่นฟ้า ที่เวิ้งว้าง กว้างไกล สุดลูกหูลูกตา มองไม่เห็นอะไรเลย นอกจากความว่างเปล่า ช่างเป็นภาพที่ น่าประทับใจเหลือเกิน” ขาลุยคนหนึ่งพูด
ว่าง ๆ ขอเชิญข้ามทะเล มาช่วยลอกท่อระบายน้ำ ในกรุงเทพฯ ของผม ด้วยเถิดครับ รับรอง จะประทับใจไม่รู้ลืม