|
|
dwarf-clawn-loach |
|
ปลาหมูอารีย์
ชื่อสามัญ
ปลาหมูอารีย์ (dwarf-clawn-loach)
ฃื่อวิทยาศาสตร์
Botia sidthimunki Klausewitz, 1959
ถิ่นที่อยู่อาศัย
ลำธารต้นน้ำ
ในสาขาของแม่น้ำน่าน
และสาขาแม่น้ำโขง ในประเทศลาว
สถานภาพ
ี่ใกล้สูญพันธุ์ (endangered)
ตามการประเมินสถานภาพ
ทรัพยากรชีวภาพ โดยผู้เชี่ยวชาญ
และสำนักนโยบาย
และแผนสิ่งแวดล้อมปี ๒๕๓๙
เป็นสัตว์น้ำคุ้มครอง
ตามพ.ร.บ.การประมง ปี ๒๕๓๕
|
Gray heron |
|
นกกระสานวล
ชื่อสามัญ
นกกระสานวล (Gray heron)
ฃื่อวิทยาศาสตร์
Area cinerea
ถิ่นที่อยู่อาศัย
หาดเลนชายทะเล ป่าชายเลน
หนองบึง ทะเลสาบ ทุ่งนา
และบ่อเลี้ยงกุ้ง
สถานภาพ
จากผลการประชุมของผู้เชี่ยวชาญ
เรื่องนกในประเทศไทย จัดโดย
สำนักนโยบาย และแผนสิ่งแวดล้อม
ร่วมกับสมาคมอนุรักษ์นก
และธรรมชาติ แห่งประเทศไทย
เมื่อวันที่ ๒๙ - ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๓๙
ได้จัดให้เป็นนกที่ใกล้สูญพันธุ์
(endangered) ไปจากประเทศไทย
เนื่องจากในปัจจุบันไม่พบการสร้างรังวางไข่
ในประเทศไทยอีกแล้ว
และนกที่ย้ายถิ่นเข้ามา
ก็ถูกล่าไปเป็นจำนวนมากทุกปี
|
Siamese giant-softshell turtle |
|
ม่านลายไทย
ชื่อสามัญ
ม่านลายไทย (Siamese giant-softshell turtle)
ฃื่อวิทยาศาสตร์
Chitra chitra Nutaphand, 1990
ถิ่นที่อยู่อาศัย
แม่น้ำที่มีหาดทราย
หรือดอนทรายกว้าง
และไม่มีการรบกวน บุกรุก
สถานภาพ
จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม
พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
๒๕๓๕ ในประเทศไทย
จากการจัดสถานภาพล่าสุดปี ๒๕๓๙
จัดอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์
อย่างยิ่ง (critically endangered),
จัดเป็นสัตว์ที่ถูกคุบคาม (threatened)
จากการจัดสถานภาพโดย IUCN 1979 และ Hamphrey and
Bain (1990) จัดเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์
|
Redtail shark |
|
ปลาทรงเครื่อง
ชื่อสามัญ
ปลาทรงเครื่อง (Redtail shark)
ชื่อวิทยาศาสตร
Epalzeorhynchos bicolor (Smith, 1931)
ถิ่นที่อยู่อาศัย
เป็นปลาเฉพาะถิ่นที่พบในประเทศไทยเท่านั้น
พบในลุ่มน้ำแม่กลอง เจ้าพระยา
และบางปะกง
โดยอาศัยอยู่ตามแม่น้ำลำธาร
ที่มีพืชพรรณค่อนข้างหนาแน่น
สถานภาพ
ใกล้สูญพันธุ์ (endangered) ในประเทศไทย
จากมติการจัดสถานภาพ
ของสัตว์ใกล้สูญพันธุ์
โดยผู้เชี่ยวชาญ
และสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมปี
๒๕๓๙
|
Purple Heron |
|
นกกระสาแดง
ชื่อสามัญ
นกกระสาแดง (Purple Heron)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Ardea purpurea
ขนาด
วัดจากปลายปากถึงปลายหางได้
๙๗ เซนติเมตร
ถิ่นอาศัย
แหล่งน้ำในที่ราบ
สถานภาพ
จากผลการประชุมของผู้เชี่ยวชาญ
เรื่องนกในประเทศไทย
จัดโดยสำนักนโยบาย
และแผนสิ่งแวดล้อม
ร่วมกับสมาคมอนุรักษ์นก
และธรรมชาติแห่งประเทศไทย
เมื่อวันที่ ๒๙-๓๐ พฤษภาคม ๒๕๓๙
ได้จัดให้เป็นนกที่ใกล้สูญพันธุ์
(Endangered) ไปจากประเทศไทย
เนื่องจากลดจำนวนลงไปอย่างรวดเร็ว
จนเหลืออยู่ในธรรมชาติน้อยมาก
|
Spiny turtle |
|
เต่าจักร
ชื่อสามัญ
เต่าจักร (Spiny turtle)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Heosemys spinosa (Gray, 1831b)
ขนาด
ความยาวของกระดองหลังของตัวโตเต็มวัยประมาณ
๒๒ เซนติเมตร
ถิ่นอาศัย
บริเวณลำธารในป่าดิบชื้น
สถานภาพ
เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม
พ.ร.บ. สงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า
๒๕๓๕
จัดอยู่ในกลุ่มที่ถูกคุกคามที่มีแนวโน้มสูญพันธุ์
(threatened species : vulnerable) ตาม IUCN red list of Threatened Animals (1996)
|
Burmese Mrs. Hume's Pheasant |
|
ไก่ฟ้าหางลายขวาง
ชื่อสามัญ
ไก่ฟ้าหางลายขวาง (Burmese Mrs. Hume's Pheasant)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Syrmaticus humiae burma-nicus (Oates, 1898)
ถิ่นอาศัย
พื้นล่างของป่าดิบเขา
ป่าดิบแล้ง และป่าสน
บนถูเขาสูงกว่า ๑,๒๐๐
เมตรจากระดับน้ำะเล
สถานภาพ
เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม
พ.ร.บ. สงวน และคุ้มครองสัตว์ป่า
๒๕๓๕ จากการจัดสถาณภาพล่าสุดป่
๒๕๓๙ ในประเทศไทย
พบว่าอยุ่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์
(Endangered)
และอยู่ในกลุ่มที่ถูกคุกคาม
(Threatened) ตามการจัดสถาณภาพของ IUCN 1979. Hamphrey
and Bain (1990)
ระบุว่าอยู่ในภาวะใกล้สูญพันธุ์
และจัดเป็นสัตว์หายาก
ตามการจัดอันดับของ Mace-Lande
ด้วยปัจจุบันจัดอยู่ในบัญชี Cites
Appendix I
|
Cave loach |
|
ปลาค้อถ้ำวังบาดาล
ชื่อสามัญ
ปลาค้อถ้ำวังบาดาล (Cave loach)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Schistura trogocataractus (Kottelat & gery, 1989)
ขนาด
ขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมีความยาว
๖ เซนติเมตร
ถิ่นอาศัย
ลำธารในถ้ำ
สถานภาพ
มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์
ตามการจัดอันดับสถาณถาพ
ทรัพยากรชีวภาพ ปี ๒๕๓๘,
ใกล้สูญพันธุ์จากการสำรวจล่าสุด
ปี ๒๕๔๒
|
Burmese ferret-badger |
|
หมาหริ่ง
ชื่อสามัญ
หมาหริ่ง (Burmese ferret-badger)
ชื่อวิทยาศาสตร
Melogale personata Geoffrey, 1831
ถิ่นอาศัย
ป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น
ป่าเต็งรัง และเบญจพรรณ
สถานภาพ
หายาก
เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม พ.ร.บ.
สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ๒๕๓๕
จัดอยู่ในกลุ่มสัตว์ที่กำลังถูกคุกคาม
แต่ไม่ทราบสถานภาพแน่ชัด (K :Insufficially
kmow) ตาม IUCN red list of Threatened Animals (1996)
|
Larger Malay Mouse Deer |
|
กระจงควาย
ชื่อสามัญ
กระจงควาย (Larger Malay Mouse Deer)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Tragulus napu napu
ขนาด
วัดจากหัวถึงก้น ๕๐-๖๐
เซนติเมตร
ถิ่นอาศัย
ป่าดงดิบ ป่าพรุ
สถานภาพ
ใกล้สูญพันธุ์ (endangered species)
ตามรายงานการจัดสถานภาพ
จากมติการจัดสถาณถาพทรัพยากรชีวภาพ
ของประเทศไทย ปี ๒๕๔๐
โดยสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม
กระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
และจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม
พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ปี
พ.ศ. ๒๕๓๕
|
Mealy crab |
|
ปูทูลกระหม่อม
ชื่อสามัญ
ปูทูลกระหม่อม, ปูแป้ง (Mealy crab)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Thaipotamon chulabhon Naiyanetr, 1993
สถานภาพ
เป็นสัตว์ที่พบเฉพาะถิ่นในพื้นที่จำกัด
และมีแนวโน้มที่จะถูกคุกคาม
|
Black-headed lbis |
|
นกช้อนหอยขาว
ชื่อสามัญ
นกช้อนหอยขาว (Black-headed lbis)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Threskiornis melanocephalus
ขนาด
วัดจากปลายปากถึงปลายหางได้
๗๖ เซนติเมตร
ถิ่นอาศัย
แหล่งน้ำในที่ราบ
สถานภาพ
จากผลการประชุมของผู้เชี่ยวชาญ
เรื่องนกในประเทศไทย
จัดโดยสำนักนโยบาย
และแผนสิ่งแวดล้อม
ร่วมกับสมาคมอนุรักษ์นก
และธรรมชาติแห่งประเทศไทย
เมื่อวันที่ ๒๙-๓๐ พฤษภาคม ๒๕๓๙
ได้จัดให้เป็นนกที่ใกล้สูญพันธุ์
(Endangered) ไปจากประเทศไทย
เนื่องจากลดจำนวนลงไปอย่างรวดเร็ว
จนเหลืออยู่ในธรรมชาติน้อยมาก
|
Greater Adjutant |
|
นกตะกราม
ชื่อสามัญ
นกตะกราม (Greater Adjutant)
ชื่อวิทยาศาสตร
Leptoptilos dubius
ขนาด
วัดจากปลายปาก ถึงปลายหางได้
๑๔๕ เซนติเมตร
ถิ่นอาศัย
หนองบึง ทะเลสาบ แม่น้ำใหญ่ๆ
ทุ่งนา ทุ่งหญ้า และป่าโปร่ง
สถานภาพ
จากผลการประชุม
ของผู้เชี่ยวชาญเรื่องนกในประเทศไทย
จัดโดยสำนักนโยบาย
และแผนสิ่งแวดล้อม
ร่วมกับสมาคมอนุรกษ์นก
และธรรมชาติแห่งประเทศไทย
เมื่อวันที่ ๒๙-๓๐ พฤษภาคม ๒๕๓๙
ได้จัดให้เป็นนกที่ใกล้สูญพันธุ์
(Critical Endangered)
ไปจากประเทศไทยอย่างยิ่ง
เนื่องจากมีจำนวนนกตะกราม
เหลืออยู่ในธรรมชาติน้อยมาก
|
Big-headed turtle |
|
เต่าปูลูไทย
ชื่อสามัญ
เต่าปูลูไทย (Big-headed turtle)
ชื่อวิทยาศาสตร์
Platysternon megacephalum vogeli Wermuth, 1969
ขนาด
ขนาดใหญ่สุดเท่าที่พบ
มีความยาวกระดอง ๒๐ เซนติเมตร
ถิ่นอาศัย
ลำธารในป่าดิบเขาที่มีความสูงตั้งแต่
๑,๐๐๐ เมตร
จากระดับน้ำทะเลปานกลางขึ้นไป
สถานภาพ
จากการจัดสถาณภาพทัพยากรชีวภาพ
โดยผู้เชี่ยวชาญ
และสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม
ปี ๒๕๓๙
จัดว่ามีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์
(vulnerable), IUCN (1968)
จัดให้เป็นสัตว์ที่ถูกคุกคาม
(Threatened) และ พ.ร.บ. คุ้มครองสัตว์ป่า
ปี ๒๕๓๕
ระบุให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
|