|
 |
|
 |
|
ปฏิทินเทศกาลงานประเพณีเดือน ตุลาคม - พฤษจิกายน |
|
|
วันที่ |
ชื่องาน |
จังหวัด/สถานที่จัดงาน |
๑๖-๒๒ ต.ค. |
ไหลเรือไฟ |
นครพนม/ บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัด
ในลำน้ำโขง |
๑๙-๒๕ ต.ค. |
ชักพระ |
สุราษฎร์ธานี/ บริเวณเกาะลำพู และ และทอดผ้าป่าประจำปี ริมเขื่อนแม่น้ำตาปี |
๒๑-๒๒ ต.ค. |
ตักบาตรเทโว |
อุทัยธานี/ วัดสังกัสรัตนคีรี และเขาสะแกกรัง |
๒๑-๒๒ ต.ค. |
บั้งไฟพญานาค |
หนองคาย/ ลำน้ำโขง และวัดไทย อ.โพนพิชัย |
๒๖ ต.ค.-๓ พ.ย. |
งานนมัสการพระสมุทรเจดีย์ |
สมุทรปราการ/ บริเวณศาลากลางจังหวัด และ และงานกาชาด องค์พระสมุทรเจดีย์
|
@ พบกันฉบับนี้ "นายรอบรู้" มีข้อคิดขอเขียนตามธรรมเนียม มีบางคนกล่าวไว้ว่า
ในการเดินทาง "จุดหมาย" เป็นเพียงความมุ่งมาดปรารถนาลอย ๆ เท่านั้น สิ่งที่นักเดินทางต้องเผชิญอยู่ตลอดเวลาของการเดินทางก็คือ "ระหว่างทาง" นั่นเอง คนเรามักคำนึงถึงแต่จุดหมาย ทั้งที่ในการเดินทาง เราใช้ชีวิตและอยู่กับ "ระหว่าง" ทางมากกว่า "ปลายทาง" เสียอีก ...หรือคุณคิดว่าอย่างไร ?
@ มีข่าวแจ้งมาว่า ชาวบ้านชุมชนวัดเขาตะเครา หมู่บ้านแสมชาย อ. บ้านแหลม จ. เพชรบุรี
ร่วมกันพิทักษ์หิ่งห้อย ให้เป็นจุดขายชูการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ก่อนที่บริษัทนำเที่ยวจะทำระบบนิเวศเสียหาย บริเวณหมู่บ้านแสมชายสมบูรณ์ไปด้วยป่าชายเลนน้ำกร่อย มีหิ่งห้อยอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงมีบริษัทนำเที่ยวพานักท่องเที่ยวไปชมหิ่งห้อยคราวละมาก ๆ โดยว่าจ้างชาวบ้านพายเรือพานักท่องเที่ยวไปชมหิ่งห้อง
กิจกรรมนี้นอกจากชาวบ้านจะมีรายได้
ไม่เป็นกอบเป็นกำเท่าบริษัทนำเที่ยวแล้ว อาจส่งผลกระทบต่อถิ่นอาศัยของหิ่งห้อยอีกได้ เพราะยังไม่มีการจัดการในเรื่องนี้ นักวิชาการจากกรมป่าไม้จึงได้เดินทางไปให้ความรู้แก่ชาวบ้านถึงที่
@ ดร. องุ่น ลิ่ววานิช นักกีฏวิทยาอาวุโส เปิดเผยว่า การท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่หมู่บ้านแสมชาย ควรจัดการโดยชาวบ้านมากกว่าคนนอกชุมชน แต่ชาวบ้านต้องมีความรู้ทั้งในการจัดการรูปแบบการท่องเที่ยว และสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติของหิ่งห้อยอย่างเป็นระบบเสียก่อน การที่หิ่งห้อยกะพริบแสงนั้นเป็นการหาคู่ผสมพันธุ์ นักท่องเที่ยวจึงไม่ควรรบกวนหิ่งห้อยด้วยการฉายไฟไปที่หิ่งห้อย เขย่ากิ่งไม้ต้นโกงกาง แสม ลำพูที่หิ่งห้อยอาศัยอยู่ หรือแม้กระทั่งการส่งเสียงดัง ไม่ว่าจะเป็นเสียงเรือ เสียงนักท่องเที่ยวที่เข้าไปชมเป็นจำนวนมาก
การกระทำดังกล่าว อาจเป็นการรบกวนการผสมพันธุ์ของหิ่งห้อย สิ่งเหล่านี้ชาวบ้านควรแนะนำนักท่องเที่ยว นักวิชาการท่านนี้ฝากเตือนมาก่อนที่จะสายเกินแก้ ไม่เหลือหิ่งห้อยให้ชมอีกต่อไป
@ ถ้าคุณไปเที่ยวลำปางแล้วหมายใจว่าจะนั่งรถม้าเที่ยวให้ทั่วเมือง เพราะเข้าใจว่าเมืองนี้เขายังใช้รถม้าเป็นพาหนะต่างรถยนต์ ขอบอกไว้ตรงนี้ว่าอย่าได้คิดเชียว เพราะรถม้าในลำปางมีไว้บริการนักท่องเที่ยวกระเป๋าหนักเท่านั้น มิหนำซ้ำยังหาที่ขึ้นรถม้าไม่เจอ นาน ๆ จะโผล่มาให้เห็นสักตัว
เทศบาลนครลำปางมีแผนที่จะสร้างสถานีรถม้าขึ้น
ที่บริเวณข้างสวนสาธารณเขลางค์นครเป็นสถานีแรก ก่อนจะขยายไปยังสถานีอื่น ๆ ทั่วเมืองลำปาง จะรวบรวมรถม้าที่มีอยู่ถึง ๒๐๐ คัน ให้มารวมกันอยู่ที่นี่ ต่อไปนี้นักท่องเที่ยวก็จะมีจุดขึ้นรถม้าได้อย่างสะดวก แต่สนนราคาจะยังแพงหูฉี่อยู่หรือไม่ "นายรอบรู้" ไม่ได้รับแจ้ง ยังไงก็ฝากผู้รับผิดชอบพิจารณาด้วยก็แล้วกัน
@ ช่วงนี้ทางจังหวัดสงขลามีข่าวความเคลื่อนไหวหลายอย่าง
เทศบาลเมืองสงขลามีโครงการสร้างลิฟต์ขึ้นเขาตังกวน
กลางเมืองสงขลาจะแล้วเสร็จในปี ๒๕๔๖ เขาตังกวนเป็นเขาสูงตั้งอยู่กลางเมืองสงขลา บนยอดเขานั้นเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ พลับพลาที่ประทับของรัชกาลที่ ๔ นับเป็นสิ่งสำคัญคู่เมืองสงขลามาแสนนาน
อีกทั้งข้างบนยอดเขานั้น ยังมีทัศนียภาพที่สวยงาม มองเห็นเมืองสงขลาในความหมาย "เมืองสองทะเล" ทะเลสาบสงขลา ทะเลอ่าวไทย ใครที่จะขึ้นไปบนยอดเขานั้นต้องเดินขึ้นบันไดนานราว ๑ ชั่วโมง
แต่ถ้าขึ้นลิฟต์ซึ่งคล้ายกับลิฟท์ในอาคารสูงทั่วไป
จะใช้เวลาเพียง ๓ นาทีเท่านั้น ขึ้นได้คราวละ ๒๐ คน "นายรอบรู้" ไม่แน่ใจว่า เบื้องหลังความสะดวกสบายเช่นนี้ต้องสูญเสียอะไรไปบ้าง
@ เมื่อหลายสิบปีก่อน คนไทยเคยฮือฮากับสะพานติณสูลานนท์
ที่สร้างข้ามทะเลสาบสงขลา ซึ่งถือเป็นสะพานที่ยาวที่สุดและมีทัศนียภาพสวยงาม บัดนี้การจราจรบนสะพานคับคั่ง ด้วยเหตุนี้ จังหวัดสงขลาจึงสร้างสะพานข้ามทะเลสาบสงขลาแห่งใหม่ขึ้น โดยสร้างคู่ขนานไปกับสะพานติณสูลานนท์
@ สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ย้ายสำนักงานแล้ว จากอาคารเลอคองคอร์ด ถนนรัชดาภิเษก ไปที่อาคารแห่งใหม่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ สำนักงานแห่งใหม่นี้ตั้งอยู่ช่วงสี่แยกมักกะสันกับสี่แยกอโศก ไปไม่ถูก โทร. ๐-๒๒๕๐-๕๕๐๐ (๑๕๐ คู่สาย) หรือโทรสาร ๐-๒๒๕๐-๕๕๑๑-๒
@ นับวันการท่องเที่ยวยิ่งเข้ามามีบทบาทในสังคมวัฒนธรรมของเรามากขึ้น ก่อนจากกันฉบับนี้ "นายรอบรู้’’" จึงขอนำแนวคิดเกี่ยวกับการท่องเที่ยวของ ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักประวัติศาสตร์เลื่องชื่อของเมืองไทย มาเสนอไว้ ณ ที่นี้ ให้เราในฐานะส่วนหนึ่งของผลิตผลของการท่องเที่ยวได้พินิจพิเคราะห์กัน
@ "...นักท่องเที่ยวเป็นคนที่มีส่วนเกินทางเศรษฐกิจ มีวัตถุประสงค์ไปเสพ ไปบริโภค โดยไม่คำนึงถึงด้านลบที่จะตามมาหลายปะการ เช่น
การค้าประเวณีของเด็กชายหญิง
ที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการท่องเที่ยวไปแล้ว วัฒนธรรมชุมชนได้รับผลกระทบ คนในท้องถิ่นสูญเสียพื้นที่การพักผ่อน ทำลายความสงบของชุมชน คนท้องถิ่นเลียนแบบการใช้ชีวิตที่หรูหรา ฟุ่มเฟือย ตามแบบอย่างที่เห็นจากนักท่องเที่ยว
สร้างทัศนคติการรับใช้เยี่ยงทาส
ในระดับลูกจ้างของธุรกิจท่องเที่ยว โดยปราศจากความเคารพวัฒนธรรม
และศักดิ์ศรีของตน"
@ ขณะนี้สังคมกำลังเรียกร้องให้คนกลุ่มนี้
มีการท่องเที่ยวอย่างเป็นมิตร กับสิ่งแวดล้อมกับชุมชน
และท้องถิ่นมากขึ้น ในความหมายที่เป็นการอนุรักษ์อย่างแท้จริง มิใช่การแสวงหาความแปลกใหม่ภายใต้ชื่อ "นักท่องเที่ยวเชิงนิเวศ" หรือ "นักท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม"
@ แล้วพบกันในโอกาสต่อไป @ |
|
 |