Click here to visit the Website

หน้าปก สารคดีฉบับพิเศษ ป๋วย อึ๊งภากรณ์
ฉบับพิเศษ
ป๋วย อึ๊งภากรณ์ /๒๔๕๙-๒๕๔๒
 
   

ส า ร บั ญ
ป๋วยเมื่อวัยเยาว์
วั ย เ ด็ ก สู่ เ ส รี ไ ท ย
ข้ า ร า ช ก า ร ใ ห ญ่
ผู้ ก ล้ า ห า ญ
ดำรงตำแหน่ง เป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
คื อ ต ำ น า น
ธ น า ค า ร ช า ติ
เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ธ ร ร ม ศ า ส ต ร์
แ ล ะ ก า ร เ มื อ ง
ป๋วยในวัยชรา
เ ล่ า เ รี่ อ ง ปั จ ฉิ ม วั ย
ฃี วิ ต แ ล ะ ง า น
ป๋วยในวัยชรา
ค ว า ม คิ ด แ ล ะ
ง า น เ ขี ย น
เ สี ย ด า ย โ อ ก า ส
จ า ก ค ร ร ภ์ ม า ร ด า
ถึ ง เ ชิ ง ต ะ ก อ น
จ ด ห ม า ย จ า ก
น า ย เ ข้ ม  เ ย็ น ยิ่ ง
อาจารย์ป๋วย เมื่อยังหนุ่ม
บั น ทึ ก
ป ร ะ ช า ธ ร ร ม ไ ท ย
โ ด ย สั น ติ วิ ธี
ค ว า ม รุ น แ ร ง
แ ล ะ รั ฐ ป ร ะ ห า ร
๖ ตุ ล า ค ม ๒ ๕ ๑ ๙
ป๋วยในชุดครุย
บ ร ร ณ า นุ ก ร ม
ง า น ข อ ง
ป๋ ว ย  อึ๊ ง ภ า ก ร ณ์
ลายเซ็นต์
  บ ท น ำ
       ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บริเวณตึกโดมชั้นล่าง วันแรก ที่มีการตั้งโต๊ะ ให้ประชาชนทั่วไป มาลงนามใน สมุดไว้อาลัย การจากไปของ อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ นั้น มีชายชราชาวจีน คนหนึ่ง มาเขียนคำไว้อาลัย ความว่า
       "ผมเป็นคนแซ่อึ๊ง เช่นเดียวกับท่าน นายป๋วย เป็นความภูมิใจ ของคนแซ่อึ๊ง ในเมืองไทย"

       ปราโมทย์ นาครทรรพ เขียนถึง อาจารย์ป๋วย ไว้ว่า อาจารย์ป๋วย ตายถึงสามหน
              "หนที่ ๑ เมื่อครั้งเป็นเสรีไทย กระโดดร่มลงมา ที่ชัยนาท ถูกชาวบ้าน จับเตรียมสังหาร ด้วยความโลภ ภายหลังอาจารย์ป๋วย ไปตั้งมูลนิธิ บูรณะชนบทฯ ที่ชัยนาท เพื่อรบกับ ความยากจน
              หนที่ ๒ เมื่อเกิดเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ด้วยน้ำมือ และความบัดซบ ของคนไทย ครั้งนี้ ขมขื่นปวดร้าว ยิ่งกว่าเสียชีวิตจริง อาจารย์ป๋วย ยังมิทันได้ตั้ง มูลนิธิ ๖ ตุลาคม ก็มาป่วย ไม่สามารถพูด หรือเขียนได้เสียก่อน จึงไม่ทัน ได้รบกับ ความยโส โง่เขลา เบาปัญญา บ้าอำนาจ ของชนชั้นปกครอง รุ่นใหม่ ของไทย ทั้งทหาร และพลเรือน
              หนที่ ๓ เป็นการจากทางสรีระ   ผมไม่เชื่อว่า ในความพลัดพรากครั้งนี้ อาจารย์ป๋วย ได้ทิ้งเมืองไทย เมืองไทยเสียอีก ที่ทิ้งอาจารย์ป๋วย ไปนานแล้ว ไม่ว่าจะเป็น ธนาคารชาติ  หรือ ธรรมศาสตร์ก็ตาม ใครบ้าง ที่ยังยึดถือหลัก หรือรักษาวิชา จรรยาบรรณ ความซื่อสัตย์ บรรทัดฐาน และ ความกล้าหาญ ตามแบบอย่าง ของ ดร. ป๋วย อึ๊งภากรณ์"

        ดร. อัมมาร์ สยามวาลา เขียนถึง อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ในวันที่ร่าง ของอาจารย์ป๋วย มอดไหม้ เหลือเพียงอัฐิ และเถ้า เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๔๒ ว่า
              "อาจารย์ป๋วย เป็นคนโชคร้ายที่สุด คนหนึ่ง พ่อแม่ของท่าน อบรมสอนสั่ง ให้ท่านเป็นคนที่ ซื่อสัตย์ที่สุด ในประเทศ ที่เต็มไปด้วยความทุจริต ผลที่ตามมา ก็คือ ท่านต้องต่อกรกับ ผู้ทุจริต ที่ทรงอำนาจมาตลอด ท่านเคยต่อกรกับ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ แต่เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ขอร้องท่าน ให้ช่วยเหลือ ในการพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศ ท่านรับปาก และทำงาน อย่างไม่เห็นแก่เหนื่อยยาก แต่ท่านไม่เคยขายตัว เดินหน้าต่อต้าน การทุจริตฉ้อฉล ทุกรูปแบบ ส่งผลให้ท่าน มีศัตรูหน้าใหม่ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในหมู่ผู้ทรงอิทธิพล... ท่านมีบทบาทสำคัญ ในการเสริมสร้าง ความแข็งแกร่ง ให้แก่เศรษฐกิจ ทุนนิยมไทย แต่ท่านกลับ ถูกกล่าวหาว่า เป็นคอมมิวนิสต์"

       ส่วน สุทธิชัย หยุ่น เขียนไว้อาลัย อาจารย์ป๋วยว่า
              "ความรู้สึกของผม ในฐานะนักข่าว ขณะนั้นคือ ความภาคภูมิใจว่า เมืองไทย มีคนกล้าอย่าง ดร. ป๋วย ที่ยึดถือ หลักการสองเรื่อง เป็นหัวใจ แห่งการดำรงชีวิต นั่นคือ การต่อต้านการโกงกิน และคอร์รัปชั่น ทุกรูปแบบ และสอง คือ การแสวงหา วิญญาณแห่งความเป็น ประชาธิปไตย ในสภาพของบ้านเมือง ที่อำนาจปืน และการรวมศูนย์ แห่งอำนาจ ยังอยู่ในมือ ของ คนเพียงกลุ่มเดียว... ดร. ป๋วย ไม่เคยแสดง ความหวาดกลัวต่อ เผด็จการ ไม่เคยยอมก้มหัว ให้กับ ความชั่วร้าย แต่ก็ต่อสู้อย่าง อหิงสา แบบสามัญชนที่มีเหตุ และผล เป็นอาวุธทางปัญญา"

       หากจะสรุปว่า อาจารย์ป๋วย มีลักษณะอย่างไร คงมีคำจำกัดความสั้น ๆ ว่า อาจารย์ป๋วย เป็นคนธรรมดา ที่มีความดี ความเก่ง และความกล้า รวมอยู่ในตัวคนเดียวกัน ทุกวันนี้ เราอาจจะหาคนที่ซื่อสัตย์ คนเก่ง จบปริญญาเอก เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ได้มากมายในสังคม หรืออาจจะพอมองหา คนที่กล้าหาญ ทำในสิ่งที่ถูกต้องได้บ้าง แต่คนท ี่ประพฤติดีงาม เป็นสุจริตชน รับใช้ประเทศ อย่างซื่อสัตย์ตลอดชีวิต มีความเก่งกาจ และเฉียบแหลม ทางสติปัญญาระดับโลก และกล้าหาญ ท้าทายความชั่วร้าย ความอยุติธรรมทั้งปวง โดยไม่หวั่นเกรงใด ๆ คนที่มีคุณสมบัติเหล่านี้ อยู่ในตัวคนคนเดียว อย่างอาจารย์ป๋วย น่าสงสัยว่า ยังมีอีกหรือไม่ คงอีกนานเท่านาน กว่าสังคมไทย จะค้นหาคน ที่มีลักษณะ เช่นเดียวกับ อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ สามัญชน ผู้กลายเป็นตำนาน ที่คนในสังคม จะเล่าให้ลูกหลานฟังว่า กาลครั้งหนึ่ง บ้านเรา มีบุคคลธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา คนหนึ่งชื่อ นายป๋วย...

นิตยสารสารคดี

Feature@Sarakadee.com
สำนักพิมพ์ สารคดี | สำนักพิมพ์ เมืองโบราณ | วารสาร เมืองโบราณ | นิตยสาร สารคดี
[ วิริยะบุคส์ | มีอะไรใหม่ | เช่าสไลด์ | ๑๐๘ ซองคำถาม | สมาชิก/สั่งซื้อหนังสือ |
WallPaper ]
นิตยสาร สารคดี