home
Contact Uscontact@sarakadee.com
สาระเพื่อนักเดินทาง และการท่องเที่ยว อย่างเข้าใจและรอบรู้
www.Thaitraveler.com
เที่ยวทั้วไทยกับ "นายรอบรู้" เดือนสิงหาคม

รู้หรือ (ไม่) รู้

ผีเสื้อสมิงเชียงดาวตัวสุดท้าย

ผีเสื้อสมิงเชียงดาวตัวสุดท้าย (คลิกดูภาพใหญ่)
ผีเสื้อสมิงเชียงดาว (Bhutan Glory/Bhutanitis lidderdalei ocellatomaculata) เป็นผีเสื้อหนึ่งในเก้าชนิดที่ถือเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. ๒๕๓๕ ผีเสื้อชนิดนี้พบได้เฉพาะบนดอยเชียงดาวเพียงแห่งเดียวในเมืองไทย และปัจจุบันคาดว่าคงสูญพันธุ์ไปแล้ว
ผีเสื้อสมิงเชียงดาว นับเป็นผีเสื้อที่มีลักษณะ และสีสันสวยงามมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก จัดอยู่ในวงศ์ผีเสื้อหางติ่ง (Papilionidae) เป็นผีเสื้อขนาดใหญ่ยาวประมาณ ๙-๑๐ มม. ทั้งสองเพศมีสีสันและลวดลายคล้ายกัน เพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้ ปีกคู่หน้ามีลักษณะค่อนข้างแคบเรียวยาว ปีกบน พื้นปีกสีน้ำตาลเข้ม มีเส้นลวดลายสีขาวทั่วปีก ขอบปีกด้านข้างของปีกคู่หลังมีหยักแหลมยื่นยาว และพื้นปีกบางส่วนมีสีแดง มีแต้มสีดำบนสีแดง ปีกล่างคล้ายปีกบนแต่อ่อนกว่า
ผีเสื้อสมิงเชียงดาวพบในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๙ บนดอยเชียงดาว อ. เชียงดาว จ. เชียงใหม่ โดยเป็นชนิดย่อย B.l.ocellatomaculata นอกจากในประเทศไทย ยังพบชนิดย่อยนี้ได้ตั้งแต่ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของพม่า จนด้านตะวันตกเฉียงใต้ของจีน
สาเหตุที่ทำให้ผีเสื้อสมิงเชียวดาวสูญพันธุ์ เป็นเพราะเกิดไฟไหม้บนดอยเชียงดาวติดต่อกันหลายปี จนกระทั่งพืชอาหารของอาหารของหนอนผีเสื้อหมดไป ประกอบกับผีเสื้อสมิงเชียงดาวเป็นที่นิยมในหมู่นักสะสมซากผีเสื้อ จึงมีราคาสูง ทำให้ผีเสื้อชนิดนี้ถูกจับไปขายจำนวนมาก
ในที่สุดผีเสื้อสมิงเชียงดาวตัวสุดท้ายถูกจับได้ในราวปี พ.ศ. ๒๕๒๙
Home