.....คำให้การเรื่องภาพถ่ายเก่า
.....๑๖๐ ปีก่อน Louis Jaques Mande Daguerre
ชาวฝรั่งเศส เป็นผู้ริเริ่ม นำวิชาการถ่ายรูป
มาเผยแพร่แก่โลก เรียกกันว่า รูปถ่ายแบบ ดาแกโรไทพ์
หลังจากที่ภาพถ่ายในระบบนี้ เป็นที่รู้จัก
แพร่หลาย ในหมู่ประเทศยุโรป ได้เพียงหกปี
คือในปี พ.ศ. ๒๓๘๘ หรือในสมัย รัชกาลที่ ๓
วิชาการถ่ายภาพแบบ ดาแกโรไทพ์ ก็ได้เผยแพร่
เข้ามาถึงเมืองไทย และชาวไทย ก็ได้รู้จักกับ
ภาพถ่ายมานับแต่นั้น
.....แม้คนไทย
จะรู้จัก คุ้นเคยกับ ภาพถ่าย มานาน ประวัติศาสตร์
การถ่ายภาพ ในเมืองไทยเอง ก็ยืนยาว ไม่น้อยหน้า
ชนชาติใดในโลก อีกทั้ง คำกล่าวที่ว่า
"ภาพภาพหนึ่ง มีค่ามากกว่า คำพันคำ" ก็เป็น
ข้อความที่ ได้ยินกันจน ชินหู แต่ดูเหมือนว่า
ชะตากรรม ของภาพถ่าย ในเมืองไทย
โดยเฉพาะภาพถ่ายเก่า จะแทบไม่ต่างจาก
ของเก่าเก็บทิ้ง ทุกครั้งที่มี การย้ายบ้าน
จัดห้อง มักจะมีการ คัดของ ทิ้งลงขยะเสมอๆ
และหนึ่งใน ของคัดทิ้ง ที่ติดอันดับต้นๆ ก็คือ
ภาพถ่ายเก่า ตัวอย่าง ความสูญเสีย
ที่เห็นได้ชัดก็คือ ภาพถ่ายแบบ ดาแกโรไทพ์
อันเป็น ภาพถ่ายยุคแรก ของโลก ที่ใช้แผ่นเงิน
เป็น แผ่นรับแสง ในการถ่ายภาพ ถึงวันนี้ ในยุโรป
และอเมริกา ยังคงมี ภาพถ่าย ในระบบนี้
เก็บรักษาไว้ นับล้านแผ่น ขณะที่ ในเมืองไทย
ไม่มีเหลือให้เห็น แม้แต่เพียงแผ่นเดียว
.....เอนก
นาวิกมูล นักสะสม และนักสืบค้นเรื่องเก่า
คนสำคัญของไทย ที่เห็นถึง ความสำคัญของ
ภาพถ่ายเก่าเหล่านี้ และได้ติดตาม รวบรวม ภาพ
รวมทั้ง สืบค้น ชำระประวัติ ความเป็นมา
ของภาพเก่า ในเมืองไทย มานานกว่า ๒๐ ปี จะบอกเล่า
เรื่องราว ความรู้ จากประสบการณ์ การทำงานของเขา
ผ่านสารคดีพิเศษเรื่องนี้
ทั้งเรื่องราวแต่ครั้งเก่า ของ เมืองไทย
ที่ถูกบันทึกไว้ใน ภาพถ่าย ประวัติ
ความเป็นมาของ บุคคล สถานที่ เบื้องหลัง
ภาพถ่ายเก่า เหล่านั้น เรื่องราวของ
ช่างภาพรุ่นแรก และภาพถ่ายรุ่นแรก
แหล่งเก็บภาพเก่า ที่สำคัญ ของเมืองไทย ตลอดจน
วิธีการ จัดเก็บข้อมูล และการเก็บรักษาภาพเก่า
ฯลฯ และที่สำคัญก็คือ วิธีการ ชำระภาพเก่า
หรือการอ่านข้อมูลต่างๆ ที่แฝงเร้น อยู่ใน
ภาพถ่ายเก่า ซึ่งจะทำให้ คนรุ่นหลัง ได้รับรู้
และปะติดปะต่อ เรื่องราวหนหลัง ที่อาจไม่มีปรากฏ
ในเอกสารอื่นใด เว้นแต่ใน ภาพถ่ายเก่าเหล่านี้ |
|
เรื่อง โดย เอนก
นาวิกมูล
สมเด็จพระพุฒาจารย์
(โต) ผู้มีชื่อเสียง (คลิกเพื่อดูรูปใหญ่)
รัชกาลที่ ๕
ทรงฉายกับพระราชโอรส (คลิกเพื่อดูรูปใหญ่)
รัชกาลที่ ๕
เมื่อยังทรงพระเยาว์ (คลิกเพื่อดูรูปใหญ่)
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
(คลิกเพื่อดูรูปใหญ่)
ผู้ดีท้องมาน
(คลิกเพื่อดูรูปใหญ่)
|